Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50783
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์: กรณีศึกษากลุ่มประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต
Other Titles: RELATIONSHIP BETWEEN CARBON DIOXIDE EMISSION AND RETURN ON MARKET INDEX: A CASE STUDY OF COUNTRIES IN KYOTO PROTOCOL
Authors: เมทินี ยงวรรณกร
Advisors: นิพิฐ วงศ์ปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Nipit.W@chula.ac.th,nipit.w@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth และ Dynamic growth ระหว่างอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต รวม 20 ประเทศแบ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 จำนวน 10 ประเทศ และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งอยู่ในกลุ่มนอกภาคผนวกที่ 1 ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลช่วงยาว ศึกษาความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth และ Dynamic growth ด้วยวิธี Panel Regression และ Panel VAR โดยใช้ข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี 2003 – 2013 ผลการศึกษา กรณีการทดสอบความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth พบความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันระหว่างอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และอัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สูง และการเข้าควบคุมนั้นจะทำให้ต้นทุนในการทำอุตสาหกรรมสูงขึ้น กำไรจากการดำเนินงานลดลง ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ในอุตสาหกรรมนั้นลดต่ำลง และผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลงลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่การศึกษาแยกทีละประเทศพบว่าอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นๆ ทุกประเทศ แตกต่างกันไปตามทิศทางของความสัมพันธ์ กรณีการทดสอบความสัมพันธ์แบบ Dynamic growth พบว่าอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นเพื่อที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยควรเปลี่ยนแปลงตามแบบประเทศที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม และสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ไม่กระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เป็นต้น
Other Abstract: The purpose of this paper is to study the relationships between carbon dioxide emission and return on stock markets for 20 countries in Kyoto Protocol, 10 developed countries in Annex I group and 10 developing countries in Non-Annex I group. In addition, this paper uses panel regression and panel var methods to test the relationship in contemporaneous growth and dynamic growth, respectively, using annual data from 2003 – 2013. This study found that, in contemporaneous growth, a relationship between carbon dioxide emission rate and return on stock market is positive in developed countries. As developed countries are manufacturers which consume a lot of energy and emit high carbon dioxide, controlling the carbon dioxide emission by their governments or organizations likely raise cost of manufacturing and impact manufacturers’ profit. Of course, decreasing profit leads to lower return of stock prices. Furthermore, in studying by each countries chosen in this paper, we found the relationship between carbon dioxide emission rate and stock market return in all of them, some is positive, some is negative. However, in dynamic growth relationship, the paper found that carbon dioxide emission rate has no statistically significant impact on stock market return in both developed and developing countries. Thus, in order to reduce carbon dioxide emission by not affecting stock market return, Thailand should adapt or change domestic infrastructure following to the countries which have negative relationship between carbon dioxide emission and stock market return and also support industries that could reduce or reuse the emitted carbon dioxide such as cement industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50783
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585166429.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.