Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51204
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านผู้ดูแลต่อความพึงพอใจในชีวิตผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG ELDERLY FACTORS, SPOUSAL CAREGIVERS FACTORS, AND LIFE SATISFACTION OF THE SPOUSAL CAREGIVERS OF THE OLDER PERSONS WITH STROKE
Authors: จิดาภา บรรเลงส่ง
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
ผู้ดูแลสูงอายุ -- คู่สมรส
Cerebrovascular disease -- Patients
Older caregivers -- Spouses
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจัยด้านผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ ภาวะพึ่งพา ปัจจัยด้านผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ภาระการดูแล การรับรู้ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสก่อนเจ็บป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะพึ่งพาของผู้ป่วย แบบประเมินภาระของผู้ดูแล แบบประเมินการรับรู้ความเครียด แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสก่อนเจ็บป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจในชีวิต ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .89, .71, .80, .77, .80 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีความพึงพอใจในชีวิตอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .54 2. สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสก่อนเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความพึงพอใจในชีวิตผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (r = .453) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับความพึงพอใจในชีวิตผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (r = .519) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะพึ่งพา ภาระการดูแล การรับรู้ความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
Other Abstract: The purposes of this correlational research were to study life satisfaction of spousal caregivers and to examine the relationship between the patient’s factor which is dependency status, and the caregiver’s factors which are personal factor, social support, burden of care, marital relationship and perceived stress. The research sample consisted of 140 spousal caregivers specific aged over sixty years old. Research instruments were personal factors, barthel ADL index, burden, perceived stress, social support, manital relationship and life satisfaction questionnaires. All struments were tests for content validity by a panel of five experts. The reliability of struments tested by Conbach’s Alpha were .89, .71, .80, .77, .80 and .79 and respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation and Pearson’s Product moment Correlation. The major finding were as followed: 1. The mean score of life satisfaction of spousal caregivers was at the high level (x = 3.84 S.D = .54) 2. Manital relationship were moderately and positive related to life satisfaction spousal caregivers (r = .453), social support were highly and positive related to life satisfaction spousal caregivers (r = .519) significantly at the .05 level. There were no significant relationships between dependence, personal factor, burden and perceived stress (p<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51204
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577157536.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.