Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51485
Title: ลิลิต : ความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงในฐานะประเภทวรรณคดี
Other Titles: Lilit : the emergence and changes as a literary genre
Authors: วศวรรษ สบายวัน
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@chula.ac.th
Subjects: ลิลิต -- ประวัติและวิจารณ์
การแต่งคำประพันธ์
วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์
Thai literature -- History and criticism
Poetics
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาและความหมายของคำ “ลิลิต” และมุ่งศึกษาวรรณคดีลิลิตจำนวน ๖๒ เรื่อง ในเรื่องความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงด้านฉันทลักษณ์และด้านเนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ว่าคำ “ลิลิต” มีที่มาจากคำ “ลลิต” ในภาษาบาลีสันสกฤต โดยนำมาใช้ในความหมายว่า “เล่น” ปรากฏหลักฐานในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ใช้เรียกวิธีการเล่นสัมผัสที่กำหนดรูปวรรณยุกต์ ต่อมามีหลักฐานในลิลิตจันทกินรว่านำมาใช้เรียกการเล่นสลับระหว่างร่ายกับโคลง จากนั้นมา “ลิลิต” จึงได้ใช้เป็นชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านฉันทลักษณ์พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงด้านฉันทลักษณ์ในวรรณคดีลิลิต โดยพบการแต่ง ฉันทลักษณ์ชนิดอื่นแทรกในวรรณคดีลิลิตครั้งแรก ในลิลิตเพชรมงกุฎ สมัยอยุธยาตอนปลาย การแทรกฉันทลักษณ์ชนิดอื่น พบทั้งการแทรกฉันทลักษณ์ในตัวเรื่อง และการแทรกฉันทลักษณ์นอกตัวเรื่อง ฉันทลักษณ์ที่นำมาแทรกมี ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ กลอน และกลอนเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงกล่อมเด็ก การแทรกฉันทลักษณ์ชนิดอื่นเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาในตอนนั้น ทั้งยังช่วยแบ่งสัดส่วนของเนื้อหา และเป็นการแสดงความสามารถของผู้แต่งในการแต่งคำประพันธ์ชนิดอื่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ร่ายและโคลงยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการแต่งวรรณคดีประเภทลิลิต ในด้านเนื้อหาพบว่า วรรณคดีประเภทลิลิตมีความเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มี ๔ ประเภท ได้แก่ ประเภทบันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ประเภทนิทาน-นิยาย ประเภทศาสนา และประเภทคำสอน แต่ในรัชกาลปัจจุบันมี เพียง ๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทบันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ประเภทนิทาน-นิยาย และประเภทศาสนาและมีวัตถุประสงค์ในการสดุดีทั้งสิ้น ประเภทบันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ พบครั้งแรกในลิลิตโองการแช่งน้ำ สมัยอยุธยาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาเป็น เรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชสำนัก แต่นับจากสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มีการแต่งเรื่องเกี่ยวกับสามัญชนมากขึ้นและปรากฏมาถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน ประเภทนิทาน-นิยาย พบครั้งแรกในลิลิตพระลอ พบว่าเนื้อหาประเภทนี้นิยมนำเค้าเรื่องจากนิทานต่างประเทศมาแต่งมากที่สุด พบจำนวน ๘ เรื่อง แต่พบว่าตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นต้นมาผู้แต่งนิยมแต่งเรื่องขึ้นใหม่ ประเภทศาสนา พบครั้งแรกในลิลิตจันทกินร โดยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนิยมนำเรื่องจากชาดกมาแต่งมากที่สุด พบจำนวน ๙ เรื่อง แต่พบว่าในสมัยรัชกาลปัจจุบันนิยมแต่งเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประเภทคำสอน พบครั้งแรกในลิลิตตำรานพรัตน์ โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบว่านิยมแต่งเป็นตำรา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนิยมแต่งเป็นสุภาษิต และในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนิยมแต่งเพื่อให้ความรู้และเผยแพร่นโยบายของรัฐ
Other Abstract: This thesis aims at studying the emergence and meaning of the word ‘Lilit’ and studying 62 Lilit literatures focusing on emergence and change in prosody and content. The findings reveal that the word ‘Lilit’ came from ‘Lalit’ in Pali and Sansakrit languages. It meant ‘to play’: to play rhythmic positions which have the same tone. In ‘Lilit Chanthakinnon’, it was found that this word meant the rhythm between ‘Ray’ and ‘Khlong’. After that, ‘Lilit’ has been a name of Thai literary genres. The prosody of Lilit literature, it had changed. Formerly, ‘Ray’ and ‘Khlong’ were the main component but since the late of Ayutthaya period, first found in ‘Lilit Petchamongkut’, there were ‘Kap’ ‘Klorn’ and ‘Folk prosody’ used together with ‘Ray’ and ‘Khlong’, both in the body and the conclusion of stories, depended on the part of contents. Besides, poets used these three kinds of prosody with ‘Ray’ and ‘Khlong’ to show their talent in writing poetry and to partition the contents of story also. The content of Litlit literature, in Ayutthaya period to King Rama VI period, there were four types of the contents of Lilit literature: Historical literature (First found in ‘Lilit Ongkanchangnam’, since Ayutthaya period to King Rama V period, the content was about the king and his royal family, but since the King Rama VI period, the contents of common people were found in Lilit literature), Romance literature (First found in ‘Lilit Phralor’. It was found that this type of contents mostly came from foreign plots, found 8 stories, but since King Rama VIII period, poets would like to create their own plots), Religious literature (First found in ‘Lilit Chanthakinnon’. Since the middle of Ayutthaya period to King Rama VII, they used ‘Jataka’ as the plots. It was found 9 stories. In the present time, poets would like to make plots about the Lord Buddha’s biography), and Didactic literature (First found ‘Lilit Tamranoppharat’. In King Rama II period, poets would like to creat stories as text books. Besides, in King Rama V to King Rama VI period, poets would like to create stories as proverb. And in King Rama VII period to King Rama VIII period, poets would like to crate stories to provide knowledge and nation’s policy). On the other hand, in the present time (King Rama VIIII period), there were three types: Historical literature, Romance literature, and Religious literature. In addition, in the present time, the purpose of creating Lilit literatures is salute, even in Romance literature and Religious literature.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51485
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1031
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1031
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasawat_sa.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.