Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50733
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่อภาวะการทำหน้าที่ ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Other Titles: The effect of unpleasant symptom management program on functional status in post coronary artery bypass graft patients
Authors: นิยม มาชมภู
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Subjects: ศัลยกรรมทางเบี่ยงหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- ผู้ป่วย
ศัลยกรรมทางเบี่ยงหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- การพยาบาล
ผู้ป่วย -- การดูแล
Coronary artery bypass -- Patients
Coronary artery bypass -- Nursing
Care of the sick
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะการทำหน้าที่ ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ผู้วิจัยประยุกต์มาพัฒนาโปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ตามแนวคิดการจัดการอาการของ Dodd et al. (2001) ประกอบด้วย การให้ความรู้ การสาธิตและสาธิตย้อนกลับกลยุทธ์ในการจัดการอาการ โปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการที่ไม่พึงประสงค์มีภาวะการทำหน้าที่ ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to test the effect of the Unpleasant Symptom Management Program on functional status in post coronary artery bypass graft patients. The subjects were patients admitted for coronary artery bypass graft surgery at Thammasat University Hospital. The subjects were arranged into a control group, and an experimental group. There were 22 subjects in each group. The two groups were similar in sex, age and left ventricle ejection fraction. The control group received routine nursing care while the experimental group received the Unpleasant Symptom Management Program. The research instruments were the Unpleasant Symptom Management Program developed based on Dodd’s Symptom Management Conceptual Model (2001) and a literature review. The Unpleasant Symptom Management Program consisted of education demonstration and return demonstration of the unpleasant symptom management strategy. The program was validated by panel of experts. The content validity index was 1.0. The data were analyzed using percentage, means, standard deviation, Chi-square test and Independent t-test Major finding was as follow: Functional status of the experimental group was significantly higher than that of the control group at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50733
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.789
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.789
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577173536.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.