Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50491
Title: วัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซีเสริมแรงด้วยผ้าไหมที่ปรับสภาพด้วยกรด
Other Titles: Epoxy composites reinforced with acid-treated silk fabric
Authors: ญาณิศา ดิสโร
Advisors: กาวี ศรีกูลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kawee.S@Chula.ac.th,Kawee.S@Chula.ac.th
Subjects: สารประกอบอีพอกซี
วัสดุเชิงประกอบเสริมเส้นใย
ผ้าไหม
Epoxy compounds
Fibrous composites
Silk
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความเหนียวของวัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซีโดยใช้ผ้าไหมที่ปรับสภาพด้วยกรด ขั้นตอนแรกนำผ้าไหมมาปรับสภาพด้วยกรดฟอร์มิก และกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 85 ในเวลาต่างๆโดยไม่มีแรงขึงตึง จากนั้นเตรียมวัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซีเสริมแรงด้วยผ้าไหมโดยวิธีการทาด้วยมือ ในงานวิจัยนี้วัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซีถูกผลิตขึ้นโดยมีผ้าไหมสำหรับเสริมแรงจำนวน 2, 4 และ 6 ชั้น จากการทดลองพบว่ากระบวนการปรับสภาพด้วยกรดมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นผิว ความเป็นผลึก และสมบัติเชิงกลของผ้าไหมที่ผ่านการปรับสภาพ ซึ่งผลข้างต้นนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน และการทดสอบความทนแรงดึง ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้ใช้กรดสองชนิดคือ กรดฟอร์มิก และกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 85 กรดทั้งสองชนิดนี้ทำให้เส้นไหมเกิดการบวมตัว แต่จะส่งผลต่อระดับการเปลี่ยนแปลงของไหมที่แตกต่างกัน โดยกรดฟอร์มิกจะกระจายตัวเข้าไปในโครงสร้างผลึกเบต้าชีตได้ช้า ในทางตรงกันข้ามเส้นไหมจะเกิดการบวมตัวทันทีในกรดฟอสฟอริก ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างการรับแรงตามแนวทิศทางการจัดเรียงตัวของเส้นใย ดังนั้นผ้าไหมที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดฟอสฟอริกสำหรับงานวิจัยนี้ไม่ถูกนำมาผลิตเป็นวัสดุเชิงประกอบ แต่ในกรณีของผ้าไหมที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดฟอร์มิกจะถูกนำมาใช้เสริมแรงในวัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซี จากผลการทดลองพบว่าความทนแรงกระแทกของวัสดุเชิงประกอบอิพ็อกซีเสริมแรงด้วยผ้าไหมที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดฟอร์มิกได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการเสริมแรงด้วยผ้าไหมที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ จากการศึกษาผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า มีการยึดติดดีขึ้นระหว่างอิพ็อกและผ้าไหมที่ผ่านการปรับสภาพแล้ว ซึ่งความสามารถในการยึดติดที่ดีขึ้นนั้นเกิดจากกระบวนการปรับสภาพด้วยกรดฟอร์มิก อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับปรุงสมบัติต่างๆให้ดีขึ้น
Other Abstract: This research was aimed at enhancing impact toughness of epoxy composites using acid-treated silk fabrics. Firstly, woven silk fabrics were subject to tension-free treatment using formic acid and 85% phosphoric acid at various times. Then, epoxy composites reinforced with acid-treated silk fabrics were prepared by hand lay-up technique. In this study, epoxy composites having silk fabrics of 2, 4 and 6 layers were constructed. It was found that acid treatments played a crucial part in changing silk surface morphology, crystallinity and mechanical properties of treated silks as evidenced by SEM, XRD and tensile testing, respectively. In this study, two acids including formic acid and 85% phosphoric acid were employed. Those two acids were found to exhibit swell ability of silk filament, albeit at the different degree. Formic acid slowly diffused into beta-sheet crystallite. On the other hand, silk filament was immediately swollen in 85% phosphoric acid, causing loss of anisotropic structure of silk. Therefore, phosphoric acid-treated silk fabric was discarded. Formic acid-treated silk fabric was then employed for constructing epoxy composite. The results showed that impact strength of composites containing formic acid-treated silk fabric was significantly improved when compared to untreated silk fabric. Study results revealed that interfacial adhesion between epoxy and treated silk filament arising from formic acid treatment was a key factor in achieving the properties improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50491
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.830
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.830
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5771962423.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.