Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51601
Title: การศึกษาคุณลักษณะต้านเชื้อแบคทีเรียแอโรโมนาส ไฮโดรฟิลล่าในปลาคาร์พ ด้วยสารสกัดใบฝรั่ง
Other Titles: Study on antimicrobial property of Psidium Guajava leaf extracts against Aeromonas Hydrophia Infection in Cyprinus carpio (fancy carp)
Authors: สถิตย์ อรุณแสง
Advisors: นันทริกา ชันซื่อ
จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์
เอกรินทร์ สายฟ้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: cnantari@chula.ac.th
jirasak.t@chula.ac.th
Ekarin.S@Chula.ac.th
Subjects: สารสกัดจากพืช
สารต้านแบคทีเรีย
ปลาคาร์พ -- การทดลอง
แอโรโมนาสไฮโดรฟิลา
Plant extracts
Antibacterial agents
Aeromonas hydrophila
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะต้านเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila ในปลาคาร์พ ด้วยสารสกัดใบฝรั่งที่สกัดด้วยเอทานอล 95% ในการศึกษานี้สามารถสกัดสารสกัดหยาบจากผงใบฝรั่งแห้งได้ปริมาณ 6.32% โดยน้ำหนักและมีแทนนินรวมเป็นองค์ประกอบหลักในปริมาณ 46.17% ของสารสกัดทั้งหมด จากการทดลอง พบว่าสารสกัดใบฝรั่งที่ระดับความเข้มข้น 800 พีพีเอ็ม สามารถยับยั้งเชื้อในจานทดลอง (in vitro) ได้ โดยเมื่อให้กินอาหารและจุ่มในน้ำ ผสมสารสกัดใบฝรั่ง นาน 1 นาทีทุกวัน ที่ระดับความเข้มข้น 1,600 พีพีเอ็มในปลาทดลอง (in vivo) พบว่า การให้สารสกัดใบฝรั่ง ทั้ง 2 วิธี ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 0 ถึงวันที่ 20 ในปลากลุ่มที่ไม่ฉีดเชื้อ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมในเม็ดเลือดแดงและจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งค่าทางโลหิตวิทยาและชีวเคมีโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แต่ค่าร้อยละความสามารถในการจับกินและการเคลื่อนที่เข้าหาเชื้อของเม็ดเลือดขาวของปลากลุ่มที่ให้กินอาหารผสมสารสกัดใบฝรั่ง มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) (19.13% - 25.00% และ 36.30% - 48.33% ตามลำดับ) ส่วนในปลากลุ่มที่ฉีดเชื้อ เมื่อให้สารสกัดใบฝรั่งโดยการจุ่มมีร้อยละอัตราการตายลดลง (43.3%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้กินอาหารผสมสารสกัดใบฝรั่ง (70.0%) และกลุ่มที่ไม่ได้รับสารใด (63.3%) แต่มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา enrofloxacin ด้วยวิธีการจุ่ม (26.6%) อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการให้สารสกัดใบฝรั่งโดยการผสมอาหารให้กินที่ระดับความเข้มข้น 1600 พีพีเอ็ม มีแนวโน้มเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในปลาที่ไม่ฉีดเชื้อ ส่วนในปลาที่ฉีดเชื้อ การให้สารสกัดใบฝรั่งโดยวิธีการจุ่มมีผลเพิ่มอัตราการรอดของปลาเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารใดได้อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05)
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the efficacy of guava (Psidium guajava L.) leave extracted with 95% ethanol against Aeromonas hydrophila in fancy carp (Cyprinus carpio). In this study, 46.17% total tannin in the 6.32% yield guava leaf was extracted. In vitro test showed that the MIC for A. hydrophila was 800 ppm concentration. For in vivo testing, the non-challenged and challenged fishes were treated by guava leaf extraction at 1,600 ppm via feeding and one-minute daily dipping for 20 days. The genotoxic, histopathological, hematological and blood biochemical values had no significant (p<0.05) difference between before and after treatments, but the phagocytic ability and the chemotaxic activity in orally fed group were significantly increased (p<0.05) (19.13% to 25.00% and 36.30% to 48.33%, respectively) in non-challenged group. In challenged group, the mortality rate in dipping group (43.3%) was lower than feeding group (70.0%) and compared to the control group (63.3%), and the mortality rate was higher than the enrofloxacin dipped group (26.6%) on the 20th day (P<0.05). The result, indicated that guava leave extract at 1,600 ppm given orally may have increased non specific-immunity in non-challenge group and the survival rate was increased significantly by dipping method in challenged group (p<0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โรคสัตว์น้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51601
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.857
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.857
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
satit_ar_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
satit_ar_ch1.pdf514.22 kBAdobe PDFView/Open
satit_ar_ch2.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
satit_ar_ch3.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
satit_ar_ch4.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
satit_ar_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
satit_ar_back.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.