Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51952
Title: การคุ้มครองสิทธิในภาพลักษณ์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียง
Other Titles: The protection of celebrity's identity right
Authors: ชีวิน มัลลิกะมาลย์
Advisors: อรพรรณ พนัสพัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Orabhund.P@Chula.ac.th
Subjects: บุคคลมีชื่อเสียง
สิทธิส่วนบุคคล -- การคุ้มครอง
ภาพลักษณ์ร่างกาย -- การคุ้มครอง
Celebrities
Privacy, Right of -- Protection
Body image -- Protection
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการคุ้มครองสิทธิในภาพลักษณ์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียง เนื่องจากภาพลักษณ์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงมีมูลค่าทางพาณิชย์ที่สามารถนำไปหาประโยชน์ได้หลายรูปแบบ แต่กฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองสิทธินี้ยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากมิได้เป็นสิทธิที่รับรองโดยกฎหมาย ดังนั้น จึงน่าจะมีกฎหมายเฉพาะมาใช้ในการคุ้มครองสิทธินี้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า แนวทางในการคุ้มครองสิทธิในภาพลักษณ์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงในประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองสิทธินี้ภายใต้แนวทางของกฎหมายละเมิด นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้มีชื่อเสียง และบุคคลทั่วไปมิได้เป็นสาระสำคัญในการให้ความคุ้มครองสิทธินี้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าการคุ้มครองสิทธิในภาพลักษณ์ของบุคคลจึงน่าจะนำกฎหมายละเมิดมาใช้ในการคุ้มครองได้ ในประเทศไทย สิทธิในภาพลักษณ์ของบุคคลสามารถถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในฐานะที่เป็นสิทธิในชื่อของบุคคลตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในกรณีที่เป็นภาพลักษณ์ประเภทชื่อของบุคคล ขณะที่สิทธิในภาพลักษณ์อื่นๆของบุคคล เช่น ภาพของบุคคล หรือ เสียงของบุคคล สามารถถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในฐานะที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนั้น การนำภาพลักษณ์ของบุคคลไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ นอกจากนั้น การหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากภาพลักษณ์ของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของบุคคลผู้มีชื่อเสียงอาจใช้บุคคลอื่นลอกเลียนแบบลักษณะท่าทางของบุคคลผู้มีชื่อเสียงเพื่อนำไปหาประโยชน์ กรณีเช่นนี้ไม่อาจจะถือได้ว่าบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่ถูกเลียนเป็นผู้เสียหายจากการกระทำละเมิด เพราะเหตุว่าบุคคลผู้มีชื่อเสียงมิได้ถูกนำไปใช้ในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยตรง อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า การหาประโยชน์เช่นว่านี้ถือได้ว่าเป็นการละเมิดโดยการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา 420 ประกอบ 421 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การหาประโยชน์โดยไม่ชอบนี้ก็สามารถนำกฎหมายละเมิดมาใช้ในการคุ้มครองได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากภาพลักษณ์ของบุคคลในกรณีที่เป็นบุคคลที่ถึงแก่กรรมแล้วไม่อาจได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายละเมิดได้เนื่องจากภาพลักษณ์ของบุคคลซึ่งได้รับการรับรองในฐานะที่เป็นสิทธิในชื่อของบุคคล และสิทธิส่วนบุคคลเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่สิทธิในทรัพย์สิน ดังนั้น สิทธินี้ย่อมไม่ตกทอดไปสู่ทายาทตามกฎหมายมรดก การคุ้มครองสิทธิในภาพลักษณ์ในกรณีนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อให้คุ้มครองสิทธิในภาพของบุคคล ซึ่งสามารถใช้ในการคุ้มครองภาพของบุคคลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้ เป็นต้น
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the protection of celebrity’s identity right. The celebrity’s identity has its economic value that can be commercially appropriated in various ways; but the legal protection of such right in Thai Law is uncertain because it is not legally recognized. Then it should be recognized by the enactment of sui generic law. However, the author found that this right in the legal provisions of the Federal Republic of Germany and of the United States of America is protected under Tort law and there is no difference between Celebrity’s right and that of Non-celebrity. Therefore, in Thai Law the author opined that a person’s identity right can also be protected by Tort law. In Thai Law, person’s identity can be legally recognized as the person’s name according to the Civil and Commercial Code Section 18, and in case of a person’s other indicia identity (e.g. image, voice), it should be recognized as privacy right according to Article 35 of the Constitution of Thailand B.E. 2550. Therefore, the commercial appropriation of a person’s identity without consent of the owner is an infringement of “other rights”, according to Section 420 of the Civil and Commercial Code. Moreover, the commercial appropriation of a person’s identity, in case of using another person to imitate celebrity’s personality, celebrity who was imitated can’t be the injured person since the appropriated person is not the celebrity. However, in this case, the author opined that this type of appropriation is an Abuse of Right under Tort Law according to Section 420 incorporate with Section 421, consequently this misappropriation can also be protected by Tort Law. Nevertheless, the commercial appropriation of a person’s identity in case of a deceased person can’t be protected by Tort law because a person’s identities which are legally recognized as person’s name and as privacy right are personal rights, which cannot be passed on to his/her heir according to Inheritance Law. Therefore a deceased person’s identity should be given protection under provisions of other laws, for example, as a copyrighted work under Copyright Act.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51952
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.88
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.88
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
cheewin_ma_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_ch1.pdf562.5 kBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_ch2.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_ch3.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_ch4.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_ch5.pdf565.15 kBAdobe PDFView/Open
cheewin_ma_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.