Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51861
Title: ผลของไคโทซานและแหล่งไนโตรเจนที่มีต่อคุณภาพและการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัด 'เรดโอ๊ก' ที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรพอนิก
Other Titles: Effects of chitosan and nitrogen sources on postharvest quality and storage of 'Red Oak' lettuce cultivated by hydroponic method
Authors: ศรีรัตน์ รอดณรงค์
Advisors: ศุภจิตรา ชัชวาลย์
กนกวรรณ เสรีภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Supachitra.C@Chula.ac.th
kanogwan.k@chula.ac.th
Subjects: การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
การปลูกพืชในน้ำยา
Chitosan
Hydroponic
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของไคโทซานและแหล่งไนโตรเจนที่มีต่อคุณภาพและการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัด ‘เรดโอ๊ก’ ที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรพอนิก สำหรับไคโทซานที่ใช้ในการทดลองมี 2 ชนิด คือ ชนิดโอลิโกเมอร์ (O80) และชนิดโพลิเมอร์ (P80) ที่มีเปอร์เซ็นต์ Deacetylation เท่ากับ 80 ที่ความเข้มข้น 0.1 1.0 และ 5.0 mg/L โดยใส่ลงในสารละลายธาตุอาหารที่ดัดแปลงจากสูตร Hoagland ในการทดลองนี้จะทำการปลูก 3 ครั้งในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากการทดลองพบว่าทุกชุดการทดลองที่มีการให้ไคโทซาน ผักสลัดจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าชุดควบคุม โดยชุดการทดลองที่มีการให้ไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 5 mg/L เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุด สามารถทำให้ผักสลัดมีน้ำหนักสดต่อต้น จำนวนใบ และน้ำหนักแห้งมากกว่าชุดการทดลองควบคุม และเมื่อทำการเก็บรักษาผักสลัดไว้ที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน เพื่อศึกษาผลของไคโทซานที่มีต่อคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บรักษา พบว่าชุดการทดลองที่มีการให้ไคโทซานชนิด O80 ที่ความเข้มข้น 5 mg/L มีคะแนนคุณลักษณะภายนอกที่ปรากฎสูงที่สุด และมีการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยกว่าชุดการทดลองควบคุมที่ไม่มีการให้ไคโทซาน นอกจากนี้ชุดการทดลองที่มีการให้ไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 5 mg/L และไคโทซาน P80 ที่ความเข้มข้น 0.1 mg/L ถูกเลือกเพื่อมาศึกษาปริมาณ ascorbic acid ปริมาณสารสี และปริมาณเส้นใยของผักสลัด พบว่าชุดการทดลองที่มีการให้ไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 5 mg/L มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณ ascorbic acid ปริมาณสารสี และปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้นมากกว่าชุดการทดลองควบคุม เมื่อปลูกเลี้ยงผักสลัด ‘เรดโอ๊ก’ในสารละลายธาตุอาหารที่ดัดแปลงจากสูตร Hoagland โดยมีไนเตรทเป็นแหล่งให้ไนโตรเจน จะมีปริมาณไนเตรทสะสมเฉลี่ย 2.1 mg/g FW และเมื่อเพิ่มสัดส่วนของเกลือแอมโมเนียม 20% เพื่อแทนที่ไนเตรท ในสารละลายธาตุอาหาร พบว่าสามารถลดปริมาณไนเตรทได้ถึง 21.4% และสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การให้ไคโทซาน O80 ความเข้มข้น 5 mg/Lในสารละลายธาตุอาหาร สามารถลดปริมาณไนเตรทในผักสลัดได้ถึง 30% เมื่อทำการเปรียบเทียบปริมาณไนเตรทของผักสลัดที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่ดัดแปลงจากสูตร Hoagland นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มน้ำหนักสดของผักสลัด ได้ถึง 21% จากผลการทดลองทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าการปลูกผักสลัด ‘เรดโอ๊ก’ ในสารละลายธาตุอาหารโดยมีสัดส่วนของเกลือแอมโมเนียม 20% เพื่อแทนที่ไนเตรท ร่วมกับการให้ไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 5 mg/L ทำให้ผักสลัดมีปริมาณและคุณภาพดีที่สุด
Other Abstract: The objective of this work was aimed to study the effect of chitosan and nitrogen sources on postharvest quality and storage of ‘Red Oak’ lettuce cultivated by hydroponic method. Two types of chitosan molecules, oligomeric and polymeric chitosan with 80% degree of deacetylation, namely O80 and P80, respectively, at three concentrations, 0.1, 1.0, and 5.0 mg/L were added to modified Hoagland nutrient solution. The experiments were performed with three crops during one year (2010-2011). The results showed that chitosan treatments positively affected on all parameter. Application of 5 mg/L O80 is the most appropriate chitosan treatment to increase fresh weight, the number of leaves and dry weight. After storage at 8 oC for 10 days, the ‘Red Oak’ lettuce, grown under 5 mg/L O80 treatment, showed the highest overall appearance score. It could maintain the lowest fresh weight loss, when compared to the control without chitosan treatment. Moreover, Chitosan O80 at 5 mg/L and P80 at 0.1 mg/L were selected for studying the ascorbic acid, photosynthetic pigment and fiber contents. The application of 5 mg/L O80 chitosan tended to increase ascorbic acid, photosynthetic pigments and fiber content. When the lettuce was grown with the modified Hoagland nutrient solution, which contains NO3- salts as the nitrogen source, up to 2.1 mg/g FW of nitrate was detected. When 20% of nitrate salts in the nutrient solution were substituted by the ammonium salt (NH4+), the nitrate content was decreased by 21.4%, with the significant increase in fresh weight. The addition of 5 mg/L O80 chitosan significant decrease nitrate content in lettuce at harvest to 30%, compared to the nitrate level detected in the lettuce grown in modified Hoagland solution. Moreover, the fresh weight of the lettuce was also increased by 21%. Altogether with these experiments, the recommended nutrient solution for ‘Red Oak’ lettuce production was the modified Hoagland solution with 20 % ammonium salt substitution of the nitrate salts and addition of 5 mg/L of O80 chitosan in order to get the best lettuce quality and quantity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51861
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2127
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2127
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
srirat_ro.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.