Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50873
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีจอตาเสื่อมจากอายุ
Other Titles: FACTORS RELATED TO HEALTH RELATED QUALITY OF LIFE IN OLDER PERSONS WITH AGE-RELATED MACULAR DEGENERATION
Authors: กนกอร พูนเปี่ยม
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Siriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.com
Subjects: คุณภาพชีวิต -- แง่อนามัย
ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
จอตาเสื่อม -- ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย
Quality of life -- Health aspects
Older people -- Health and hygiene
Retinal degeneration -- Patients -- Health and hygiene
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการมองเห็น การสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้า และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคจอตาเสื่อมจากอายุ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)และโรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามอาการซึมเศร้าและแบบสอบถามการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การศึกษาครั้งนี้ได้นำแบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินอาการซึมเศร้าและแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มาตรวจสอบความเที่ยงโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .981 .912 .840 และ .902 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับการมองเห็นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อม 2. อายุมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.476) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -0.708) 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= 0.225) และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคจอตาเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= 0.699)
Other Abstract: The purpose of this descriptive research aimed to study the health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration and to study the relationships between factors, sex, age, visual acuity, social support, depression and activity of daily living of older persons with age-related macular degeneration. Subject consisted of 120 older persons with age-related macular degeneration at retina clinic in Mettapracharak (Wat Rai Khing) Hospital and Police General Hospital, and were selected by using multi-stage sampling technique. Research instruments were demographic questionaires, Thai Visual Function Questionnaire 28, social support, Thai Geriatic Depression Scale and Barthel ADL index which were tested for content validity and reliability. The reliability of Thai Visual Function Questionnaire 28, social support, Thai Geriatic Depression Scale and Barthel ADL index were .981 .912 .840 and .902 respectively. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Major finding were as follows: 1. Visual acuity were significantly with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration, at level of .05 but sex were not correlated with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration. 2. Age was significantly negative correlated with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration, at medium level of .05 (r= -.476) and depression was significantly negative correlated with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration, at high level of .05 (r= -0.708). 3. Social support was significantly positive correlated with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration, at low level of .05 (r= 0.225) and activity of daily living was significantly positive correlated with health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration, at high level of .05 (r= 0.699).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50873
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.759
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.759
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677151836.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.