Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51025
Title: แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ช่วงก่อนและหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนหลังปี พ.ศ. 2540
Other Titles: FUNDING SOURCES FOR REAL ESTATE DEVELOPMENT PROJECTS OF THE PROPERTY DEVELOPMENT COMPANIES, LISTED IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND AFTER 1997
Authors: วรเดช สุฤชุกุล
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก นอกเหนือจากเงินทุนส่วนตัว ในวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิดในการเลือกแหล่งเงินทุน และวิเคราะห์ต้นทุนของเงินทุนแต่ละแหล่งที่ใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท 4 แห่ง ได้แก่ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ. เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น, บมจ. เสนาดีเวลลอปเม้นท์, บมจ. ปริญสิริ ดำเนินการวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินบริษัทและวิเคราะห์แหล่งเงินทุนทั้งก่อนและหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("initial public offering",“IPO”) รวมถึงสัมภาษณ์ผู้บริหารและสังเกตการณ์ในงานประชุมบริษัทพบผู้ลงทุน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างของแหล่งเงินทุน ช่วงก่อน IPO บริษัทมีแหล่งเงินทุนสัดส่วนเฉลี่ยของส่วนของเจ้าของ:เงินกู้ยืมสถาบันการเงินรวมตั๋วสัญญาใช้เงิน:หนี้สินจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้อง:หุ้นกู้ คือ 54.2%:25.6%:18.8%:1.3% (อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.85 เท่า)ขณะที่หลัง IPO สัดส่วนดังกล่าวเปลี่ยนเป็น 63.5%:28.5%:8.0%:0.0% (อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.57 เท่า) เนื่องจากช่วงก่อน IPO บริษัทต้องการสร้างผลการดำเนินงานให้ออกมาดีและเพิ่มผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (ROE) โดยพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นจึงก่อหนี้สินเพิ่มโดยเพิ่มหนี้สินเงินกู้ยืมและหนี้สินจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องเพราะเข้าถึงได้ง่าย ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้น ต่อมาหลังจาก IPO แล้ว บริษัทเพิ่มทุนทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลง ปัจจุบัน ปี 2557 สัดส่วนเปลี่ยนเป็น 47.0%:32.8%:0.3%:21.4% (อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 1.13 เท่า) 2) ต้นทุนของส่วนของเจ้าของ ช่วงก่อน IPO เฉลี่ยอยู่ที่ 11.2% เทียบกับช่วงหลัง IPO อยู่ที่ 11.8% ต้นทุนส่วนของหนี้สิน ช่วงก่อน IPO อยู่ที่ 5.2% ช่วงหลัง IPO อยู่ที่ 4.1% สำหรับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WACC) ช่วงก่อน IPO อยู่ที่ 7.6% ช่วงหลัง IPO อยู่ที่ 8.7% ซึ่ง WACC สูงขึ้นเนื่องจากเมื่อ IPO แล้วบริษัทจะมีสัดส่วนแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทำให้ถ่วงน้ำหนักให้ WACC รวมสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยต้นทุนของหนี้สินที่ถูกกว่าต้นทุนของส่วนของเจ้าของทำให้บริษัทมีแนวโน้มที่จะใช้แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้สินมากขึ้น 3) แนวคิดการระดมทุนของบริษัทมีแนวโน้มที่จะต้องการแหล่งเงินทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้น นอกเหนือจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เช่นการออกหุ้นกู้ และพบว่าบริษัทขนาดใหญ่มีแนวคิดการระดมทุนแบบภาพรวมขององค์กรมากกว่าระดับโครงการ ซึ่งนิยมออกหุ้นกู้ เนื่องจากบริษัทมีโครงการเป็นจำนวนมาก จึงสามารถที่หมุนเวียนเงินไปในโครงการต่างๆ ได้ยึดหยุ่นกว่า ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กยังพึ่งพิงเงินกู้ยืมสถาบันการเงินซึ่งพิจารณาสินเชื่อเป็นระดับรายโครงการ งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) ถือเป็นก้าวแรกที่บริษัทจะขยายทุนส่วนของเจ้าของและเป็นการสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้ดูน่าเชื่อถือต่อนักลงทุนและสถาบันการเงินซึ่งจะช่วยให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เช่น การกู้ยืมเงินสถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ เป็นต้น โดยขั้นต่อไปเมื่อบริษัทเข้าจดทะเบียนใน ตลท. มีส่วนของทุนสูงขึ้น บริษัทก็จะสามารถก่อหนี้ได้มากขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมากขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนของหนี้สินนี้จะทำให้ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักลดลง
Other Abstract: In real estate development, in addition to owner funding, entrepreneurs need capital from external sources. The objective of this thesis is to study the concept of selecting the funding source and analyzing the cost of each source of funding used in the project development of 4 companies: Pruksa Real Estate pcl., SC Asset Corporation pcl., Sena Development pcl., and Prinsiri pcl. Research is conducted by collecting data from financial statements and analysis of sources of funding before and after listing on the Stock Exchange of Thailand ("initial public offering","IPO") and interviewing executives and observing the shareholders or analyst meetings of companies. The study found the following: 1) Funding sources Before IPO: companies were financing the average proportion of equity, loans from financial institutions including promissory notes, liabilities of the related parties, debentures at 54.2%:25.6%:18.8%:1.3% (debt to equity ratio at 0.85). After the IPO, the proportions changed to 63.5%:28.5%:8.0%:0.0% (debt to equity ratio at 0.57) because before the IPO, the companies wanted to make a good performance and increase return on equity (ROE) by leveraging debt finance including increasing loan and liabilities from related parties so the debt to equity ratio before the IPO is higher than the ratio after due to capital increase. In 2015, the average proportions were 47.0%:32.8%:0.3%:21.4% (debt to equity ratio at 1.13). 2) Before the IPO the cost of equity was 11.2% compared to after the IPO at 11.8%. before IPO, the cost of debt was 5.2% while after the IPO the cost of debt was 4.1%. Before the IPO, weighted average cost of capital (“WACC”) rose from 7.6% before the IPO to 8.7% after because equity funding increased the weighted WACC higher. However, because of the cheaper cost of debt than cost of equity, the company is likely to use more debt funding later. 3) Concept of fund raising: the company was likely to want more diverse funding sources in addition to borrowing from financial institutions, such as debenture issues. Large companies consider fund raising on the organization level rather than project level because large companies have a lot of projects in hand. They need funding that is more flexible like debentures, while small companies still rely on project financing from financial institutes on the project level This study indicates that listing companies on the Stock Exchange of Thailand (“SET”) seems to be the way to expand equity funding and create a corporate image to look credible to investors and financial institutions, which will help the company access other capital easier, such as loans from financial institutions and debenture issues. In the next stage, when the company becomes listed, the company can gain more leverage by increasing the debt to equity ratio. Increasing debt finance will reduce WACC.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51025
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773576225.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.