Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50927
Title: การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษา เส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน
Other Titles: A proposed model of art and cultural learning management : a case study of Khlong Dan Bangkhunthian
Authors: สุทธิดา มนทิรารักษ์
Advisors: โสมฉาย บุญญานันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Soamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,Soamshine.B@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปวัฒนธรรม
ทัศนศึกษา
ศิลปกรรม -- กิจกรรมการเรียนการสอน
คลองด่าน (กรุงเทพฯ)
บางขุนเทียน (กรุงเทพฯ)
Art -- Activity programs in education
Khlong Dan (Bangkok)
Bangkhunthian (Bangkok)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม เส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม เส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการสังเกต และสืบค้นข้อมูลพื้นฐานของแหล่งเรียนรู้ในเส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้จำนวน 30 คน และบุคคลในพื้นที่จำนวน 5 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ แบบบันทึกแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม และเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพของรูปแบบ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษา เส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในเส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนรู้มีจำนวน 10 แหล่ง โดยมีรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ ควรกำหนดให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ความเข้าใจทางศิลปวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม 2) ด้านแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ควรคัดสรรจากความสอดคล้องของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ คำนึงถึงการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ควรให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเดินทาง และความสะอาดของสถานที่ 3) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ควรบรรยายให้ความรู้เบื้องต้นจากนั้นจึงนำเข้าสู่การชมสถานที่จริง โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม 3.2 ขั้นออกเดินทางเรียนรู้ 3.3 ขั้นบันทึกข้อมูลการเรียนรู้ 3.4 ขั้นสรุปผลการเดินทาง 3.5 ขั้นแบ่งปันข้อค้นพบ 3.6 ขั้นประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม และ 4) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ควรประเมินสภาพจริงโดยการสังเกตพฤติกรรม และสอบถามความพึงพอใจหลังร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการสังเกตพฤติกรรมของผู้ร่วมกิจกรรมโดยผู้วิจัย และการประเมินความพึงพอใจโดยผู้ร่วมกิจกรรมมีความสอดคล้องกัน โดยผู้ร่วมกิจกรรมมีความสนใจในการเรียนรู้ และร่วมกันตรวจสอบข้อมูลเพื่อเรียนรู้เรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง พร้อมให้ความคิดเห็นว่าการเรียนรู้ในครั้งนี้ส่งผลให้ทราบถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมในเส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน เกิดความประทับใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้พบ และส่งเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าซึ่งจะพัฒนาไปเป็นการรวมพลังในการอนุรักษ์ต่อไป
Other Abstract: The purposes of the research were: 1) to study the current cultural resources in Khlong Dan Bangkhunthian. 2) to improve the cultural learning module: Case Study of Khlong Dan Bangkhunthian. The research has been conducted using qualitative research method in a designate area of Khlong Dan Bangkhunthian. The purposive samples include 30 cultural experts, cultural studies professionals, cultural experienced participants and 5 locals. Cultural memorandum and the survey of the cultural participants are used as research instruments, along with the participant’s behavioural survey and the participant’s satisfactory survey as the module analysis. Then, the result are analyzed to test and create the cultural module of Case study: Khlong Dan Bangkhunthian, reviewed by the supervisors. The result from this study indicates that there were 10 current cultural locations in Khlong Dan Bangkhunthian which are suitable for educational purposes considering time and limited transportation. This module are divided into 4 components as follows: 1) purposes: to gain the better understanding of arts and culture by learning activities and get to know the important of cultural preservation 2) cultural places: to select the right cultural context using the easy accessible route and consider the location cleanliness 3) activities: to introduce the venues before the visit. The procedures are classified into 6 stages were: 3.1 preparation 3.2 exploration 3.3 documentation 3.4 conclusion 3.5 distribution 3.6 evaluation 4) evaluation: to evaluate from the actual condition and the questionnaire on the satisfaction after this module. On trial, the result of participant’s behavioral survey and the participant’s satisfactory survey are correlated. The participants express their interest in the module, review the factual information of the cultural resources, and express that this module educate them on the value of the cultural resources in Khlong Dan Bangkhunthian and made them appreciate the importance to retain and protect the art and cultural resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50927
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1186
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1186
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683404527.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.