Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51077
Title: ผลของกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบายที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: EFFECTS OF THE PREDICT-DISCUSS-EXPLAIN-OBSERVE-DISCUSS-EXPLAIN TEACHING STRATEGY ON CHEMISTRY CONCEPTUAL UNDERSTANDING AND LEARNING ACHIEVEMENT OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: เมธิน อินทรประสิทธิ์
Advisors: สายรุ้ง ซาวสุภา
วิภาค อนุตรศักดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sairoong.S@chula.ac.th,sairoong.s@chula.ac.th
wipark.a@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจมโนทัศน์เคมีหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีการสอนทํานาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย 2) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์เคมีก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีการสอนทํานาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เคมีหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีการสอนทํานาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เคมีก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีการสอนทํานาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย กลุ่มทดลองในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ซึ่งศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์เคมี และแบบสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เคมี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจมโนทัศน์เคมีหลังเรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี และหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ คิดเป็นจำนวนนักเรียนร้อยละ 79.59, 97.96 และ 93.88 ตามลำดับ โดยเมื่อจำแนกตามพฤติกรรมของความเข้าใจมโนทัศน์เคมีพบว่านักเรียนมีพัฒนาการในพฤติกรรมด้านการให้เหตุผลเชิงลึกและการถ่ายโอนความรู้ 2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบายมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจมโนทัศน์เคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกหน่วยการเรียนรู้ 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย มีคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เคมีหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 70.02 จัดอยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 80.27 จัดอยู่ในระดับดีมาก 4) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบายมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์นักเรียนรายบุคคลพบว่านักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบาย ช่วยให้สามารถจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ยาวนานขึ้น
Other Abstract: This study was a pre-experimental research. The purposes of this study were to 1) study students' conceptual understanding in chemistry after learning through the predict-discuss-explain-observe-discuss-explain teaching strategy, 2) compare conceptual understanding in chemistry of students before and after learning through the predict-discuss-explain-observe-discuss-explain teaching strategy, 3) study learning achievement in chemistry after learning through the predict-discuss-explain-observe-discuss-explain teaching strategy, 4) compare learning achievement in chemistry of students before and after learning through the predict-discuss-explain-observe-discuss-explain teaching strategy. The experimental group was one of eleventh grade class at extraordinary school in the secondary educational service area office 1 in Bangkok in the first semester of academic year 2016. The research instruments were chemistry conceptual understanding tests and chemistry learning achievement test. The collected data were analyzed by arithmetic mean, means of percentage, standard deviation, t-test, and qualitative analysis. The research findings were as follows: 1) The percentage of upper secondary school students having the mean score of chemistry conceptual understanding at pass level after learning unit 1 the study of reaction rate, unit 2 chemical reactions and unit 3 factors affecting chemical reaction rate was 79.59, 97.96 and 93.88 respectively. Classifying each behavior of chemistry conceptual understanding, the students’ depth and transfer behaviors were significantly developed. 2) The mean score of chemistry conceptual understanding after the experiment higher than before experiment at .05 level of significance in all units of the lesson. 3) The mean score of chemistry learning achievement was 70.04 percent, good level. When classifying each behavior of chemistry learning achievement, the mean score of students’ understanding was 80.27 percent, very good level. 4) The mean score of chemistry learning achievement after the experiment was higher than before experiment at .05 level of significance. In addition, the qualitative analysis from interviewing individual students revealed that the predict-discuss-explain-observe-discuss-explain teaching strategy can promote the long-term memory.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51077
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783447627.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.