Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51337
Title: การศึกษาอัตราการเสียชีวิตใน 30 วันของผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในปอดเฉียบพลันชนิดรุนแรงมากและรุนแรงปานกลางที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ช่วงระยะเวลา 10 ปี
Other Titles: 30 days mortality of acute massive and submassive pulmonary embolism treated with thrombolytic agent at King Chulalongkorn Memorial Hospital : a 10 years retrospective study
Authors: ซารียะห์ อูแด
Advisors: สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
จิราณัติ ชลธีศุภชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: s_srimahachota@yahoo.co.th,s_srimahachota@yahoo.co.th
jiranut.md@gmail.com
Subjects: ภาวะอุดตันของหลอดเลือดจากลิ่มเลือด -- การรักษาด้วยยา
ภาวะอุดตันของหลอดเลือดจากลิ่มเลือด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค
การตาย
Thromboembolism -- Chemotherapy
Thromboembolism
Cardiovascular system -- Diseases
Mortality
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรง (Acute massive and submassive pulmonary embolism)เป็นภาวะที่มีอัตราตายสูง. การรักษาประกอบด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและการผ่าตัด. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัด การให้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถลดการอุดตัน แก้ไขการไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการให้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถให้ได้ 2 วิธีคือทางเส้นดำและทางเส้นเลือดแดงปอดโดยตรง แต่ข้อมูลมีค่อนข้างจำกัด. การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาผลของการให้ยาละลายลิ่มเลือดทั้ง 2 ทางต่อการลดอัตราการตายในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรง วิธีการวิจัย: การศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรงด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทั้งทางเส้นเลือดดำและทางเส้นเลือดแดงปอดจำนวน 65 คน โดยศึกษาอัตราการตายใน 30 วันของผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้งหมดและจำแนกออกเป็นวิธีที่ได้รับยา นอกจากนั้นยังศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากาการได้ยา และการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดซ้ำใน 3 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 65 คน (อายุ 56 ปี), 56.9% วินิจฉัยเป็น massive pulmonary embolism. ผู้ป่วย 52.3% ได้รับการรักษาโดย intrapulmonary thrombolysis. ผู้ป่วย acute pulmonary embolism มีอัตราการตายใน 30 วันเท่ากับ 26.2% โดยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางเส้นเลือดดำ มีอัตราตายเท่ากับ 41.9% และ 11.7% ในผู้ป่วยที่ได้รับทางเส้นเลือดแดงปอด (P= 0.006). ความดันก่อนการรักษาเท่ากับ 101.9± 24.2 mmHg (97.6±25.9 mmHg ในกลุ่ม systemic thrombolysis, 105.3±22.4 mmHg ในกลุ่ม intrapulmonary thrombolysis, P= 0.21), ความดันในปอดก่อนการรักษา (RVSP) เท่ากับ 41.06±16.66 mmHg (58.4±18.8 mmHg ในกลุ่ม systemic thrombolysis, 55.7±16.2 mmHg ในกลุ่ม intrapulmonary thrombolysis, P= 0.58) ผู้ป่วยจำนวน 6 คน (9.2%) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมี major bleeding โดยทั้งหมดได้รับทางเส้นเลือดดำ (systemic thrombolysis). อัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซ้ำในระยะเวลา 3 เดือนเท่ากับ 1.5% สรุป: โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดเฉียบพลันยังถือเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง. การให้ยาละลายลิ่มเลือดถือเป็นการรักษาที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิต. การให้ยาทางเส้นเลือดแดงปอดโดยตรง (intrapulmonary thrombolysis) มีประสิทธิภาพในแง่สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต นอกจากนั้นยังมีความปลอดภัยในแง่การเกิดเลือดออกน้อย. ที่มา: ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรง (Acute massive and submassive pulmonary embolism)เป็นภาวะที่มีอัตราตายสูง. การรักษาประกอบด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและการผ่าตัด. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัด การให้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถลดการอุดตัน แก้ไขการไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการให้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถให้ได้ 2 วิธีคือทางเส้นดำและทางเส้นเลือดแดงปอดโดยตรง แต่ข้อมูลมีค่อนข้างจำกัด. การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาผลของการให้ยาละลายลิ่มเลือดทั้ง 2 ทางต่อการลดอัตราการตายในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรง วิธีการวิจัย: การศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในปอดฉับพลันชนิดรุนแรงด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทั้งทางเส้นเลือดดำและทางเส้นเลือดแดงปอดจำนวน 65 คน โดยศึกษาอัตราการตายใน 30 วันของผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้งหมดและจำแนกออกเป็นวิธีที่ได้รับยา นอกจากนั้นยังศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากาการได้ยา และการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดซ้ำใน 3 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 65 คน (อายุ 56 ปี), 56.9% วินิจฉัยเป็น massive pulmonary embolism. ผู้ป่ววย 52.3% ได้รับการรักษาโดย intrapulmonary thrombolysis. ผู้ป่วย acute pulmonary embolism มีอัตราการตายใน 30 วันเท่ากับ 26.2% โดยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางเส้นเลือดดำ มีอัตราตายเท่ากับ 41.9% และ 11.7% ในผู้ป่วยที่ได้รับทางเส้นเลือดแดงปอด (P= 0.006). ความดันก่อนการรักษาเท่ากับ 101.9± 24.2 mmHg (97.6±25.9 mmHg ในกลุ่ม systemic thrombolysis, 105.3±22.4 mmHg ในกลุ่ม intrapulmonary thrombolysis, P= 0.21), ความดันในปอดก่อนการรักษา (RVSP) เท่ากับ 41.06±16.66 mmHg (58.4±18.8 mmHg ในกลุ่ม systemic thrombolysis, 55.7±16.2 mmHg ในกลุ่ม intrapulmonary thrombolysis, P= 0.58) ผู้ป่วยจำนวน 6 คน (9.2%) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมี major bleeding โดยทั้งหมดได้รับทางเส้นเลือดดำ (systemic thrombolysis). อัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซ้ำในระยะเวลา 3 เดือนเท่ากับ 1.5% สรุป: โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดเฉียบพลันยังถือเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง. การให้ยาละลายลิ่มเลือดถือเป็นการรักษาที่สามารถลดอัตราการเสียชีิวิต. การให้ยาทางเส้นเลือดแดงปอดโดยตรง (intrapulmonary thrombolysis) มีประสิทธิภาพในแง่สามารถช่วยลดอัตราการเสียชิวิต นอกจากนั้นยังมีความปลอดภัยในแง่การเกิดเลือดออกน้อย.
Other Abstract: Background: Acute massive pulmonary embolism (PE) is a serious life-threatening condition. In patients who is contraindicated for surgical embolectomy. Medical reperfusion by systemic thrombolysis or intrapulmonary artery thrombolysis are options for treatment. However, the data are still limited. Objective: To assess mortality and complications of patients with acute PE treated with systemic or intrapulmonary thrombolysis. Method: A retrospective study of consecutive patients with acute PE treated with systemic thrombolysis (systemic group) or intrapulmonary thrombolysis (intraPA group) at King Chulalongkorn Memorial hospital. Demographics, hemodynamics data, complications and mortality were gathered from medical records. Mean and median were used. Chi-square and T-tests were used for compared subgroup. Results: Sixty five patients were included (mean age 56 years, 56.9% were diagnosed as massive PE, 52.3% were received intraPA thrombolysis). Thirty-day mortality was 26.2% in all PE combine. The 30-day mortality rate was higher in systemic group compared to intraPA group (41.9% and 11.7% in systemic and intraPA group, respectively, P= 0.006). Pre-treatment blood pressure (SBP) was 101.9± 24.2 mmHg (97.6±25.9 mmHg in systemic thrombolysis group, 105.3±22.4 mmHg in intrapulmonary thrombolysis group, P= 0.21), Right ventricular systolic pressure was 41.06±16.66 mmHg (58.4±18.8 mmHg in systemic thrombolysis group, 55.7±16.2 mmHg in intrapulmonary thrombolysis group, P= 0.58). Six patients (9.2%) had major bleeding, all of them were on systemic thrombolysis group. Conclusions: Pulmonary embolism is associated with high mortality rate. The role of intrapulmonary thrombolysis in high risk PE is promising. All-cause mortality and bleeding complication is significantly lower in these group compared to the one who received systemic thrombolysis. A larger, controlled study is needed to prove the efficacy of the intrapulmonary thrombolysis in acute PE.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51337
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.686
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.686
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774019230.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.