Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51067
Title: แนวทางการสอนศิลปะไทยที่บูรณาการกับวัฒนธรรมอิสลามสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Guideline for teaching Thai art integrated with Islamic culture for undergraduate students
Authors: มัณนาน มามะ
Advisors: อภิชาติ พลประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Apichart.P@Chula.ac.th,Apichart.P@chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- ไทย -- การศึกษาและการสอน
ศาสนาอิสลามกับศิลปกรรม
Art -- Thailand -- Study and teaching
Islam and art
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะไทยในวัฒนธรรมอิสลาม 2) เพื่อศึกษาเนื้อหาทางศิลปะและหลักคำสอนทางศาสนาที่ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างผู้เรียนและผู้สอนศิลปะไทยในวัฒนธรรมอิสลาม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสอนศิลปะไทยที่บูรณาการกับวัฒนธรรมอิสลามสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งหมด 57 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมอิสลาม ผู้เชี่ยวชาญสาขาศิลปศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาศิลปะไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาศิลปะอิสลาม และนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 4 กลุ่ม แบบสังเกตการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปะไทย แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยตามหลักองค์ประกอบการสอนในระดับอุดมศึกษา ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พบว่า 1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ควรกำหนดเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทย วัฒนธรรม ลวดลาย รวมถึงศิลปะท้องถิ่นที่บูรณาการกับวัฒนธรรมอิสลาม และสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือแม่ลายที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะอิสลามได้อย่างไร้ความกังวล 2) ด้านเนื้อหาวิชา เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะไทยที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ของศิลปะ วัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะอิสลาม 3) ด้านวิธีสอน ควรใช้วิธีการสอนแบบร่วมกันอภิปรายกลุ่มหรือการสอนแบบสืบสอบ เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ สามารถแยกแยะในประเด็นของการเรียนรู้ศิลปะไทยที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรใช้สื่อที่เป็นผลงานหรือสถานที่จริงจากโบราณวัตถุและโบราณสถานที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะอิสลาม รวมถึงการใช้สื่อท้องถิ่นและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย 5) ด้านการวัดและประเมินผล ควรวัดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติของผู้เรียนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทย วัฒนธรรม ลวดลาย ศิลปะท้องถิ่นที่บูรณาการกับวัฒนธรรมอิสลาม เพื่อสร้างองค์ความรู้แบบองค์รวมในลักษณะของการยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และสร้างสรรค์ผลงานหรือลวดลายของสองวัฒนธรรมที่ผสมผสานซึ่งกันและกันได้ ข้อเสนอแนะของการวิจัย แผนการสอนแบบบูรณาการศิลปะไทยในวัฒนธรรมอิสลาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวิจัยในวัฒนธรรมอื่นๆได้ เช่น ในระบบโรงเรียนนานาชาติที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสภาพแวดล้อมได้ตามความเหมาะสมของผู้เรียนและผู้สอน
Other Abstract: The objectives of this research include 1) to study relations between Thai art in Islamic culture, 2) to study artistic contents and religious tenets that raise to the understanding between students and teachers of Thai art in Islamic culture 3) to study guidelines for teaching Thai art integrated with Islamic culture for undergraduate students. This research was a qualitative research. It chose a specific sample group of 57 people, including Islamic culture experts, art education experts, Thai art teaching experts, Islamic art experts and undergraduate students in the Department of Art Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus. The research tools included the interview form for the 4 groups of expert, The teaching observation form for Thai art teaching experts, students’ behavior observation form, and the interview form for the students. Percentage and content analysis were used for data analysis. The results of this research relating to instruction elements in higher education in both theory and practice were as follows: 1) In terms of objectives setting, objectives should be set by focusing on the students’ knowledge and understanding of Thai history, arts, culture, motifs, and local arts integrated with Islamic culture as well as the creation of arts or motif under the Thai-Islamic integration in carefree manners, 2) In terms of content, Thai art content was focused on according to Islamic principles to promote understanding between instructors and learners as well as history of art, cultural blend of Thai and Islamic art, 3) In terms of instruction method, focus-group or inquiry instruction should be used to enhance students’ practice of analyzing and characterizing Thai art learning issues that were not contrary to Islamic principles, 4) In terms of instruction media, works or actual location of antiques and ancient remains expressing the Thai-Islamic arts blending as well as local media and electronic media should be used, and 5) In terms of measurement and evaluation, learners’ understandings, attitudes about Thai art history, culture, motif, local arts integrated with Islamic culture should be measured and evaluated to create holistic knowledge and the acceptance of different cultures, the students' creative work that demonstrates the integration of the two cultures should also be evaluated. The suggestion of the study include Thai-Islamic integrated art instruction scheme should be applied to the research on other cultures, such as international school system with cultural diversity and would be adapted to the learners and instructors context.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51067
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1179
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1179
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783409827.pdf14.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.