Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51493
Title: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวีดิทัศน์ เรื่องเงาะป่า
Other Titles: Ngoh pa contemporary Thai dance on video production
Authors: นภวรรณ นาคอุไร
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta.V@Chula.ac.th
Subjects: นาฏศิลป์ -- ไทย
การรำ
ศิลปะการแสดง
Dance
Performing arts
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิด วิธีการสร้างสรรค์ การตีความด้วยรูปแบบวีดิทัศน์เรื่องเงาะป่า ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและวิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับและบริบททางสังคมในการแสดง โดยมีขอบเขตของการวิจัยโดยศึกษาถึงบทละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรูปแบบ วีดิทัศน์เรื่องเงาะป่า ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ในปี พ.ศ. 2536 โดยได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวีดิทัศน์เรื่องเงาะป่า อีกทั้งได้บันทึกภาพถ่าย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือแม้กระทั่งข้อมูลออนไลน์ทางอินเตอร์เนต และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทำเป็นวิทยานิพนธ์ การศึกษาพบว่า นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวีดิทัศน์เรื่องเงาะป่ามีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของผู้ประพันธ์บทละคร รูปแบบการแสดงจึงมีความพิเศษเพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ประพันธ์ อีกทั้งเป็นการสดุดีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานพื้นที่ส่วนพระองค์ให้กับมหาวิทยาลัยอีกและเป็นผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น โดยรูปแบบการแสดงเรื่องเงาะป่า ได้ใช้สถานที่ในการถ่ายทำคือ “จุฬาวนาลัย” เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และยังคงรักษาความเป็นพื้นป่าได้มากที่สุดในขณะนั้น จึงเป็นการเสมือนได้ว่าผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นได้เห็นถึงคุณค่าของมหาวิทยาลัยและเป็นการตอบแทนพระคุณต่อมหาวิทยาลัย จึงเป็นสิ่งที่ให้ผู้สร้างสรรค์ได้มีโอกาสทำผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในรูปแบบวีดิทัศน์ เรื่องเงาะป่าชิ้นนี้ขึ้น ซึ่งในปัจจุบันสถานที่ถ่ายทำก็คงเหลือเพียงภาพถ่าย และวีดิทัศน์ชิ้นนี้เท่านั้น จึงทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านบทละคร นาฏยศิลป์ไทย และทรัพยากรสิ่งแวดล้อม จึงได้นำมาสู่รูปแบบการวิจัยและนับได้ว่าเป็นความรู้ที่ควรค่าแก่การศึกษาต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to study the concept, the creation and the analysis through the use of video production of “Ngoh Pa” from Chulalongkorn University as well as to analyze the element and development of contemporary thai dance. The scope of this work includes the study of classical drama “Ngoh Pa” authored by His Majesty King Rama V and video production produced by Narapong Charassri,Prof.Dr. Chulalongkorn University in 1993 through information collected from video production “Ngoh Pa” as well as from the interview with many thai dance scholars and internet. The study found that the contemporary thai dance in form of video production “Ngoh Pa” is created, as it was a death anniversary of author, to show the respect to and to praise His Majesty King Rama V as he has donated his personal land to build a university and become the founder of Chulalongkorn University. The video production of “Ngoh Pa” was taken on “Chulawanarai” , as it was the most fertilized land and remained forest at that time. This has shown that the video producer appreciated the value of university and it was a mean to show his respect to the university, by producing “Ngoh Pa”, contemporary thai dance on video production. In this day, the filming location remained as only a picture and this video. Therefore, as researcher has foreseen the importance of drama, contemporary thai dance and natural resources, the study of this is created and knowledge received is a good source for further study.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51493
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2067
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppawan_na.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.