Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50762
Title: มโนทัศน์ว่าด้วยภัยคุกคามของสิงคโปร์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกาในยุคหลังสงครามเย็น
Other Titles: Threat Perception of Singapore and Singapore- U.S.Security Cooperation in the Post- Cold War Period
Authors: กมลชนก ขุนเพชร
Advisors: พวงทอง ภวัครพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Puangthong.Pa@Chula.ac.th,p.pawakapan@gmail.com
Subjects: สิงคโปร์ -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา
ความมั่นคงระหว่างประเทศ
ความมั่นคงแห่งชาติ -- สหรัฐอเมริกา
ความมั่นคงแห่งชาติ -- สิงคโปร์
สงครามเย็น -- อิทธิพล
Singapore -- Foreign relations -- United States
Security, International
National security -- United States
National security -- Singapore
Cold War -- Influence
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสัมพันธ์ระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐฯ มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น และต่อเนื่องจนถึงยุคหลังสงครามเย็น อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีงานชิ้นใดที่ศึกษาชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่แนบแน่นขึ้นยุคหลังสงครามเย็นสัมพันธ์กับทัศนะเรื่องภัยคุกคามของสิงคโปร์อย่างไร และลักษณะของความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างทั้งสองประเทศในยุคหลังสงครามเย็นเป็นอย่างไร ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามโนทัศน์เรื่องภัยคุกคามในยุคหลังสงครามเย็น ตามทัศนะของรัฐบาลสิงคโปร์ภายใต้การนำของพรรคกิจประชา และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐฯ รวมทั้งวิธีการรับมือเรื่องภัยคุกคามในยุคหลังสงครามเย็นของสิงคโปร์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเรื่อง Threat Perception ของ Raymond Cohen มาอธิบาย เพื่อเสนอให้เห็นว่า ในยุคหลังสงครามเย็น แม้สิงคโปร์จะพัฒนาการป้องกันประเทศและมีความมั่นคงมากขึ้นในทุกด้าน แต่จุดอ่อนไหวเรื่องขนาดทางกายภาพ ที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และอัตลักษณ์ความเป็นจีน ยังคงเป็นสิ่งที่สิงคโปร์ตระหนักถึงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ดังนั้น สิงคโปร์จึงร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ แนบแน่นขึ้นเนื่องจากทั้งสองประเทศมีความกังวลร่วมกันเรื่องภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและความมั่นคงด้านทางทะเล นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ยังตอบสนองนโยบายการป้องกันเบ็ดเสร็จ (Total Defence) ของสิงคโปร์ได้ดีในเรื่องอธิปไตยของชาติ เทคโนโลยีการทหารขั้นสูงและการขาดแคลนทรัพยากรบุคคล
Other Abstract: The Singapore – U.S. relation has long been established since the Cold War and continued in the Post-Cold War. However, no paper provided evident study on how the closer relation between the two countries after the Cold War and view on threat of Singapore is as well as how the security relation in the Post-Cold War is. Therefore, this thesis aims at studying the concept of threats in the Post-Cold War as perceived by Singapore Government under the leadership of Singapore’s People’s Action Party (PAP) as well as coping with security threats in the Post-Cold War, applying the concept of threat perception of Raymond Cohen to throw light on the following:, although Singapore had improved defence and security in all aspects in the Post-Cold War, vulnerability in physical size, geopolitical location and Chinese identity and especially race issue are the continued awareness. Therefore, Singapore established close cooperation on security with the U.S. as the two countries had mutual concerns over the threat of terrorism and maritime security. In addition, security cooperation with the U.S. has met the Total Defence Policy in terms of national sovereignty, advanced military technology and lack of human resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.797
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.797
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580632624.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.