Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51957
Title: | คำกล่าวเกี่ยวกับพ่อแม่ลูกในบทละครโน : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Expressions concerning parent-child relation in Noh plays |
Authors: | สิริมนพร สุริยะวงศ์ไพศาล วินัย จามรสุริยา |
Email: | saowalak_suri@yahoo.com; sirimonpornnoh@gmail.com ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Subjects: | ละครโนะ บทละครญี่ปุ่น วรรณกรรมญี่ปุ่น บิดามารดาและบุตรในวรรณกรรม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาคำกล่าวเกี่ยวกับพ่อแม่ลูกที่ปรากฏในบทละครโน ได้แก่ คำกล่าวที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับโคะโตะวะสะ สุภาษิต สำนวน คำพังเพย)คำกล่าวที่อ้างอิงจากวรรณกรรมประเภท คัมบุน งานเขียนภาษาจีน)และคำกล่าวที่อ้างอิงจากวรรณกรรมประเภทวะบุน งานเขียนภาษาญี่ปุ่น) บทละครโนที่ศึกษาเป็นเรื่องที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยรวม บทละครทั้งประเภทที่อยู่และไม่อยู่ในรายการแสดงในปัจจุบัน ทั้งเรื่องที่แต่งในสมัยมุโระมะชิ และสมัยต่อมา การวิจัยได้พบว่าคำกล่าวเกี่ยวกับพ่อแม่ลูกในบทละครโนที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับโคะโตะวะสะเกือบทั้งหมดมีแหล่งที่มาจากวรรณกรรมประเภทคัมบุน โดยคำกล่าวที่พบมากที่สุดคือ คำกล่าวที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับโคะโตะวะสะที่ว่า “ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกดำรงอยู่เพียงชาติเดียว” คำกล่าวที่พบมากรองลงมาคือ คำกล่าวเกี่ยวกับนกต่างๆ ผลการวิเคราะห์ คำกล่าวสองกลุ่มนี้แสดงว่าผู้ประพันธ์บทละครโนเห็นว่าความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกนั้นแน่นแฟ้นและคงอยู่ต่อไปแม้หลังความตาย ซึ่งตรงข้ามกับโคะโตะวะสะที่ว่า “ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกดำรงอยู่เพียงชาติเดียว” นอกจากนี้การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า คำกล่าวเกี่ยวกับพ่อแม่ลูกที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับโคะโตะวะสะเป็นประเภทที่มีในบทละครโนมากที่สุด โดยมีมากกว่าคำกล่าวที่อ้างอิงจากวรรณกรรมที่เป็นวะบุนถึงประมาณ 2 เท่า แต่ข้อความอธิบายเพิ่มเติมในหนังสือรวมบทละครโนจะให้ข้อมูลน้อยมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับคำกล่าวที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกับโคะโตะวะสะ ผลการวิจัยมีความสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของวรรณกรรมประเภทคัมบุนในวรรณคดีญี่ปุ่นเพื่อเรียกร้องให้นักวิชาการหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาวรรณกรรมประเภทคัมบุนมากขึ้น 2. งานวิจัยนี้ได้ช่วยชำระต้นฉบับบทละครโนบางเรื่องที่ไม่อยู่ในรายการแสดงในปัจจุบัน 3. งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาบทละครโนที่ไม่อยู่ในรายการแสดงในปัจจุบันและ ไม่มีหลักฐานแสดงว่าแต่งในสมัยมุโระมะชิ ซึ่งนักวิชาการยังให้ความสนใจศึกษากันน้อยอยู่ |
Other Abstract: | This report presents the results of research on expressions concerning parent-child relations found in Noh plays. Included are proverb-like expressions (i.e., proverbs and expressions related to them) and allusions to expressions from works in both the kanbun and wabun styles. The plays investigated include those in and outside the current repertoire, works dating from both the Muromachi and from later periods.
This research demonstrates that almost all the proverb-like expressions concerning parent-child relations are taken from kanbun sources, the most common example being expressions associated with the proverb “Parent-child relations last but one lifetime.” The next most common category consists of expressions related to birds. Analysis of these two groups of expressions reveals that the authors of Noh plays saw parent-child relations as very strong and lasting even beyond one lifetime, contrary to sense of the familiar proverb. In addition, this investigation shows that, among the expressions concerning parent-child relations, proverb-like expressions are the most numerous, approximately twice as common as allusions to wabun sources. Nonetheless, modern editions of Noh plays rarely annotate the proverb-like expressions.
The results of this research are three-fold. First, it should encourage scholars to more fully consider the importance of kanbun in Japanese literature. Second, it corrects some misprints in plays outside the current repertoire. Finally, it calls attention to the significance of the many non-current and non-Muromachi Noh plays that modern scholars are apt to overlook. 本研究では、謡曲に見られる親子に関することわざ的表現(ことわざ、とそれに関連した表現のこと)と、漢文・和文に見られる同様の表現を調査した。ちなみに、謡曲は室町時代成立と確定し得る現行曲と番外曲と、それ以外の両方を調べた。 研究の結果、親子に関することわざ的表現は、そのほとんどが漢文からの引用であった。その中でも、最も多かった表現は「親子は一世」に関する表現で、次に多かったのは鳥に関する表現であった。「親子は一世」ということわざと、鳥に関する表現を分析した結果、親と子の関係は極めて重要であり、たとえ死んだとしてもその関係を断つことはできないということがわかった。能作者は親子の重要性を強調したかったという意図が看取できた。。 さらに、調査した謡曲に現れる親と子に関する表現の中では、ことわざ的表現が一番多く、和文からの引用に比べ約二倍程多いにもかかわらず、全ての謡曲集には親子に関することわざ的表現に関する注釈が非常に少ないことも明らかになった。 本研究の成果として、次に挙げるような、主に三つの重要な発見があった。一つは、日本文学における漢文の重要さを見直す契機となったこと。二つ目は、番外曲に見られた誤記を改めることができた。三つ目は、従来ほとんどの学者によって無視されてきた成立年不詳多くの番外曲の重要性を再確認することができたこと、である。 |
Description: | รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2556 |
Discipline Code: | 1017 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51957 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirimonporn_Su.pdf | 7.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.