Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51017
Title: การจัดการงานรักษาความสะอาด คอมมูนิตี้ มอลล์
Other Titles: THE MANAGEMENT OF FACILITY CLEANING OPERATION IN COMMUNITY MALL : A CASE STUDY OF SIX COMMUNITY MALLS IN BANGKOK METROPOLITAN REGION
Authors: ธนโชติ ฤทัยธง
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th,Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: การทำความสะอาด
อุตสาหกรรมการทำความสะอาดอาคาร
ศูนย์การค้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Cleaning
Building cleaning industry
Shopping centers -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานรักษาความสะอาดเป็นงานบริการขั้นพื้นฐานสำคัญที่ทุกอาคารจำเป็นต้องจัดให้มีการดำเนินการ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดการงานรักษาความสะอาด คอมมูนิตี้ มอลล์ การศึกษาใช้แนวทางการศึกษาเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา คอมมูนิตี้ มอลล์ 6 แห่งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ (1) ท่ามหาราช (2) พอร์โต้ชิโน่ (3) เดอะไนน์ (4) เค วิลเลจ (5) เสนาเฟส (6) เดอะ ศาลายา มอลล์ มีขอบเขตการศึกษาเฉพาะงานรักษาความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสืบค้นจากเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี จากการสำรวจ และสัมภาษณ์ระดับจัดการ คอมมูนิตี้ มอลล์ ของแต่ละกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การจัดการงานรักษาความสะอาด คอมมูนิตี้ มอลล์ มีแนวทางการดำเนินการใน 3 ส่วน ประกอบด้วย (ก) ส่วนของการวางแผน เกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติงานและแผนงานรักษาความสะอาด พบมีการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานตามลักษณะการใช้งานเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่โถงทางเดิน พื้นที่ห้องน้ำ พื้นที่รอบอาคาร และพื้นที่ลานจอดรถ โดยพบว่าชนิดของพื้นผิว อุปกรณ์วัสดุประกอบอาคาร มีผลต่อการกำหนดแผนงานและรอบความถี่ในการปฏิบัติงาน แผนงานรักษาความสะอาดส่วนใหญ่เป็นงานประจำวันและงานประจำสัปดาห์ พบว่าพื้นที่โถงทางเดิน มีจำนวนความถี่ของแผนงานมากที่สุด (ข) ส่วนของการเตรียมการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน พบว่าลักษณะการใช้อาคารและพื้นที่ งบประมาณ เงื่อนไขของสัญญาว่าจ้าง และความต้องการ มีผลต่อการกำหนดชุดปฏิบัติงาน พบมีการจัดชุดปฏิบัติรักษาความสะอาด 3 รูปแบบ ได้แก่ ชุดปฏิบัติงานประจำจุดพื้นที่ปฏิบัติงาน ชุดปฏิบัติงานหมุนเวียนจุดพื้นที่ปฏิบัติงาน และชุดปฏิบัติงานตามภาระงาน โดยพื้นที่ห้องน้ำ มีการจัดชุดปฏิบัติงานประจำจุดพื้นที่ ตลอดช่วงเวลา (ค) ส่วนของการกำกับควบคุมและประเมินผล เพื่อให้อาคารมีความสะอาดเรียบร้อยตามระดับที่ต้องการ พบมีการติดตามตรวจเช็คงานประจำวันโดยเจ้าหน้าที่ตัวแทน คอมมูนิตี้ มอลล์ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทุก 1 เดือน กำหนดตามข้อตกลง และตัวชี้วัด โดยเกณฑ์การประเมินอยู่ที่ร้อยละ 90-95
Other Abstract: Cleanliness is the key fundamental service that every property has to arrange and well manage. The objective of this research is to build cognizance of Facility Cleaning Operation in Community Mall. A case study inclusive of Six Community Malls in Bangkok Metropolitan Region consist of (1) Tha Maharaj (2) Porto Chino (3) The Nine (4) K Village (5) Sena Fest (6) The Salaya Mall. Scope of this research is particular apply to cleaning management for central area only. The information sources and data collection process are from both management interview and property site survey. From the research, discovered that cleaning operations in community mall are separated by 3 divisions (A) Operations Planning, this section associated in lay down framework & operating area into 4 sections, Hallway, lavatory, Outside Building and Parking area. The influencer in operations planning and cycle are surface and construction material of such building. The normal cleaning schedules for general area are daily and weekly, but we observed that Hallway has the highest frequency than others. (B) Preparation (Pre-Setup), this team is related to manpower management by allocated resources for 3 main area, Fixed station team, Rotation team and Special Job team. By this, lavatory area has permanent cleaning staff all the time. Also found out that budgeting, terms of contract service and customer requirement are affecting to manpower arrangement. (C) Quality Control & Evaluation, community mall representative is scheduled for an evaluation once a month to ensure the cleanliness is meet quality standard at 90-95% as per performance indicator and agreement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51017
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.516
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.516
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773562425.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.