Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์en_US
dc.contributor.advisorวชิรพร วงศ์นครสว่างen_US
dc.contributor.authorพงศ์สิริ ไพพรรณศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:11:06Z
dc.date.available2016-12-02T02:11:06Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51117
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดคุณลักษณะของเรือผิวน้ำที่กองทัพเรือต้องการ สำหรับการดำเนินบทบาทในการรักษากฎหมายและช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้กองทัพเรือมียุทโธปกรณ์หรือเครื่องมือที่เหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กองทัพเรือ รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อแนวทางดำเนินการตามยุทธศาสตร์การคุมครองการใชประโยชนจากทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของแผนความมั่นคงทางทะเล (พ.ศ.2558 - 2564) การวิจัยนี้ได้นำโมเดล Logic of Force Planning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี Fundamentals Of Force Planning มาใช้เป็นแนวทางในการวิจัย โดยการวิจัยในขั้นการเก็บข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากทะเลและได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทางทะเล แต่ในทางกลับกันยังให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวไม่มากเท่าที่ควร โดยในส่วนของกองทัพเรือ ถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและการดำเนินบทบาทของกองทัพเรือในการรักษากฎหมายและช่วยเหลือ แต่ในทางกลับกัน ยังมีความพร้อมและขีดความสามารถในการปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ทางด้านความเหมาะสมในการใช้ยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ ในการดำเนินบทบาทในการรักษากฎหมายและช่วยเหลือ โดยเฉพาะการใช้ เรือฟริเกต เรือคอร์เวต จะมีต้นทุนในการปฏิบัติการสูง รวมทั้งการใช้เรือผิวน้ำดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อความพร้อมทางยุทธการด้วย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า จากการตรวจสอบแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และแผนยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ทำให้เห็นถึงความสอดคล้องในประเด็นต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องการผลผลิตจากกองทัพเรือ การตรวจสอบสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกับการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้มาซึ่งคุณลักษณะของเรือผิวน้ำ ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ดำเนินบทบาทของกองทัพเรือในการรักษากฎหมายและช่วยเหลือ ที่มีแนวความคิดแตกต่างจากเรือรบ ที่ใช้ในการรบที่เน้นขีดความสามารถสูงในทุกๆ ด้าน แต่คุณลักษณะที่ได้จากการวิจัยจะมุ่งเน้นขีดความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจเท่านั้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research paper aims at defining Royal Thai Navy surface ship’s characteristics for constabulary role. It empowers the Navy in term of a proper vessel or equipment for operating to cope with new threats and to synchronise with the strategic plan. In addition, it allows the Navy to confirm with maritime protection policy, which is one of national maritime security strategies (2015-2021). The “Logic of Force Planning” model, which is a part of Fundamentals of Force Planning theory, has been applied in this study. For the observation phase, it revealed that Thailand has taken advantage of maritime and eventually impacted by new challenging attack. Nonetheless, protection and problems-solving have not been effectively conducted. For Thai Navy, it shall serve as a key organisation for providing national naval protection and constabulary role. However, its capability and capacity for the mentioned duties are limited to an intermediate level with regard to suitable vessels for constabulary role. It is due to the fact that the operation of Frigate and Corvette would be costly and influence their availability for battle. Results show that, by analysing national maritime security policies, there is an alignment on certain concerns. Thailand highly requires support from Navy for investigation of the present environment and relevant technologies. Subsequently, data analysis with collected relating information has been performed. This contributes to determining specification of proper surface ship for the constabulary role, which significantly differs from that of high performance warship. In conclusion, Royal Thai Navy surface ship has been exclusively specified on its desired operation in this study.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.917-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเรือ
dc.subjectเรือ -- การใช้ประโยชน์
dc.subjectกองทัพเรือ -- ไทย
dc.subjectShips
dc.subjectShips -- Utilization
dc.subjectNavies -- Thailand
dc.titleการกำหนดคุณลักษณะเรือผิวน้ำของกองทัพเรือ สำหรับดำเนินบทบาทการรักษากฎหมายและช่วยเหลือen_US
dc.title.alternativeThe appropriate characteristic of The Royal Thai Navy Surface Ship for constabulary roleen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารกิจการทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDirARRI@Chula.ac.th,Padermsak.J@chula.ac.then_US
dc.email.advisornakorn911@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.917-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787194520.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.