Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50444
Title: การพัฒนาการสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นที่ภัยพิบัติ
Other Titles: Development of trusted communication for disaster recovery
Authors: ธนภัทร เรืองสาตรา
Advisors: กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย
เกริก ภิรมย์โสภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kultida.R@Chula.ac.th,june1_7@hotmail.com,kultida.r@chula.ac.th
Krerk.P@Chula.ac.th
Subjects: เครือข่ายแอดฮอก
การสื่อสาร -- ความเชื่อถือได้
Ad hoc networks (Computer networks)
Communication -- Reliability
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้เสนอการสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือบนพื้นที่ภัยพิบัติเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นโครงสร้างพื้นฐาน จะถูกทำลายลงทำให้ผู้คนไม่สามารถสื่อสารกันในบริเวณพื้นที่ภัยพิบัติได้ ด้วยระบบการสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือนี้จะทำให้ ผู้คนในพื้นที่ภัยพิบัติสามารถสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึงอีกทั้งผู้ประสบภัยยังได้รับข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อเป็นประโยชน์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ อีกทั้งผู้ประสบภัยยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ช่วยเหลือทำให้ผู้ประสบภัยสามารถได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในการสร้างการสื่อสารบนพื้นที่ภัยพิบัตินั้น เครือข่ายแอดฮอกเป็นเครือข่ายที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้แทนที่การสื่อสารในพื้นที่ภัยพิบัติได้เพราะเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่ทำการติดตั้งง่ายและสามารถสื่อสารได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงเครือข่ายอื่น เครือข่ายแอดฮอกน้ันสามารถติดตั้งบนพื้นที่ภัยพิบัติได้สองรูปแบบคือ เครือข่ายแอดฮอกแบบ peer-to-peer และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยเครือข่ายแอดฮอกอย่างไรก็ตามการติดตั้งเครือข่ายแอดฮอกทั้งสองวิธีดังกล่าวยังไม่สามารถให้ความยืดหยุ่นในการสื่อสารและความเสถียรในการส่งสัญญาณพร้อมกันได้ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาโครงสร้างการสื่อสารที่รวมกันระหว่างเครือข่ายแอดฮอกแบบ peer-to-peer และเครือข่ายแอดฮอกแบบโครงสร้างพื้นฐานทำให้ได้รับการสื่อสารที่มีความเสถียรและมีความยืดหยุ่นในการสื่อสาร นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้พัฒนาระบบสื่อสารให้มีความน่าเชื่อถือ โดยพัฒนาวิธีการในการยืนยันตัวตนระหว่างการส่งข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้ระบบสื่อสารนั้นจะได้รับข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งข้อมูลของระบบสื่อสาร จากผลการทดลองยังแสดงให้เห็นระบบการสื่อสารสามารถทำการส่งข้อมูลจากผู้ประสบภัยถึงผู้ช่วยเหลือด้วยความสามารถในการส่งข้อมูลมากกว่า 98% และส่งข้อมูลไปยังศูนย์กู้ภัยด้วยความสามารถในการส่งข้อมูลมากว่า 75% นอกจากนั้นผลการแสดงการวิเคราะห์ความปลอดภัยยังแสดงให้เห็นว่าระบบสื่อสารที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถป้องกันการโจมตีได้ 8 รูปแบบ [20]
Other Abstract: We propose trusted communication system for disaster recovery situation. In disaster situation, infrastructures are always destroyed. It results in lacking of communication system in disaster area so victims cannot communicate to rescuers to request for help. Our system allows people in disaster area to communicate to each other properly. Therefore, rescuers are able to provide help to victims in time. To create communication system in disaster area, mobile ad-hoc network (MANET) is considered to replace the ordinary communication system because it can be deployed in the area easliy and also does not depend on other networks. There are two approaches to deploy MANET: peer-to-peer approach and infrastructure approach. However, both approaches have limitation in flexibility and stability. We developed a communication system which combines both approaches together. Our system can overcome the limitation of existing approaches by providing flexibility and stability together. Moreover, we also improve security to our communication system by developing authentication approach and embedded to the system. Our authentication approach allows the system to have trustworthyness without compromising the networks. The results show that the system can have capability to transmit data from victims to rescuers with more than 98% of packet delivery ratio and also have capability to transmit data to base station with 75% of packet delivery ratio. Moreover, we also show the security analysis of the system. The analysis shows our approach can protect 8 types of attacks [20]
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50444
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.571
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770188921.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.