Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50729
Title: ชนิดและปริมาณโปรตีนในเหง้ากระชายเหลืองและกระชายดำที่ศึกษาด้วยเทคนิค Label-free LC-MS/MS
Other Titles: Qualitative and quantitative studies of Boesenbergia rotundal (L.) Mansf. and Kaempferia parviflora rhizomes using Label-free LC-MS/MS quantiitative proteomics
Authors: พิชญา ลักษณะวิลาศ
Advisors: ศิริพร แสงสุธรรม
พลกฤษณ์ แสงวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Sa@chula.ac.th,sangsuthum@gmail.com,sangsuthum@gmail.com
Polkit.S@Chula.ac.th,polkit@gmail.com
Subjects: พืชวงศ์ขิงข่า
กระชายดำ
กระชายเหลือง
โปรตีนจากพืช
Zingiberaceae
Boesenbergia rotundal (L.) Mansf.
Kaempferia parviflora rhizomes
Plant proteins
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โปรตีโอมิกส์ (Proteomics) เป็นการศึกษาถึงชนิดและปริมาณของโปรตีนทั้งหมดในเซลล์พืช เซลล์สัตว์ เซลล์เพาะเลี้ยง เป็นต้น โดยอาศัยเทคนิคหลัก คือ Two Dimensional-Gel Electrophoresis (2D-GE) และ Mass spectrometry (MS) แต่ 2D-GE มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น เป็นเทคนิคที่มีความผันแปร (variation) สูงระหว่างเจลแต่ละเจล มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน จึงมีผู้พัฒนาเทคนิค Label-free LC-MS/MS quantitative proteomics มาใช้แทน 2D-GE ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้ จึงต้องการประยุกต์ใช้เทคนิค Label-free LC-MS/MS quantitative คือ GeLC-MS/MS และ Label-free LC-MS/MS ในการวิเคราะห์ระบุชนิดและปริมาณโปรตีนสารสกัดจากเหง้ากระชายเหลือง (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) และเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parviflora) ซึ่งยังไม่มีการศึกษามาก่อน และยืนยันผลของการระบุชนิดโปรตีน ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) จากวิธี GeLC-MS/MS ด้วยเทคนิค Native-PAGE และ SOD-Staining Activity และศึกษาผลของระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่ต่างกันต่อปริมาณ SOD และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของโปรตีนที่สกัดได้จากเหง้ากระชายเหลืองและเหง้ากระชายดำ ด้วยวิธี ABTS assay ผลการวิจัย พบว่า ในการระบุชนิดและปริมาณโปรตีนที่สกัดจากเหง้ากระชายเหลืองด้วย GeLC-MS/MS และ Label-free LC-MS/MS พบจำนวนโปรตีน 42 และ 36 ชนิด ตามลำดับ ด้วยวิธี GeLC-MS/MS พบโปรตีน 40% ทำหน้าที่ในการสร้างและสลายพลังงาน อีก 60% ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน การป้องกันสิ่งแปลกปลอม เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเซลล์ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารในเซลล์ และบางชนิดยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์ด้วย Label-free LC-MS/MS พบโปรตีน 36% ทำหน้าที่ในการสร้างและสลายพลังงาน และ 64% ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน การป้องกันสิ่งแปลกปลอม เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเซลล์ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารในเซลล์ และบางชนิดยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน และพบว่าสารสกัดโปรตีนจากกระชายเหง้าเหลืองที่เก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน มีความสามารถในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เท่ากับ 100.87 ± 6.13 µg VCEAC/mg protein ในการระบุชนิดและปริมาณโปรตีนที่สกัดจากเหง้ากระชายดำด้วย GeLC-MS/MS และ Label-free LC-MS/MS พบจำนวนโปรตีน 52 และ 9 ชนิด ตามลำดับ ด้วยวิธี GeLC-MS/MS พบโปรตีน 46% ทำหน้าที่ในการสร้างและสลายพลังงาน และ 54% ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน การป้องกันสิ่งแปลกปลอม เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเซลล์ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารในเซลล์ และบางชนิดยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์ด้วย Label-free LC-MS/MS พบโปรตีน 22% ทำหน้าที่ในการสร้างและสลายพลังงาน และ 78% ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน การป้องกันสิ่งแปลกปลอม เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเซลล์ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสารในเซลล์ และบางชนิดยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน และพบว่าสารสกัดโปรตีนจากเหง้ากระชายดำที่เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม มีความสามารถในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 938.20 ± 44.88 µg VCEAC/mg protein สำหรับผลการหาปริมาณ SOD ด้วยวิธี Native-PAGE และ SOD Activity Staining พบว่า กระชายเหลืองที่เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม มีปริมาณ SOD มากที่สุด ขณะที่กระชายดำที่เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม มีปริมาณ SOD มากที่สุด จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อระบุชนิดและปริมาณโปรตีนที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อชนิดและปริมาณของโปรตีนที่ตรวจพบได้แตกต่างกันด้วย และช่วงเวลาเก็บเกี่ยวตัวอย่างพืชที่ต่างกัน จะส่งผลต่อฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน
Other Abstract: Proteomics is the study of whole proteins both of qualitative and quantitative analysis in animal, plant and cell culture. Two Dimensional-Gel Electrophoresis (2D-GE) and Mass spectrometry (MS) are used in proteomics. However, 2D-GE is a complicated technique and has limitation such as high variation results. Thus, the new technique was developed, Label-free LC-MS/MS quantitative proteomics which is GeLC-MS/MS or Label-free LC-MS/MS. These techniques use simply method for sample preparation, short time analysis and a low variation between samples. The aims of this study are using Label-free LC-MS/MS quantitative for qualitative and quantitative analysis of extracted proteins from Boesenbergia rotunda (Krachai) rhizomes and Kaempferia parviflora (Krachai-Dum) rhizomes, which are not study before. The superoxide dismutase (SOD) which detected by GeLC-MS/MS will be confirmed using Native-PAGE and SOD-Staining Activity techniques. Finally, the effects of different harvest of Krachai and Krachai-Dum rhizomes on the SOD amount and antioxidant activity by ABTS assay will be studied. The results showed using GeLC-MS/MS and Label-free LC-MS/MS techniques for qualitative analysis of the extracted proteins from Krachai rhizomes, 42 and 36 proteins were found, respectively. Function of proteins in Krachai extracted analysed by GeLC-MS/MS were classified as metabolism functions (40%), the other were protein synthesis, defence, cell structure, transportation and unidentified functions. Function of proteins in Krachai extracted analyse by Label-free LC-MS/MS technique were classified as metabolism functions (36%), the other were protein synthesis, defence, cell structure, transportation and unidentified functions. The highest antioxidant activity was value of 100.87 ± 6.13 µg VCEAC/mg proteins was found in Krachai rhizomes that collected in September. For the qualitative analysis of extracted proteins from Krachai-Dum rhizomes using GeLC-MS/MS and Label-free LC-MS/MS, 52 and 9 proteins were found, respectively. Function of protein in Krachai-Dum extracted analysed by GeLC-MS/MS were classified as metabolism functions (46%) and the other were protein synthesis, defence, cell structure, transportation and unidentified functions Function of protein in Krachai-Dum extracted analysed by Label-free LC-MS/MS technique were classified as metabolism functions (22%) and the other were protein synthesis, defence, cell structure, transportation and unidentified functions. The highest antioxidant activity was value of 938.20 ± 44.88 µg VCEAC/mg protein was found in Krachai-Dum rhizomes that collected in December. For the quantitation of SOD the result showed Krachai in December and Krachai-Dum in January have the highest amount of SOD. In Conclusion, the different technique used for qualitative and quantitative proteomics in proteins extracted form Krachai and Krachai-Dum rhizomes affected different proteins type and proteins amount in same sample. Also, the different harvest of samples affected the different antioxidant activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50729
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.443
Type: Thesis
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576659037.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.