Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52017
Title: ผลของการเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะที่ลำไส้เล็กส่วนปลาย การแสดงออกของยีนตัวขนส่งเปปไทด์ 1
Other Titles: Effects of Dietary Chitooligosaccharide Additives on Growth Performance, Ileal Nutrient Digestibility, PepT1 Gene Expression and Small Intestine Morphology in Weaned Pigs
Authors: สุรีรัตน์ สุธงษา
Advisors: บุญฤทธิ์ ทองทรง
สฤณี กลันทกานนท์ ทองทรง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Boonrit.T@Chula.ac.th
Sarinee.Ka@Chula.ac.th
Subjects: สุกร -- การเลี้ยง
สุกร -- การเจริญเติบโต
Swine
Swine -- Growth
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ใน 3 ระดับความเข้มข้น เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมรวมทั้งกลุ่มที่เติมยาปฏิชีวนะลงในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในลูกสุกรช่วงหลังหย่านม โดยศึกษาตัวชี้วัด ได้แก่ ค่าทางโลหิตวิทยา ค่ายูเรียไนโตรเจนและโปรตีนรวมในพลาสม่า เปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของโภชนะที่ลำไส้เล็กส่วนปลาย ปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งเปปไทด์ 1 การเปลี่ยนแปลงด้านสัณฐานวิทยาและดัชนีการงอกขยายของเซลล์ลำไส้เล็กในสุกรช่วงหลังหย่านม ใช้ลูกสุกร 3 สายพันธุ์เพศเมีย อายุ 21 วัน จำนวน 71 ตัว โดย 3 ตัวแรกถูกการุณยฆาตก่อนเริ่มการทดลอง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น ลูกสุกรที่เหลือแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 14 14 13 14 และ 13 ตัว ตามลำดับ เลี้ยงแบบขังเดี่ยว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ เลี้ยงในโรงเรือนเปิดเป็นระยะเวลา 56 วัน อาหารกลุ่มทดลองที่ 1 ได้แก่ อาหารพื้นฐานเติมกรดอะซิติกเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกลุ่มทดลองที่ 2 ถึง 4 เป็นอาหารพื้นฐานเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 75 150 และ 225 มก./กก.อาหาร ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่ 5 เป็นอาหารเช่นเดียวกับกลุ่มทดลองที่ 1และเติมยาปฏิชีวนะลินโคมัยซินปริมาณ 110 มก./กก.อาหาร ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่มีการเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 150 มก./กก. ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันในช่วงวันที่ 29 - 56 ของการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมและเทียบเท่ากับกลุ่มที่มีการเติมยาปฏิชีวนะ เมื่อพิจารณาตลอดระยะการทดลองในช่วงวันที่ 1 - 56 ของการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองดังกล่าวนี้มีแนวโน้มอัตราการเปลี่ยนอาหารดีกว่ากลุ่มควบคุม (p=0.06) ในขณะที่ปริมาณการกินได้ต่อวันไม่แตกต่างกันในทุกกลุ่มการทดลอง รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของค่าทางโลหิตวิทยา ค่ายูเรียไนโตรเจน ค่าโปรตีนรวมในพลาสม่า และค่าความเป็นกรด - ด่างในกระเพาะอาหาร (p>0.05) ความน่าสนใจของผลการเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 150 มก./กก.ในอาหาร ส่งผลให้การย่อยได้ของ พลังงาน โปรตีน ไขมัน เถ้า แคลเซียมและฟอสฟอรัสดีกว่ากลุ่มควบคุม และดีกว่าหรือเทียบเท่ากับกลุ่มที่มีการเติมยาปฏิชีวนะทั้งในวันที่ 28 และ 56 ของการทดลอง รวมทั้งส่งผลให้ค่าสัดส่วนความสูงของวิลไลต่อความลึกของคริปท์เซลล์ลำไส้เล็กทั้ง 3 ส่วนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมากกว่าหรือเทียบเท่ากับกลุ่มที่มีการเติมยาปฏิชีวนะในวันที่ 28 ของการทดลอง รวมทั้งเห็นผลเช่นเดียวกันที่ลำไส้ส่วนเจจูนัมเท่านั้นในวันที่ 56 ของการทดลอง ส่วนผลต่อปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งเปปไทด์ 1 เมื่อคิดเป็นจำนวนเท่าของการเปลี่ยน โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (เท่ากับ 1) พบว่าส่วนเจจูนัมลดลงเท่ากับ 0.29 ส่วนไอเลี่ยมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.58 ในวันที่ 28 ของการทดลอง ส่วนเมื่อครบระยะการทดลองในวันที่ 56 พบว่าส่วนดูโอดีนัมและไอเลี่ยมลดลงเท่ากับ 0.69 และ 0.31 ตามลำดับ แต่ส่วนเจจูนัมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.86 สำหรับผลต่อค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีงอกขยายที่เซลล์ลำไส้เล็กด้วยตัวชี้วัดโปรตีน Ki-67 ส่วนเจจูนัมมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 75 มก./กก. แต่เทียบเท่ากลุ่มที่การเติมยาปฏิชีวนะและกลุ่มเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 225 มก./กก.อาหาร ทั้งในวันที่ 28 และ 56 ของการทดลอง สรุปผลการทดลองในครั้งนี้ พบว่าการเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 150 มก./กก.อาหาร สามารถถูกนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ โดยเกิดประโยชน์จากการเพิ่มสมรรถนะการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นผลมาจากการย่อยได้ของสารอาหารที่สำคัญ ความเหมาะสมทางสรีรวิทยาในด้านปริมาณการแสดงออกของยีนตัวขนส่งเปปไทด์ 1 สัณฐานวิทยาและการงอกขยายที่บริเวณเซลล์ลำไส้เล็กดีกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มเติมไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ปริมาณ 75 และ 225 มก./กก.อาหาร แต่เทียบเท่ากลุ่มที่การเติมยาปฏิชีวนะ โดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพเมื่อวัดจากค่าทางโลหิตวิทยาของสุกร
Other Abstract: An experiment was conducted to determine the effects of three dietary chitooligosaccharide (COS) concentrations compared to not only a control group but also an antibiotic additive on growth performance in weaning pigs. Some parameters such as hematology, blood urea nitrogen, total protein in plasma, ileal nutrient digestibility, relative PepT1 gene expression, small intestinal morphology and proliferative marker index (Ki-67) in weaning pigs were measured. A total of 71 weaned female pigs (Duroc x Large white x Landrace) at 21 day of age housed in individual cage were divided into 5 groups: receiving basal diet with 1% acetic acid (control group n = 14) and COS additive with three doses of 75 (n = 14), 150 (n = 13) and 225 (n = 14) mg/kg of diet, respectively, and an antibiotic additive with 110 mg/kg lincomycin (n = 13) in basal diet. The results showed that the body weight gain and average daily gain of the weaned pigs fed the 150 mg/kg COS were significant increased compared to others (p<0.05). Moreover, the average daily gain during day 29 - 56 of experimental period was increased higher than control but was not different from the antibiotic additive. Throughout experimental period, the feed conversion ratio of COS 150 mg/kg trended to be better than control. On the other hand, average daily feed intake, hematological parameters, blood urea nitrogen, total serum protein and pH in stomach content were not significantly different (p>0.05) among groups. Interestingly, the ileal digestibility of energy, protein, fat, ash, calcium and phosphorus in the pigs fed the 150 mg/kg COS were significantly increased (p<0.05) compared to that in control group and did not differ from antibiotic group at the day 28th and day 56th of experimental period. Dietary additive of COS at 150 mg/kg and of lincomycin increased (p<0.05) the villus : crypt ratio of the small intestine at the day 28th and only jejunum at the day 56th of experimental period compared with the control diet. Fold change of PepT1 gene expression in pigs fed the 150 mg/kg COS compared with the control group (equal 1) showed down- and up-regulation in jejunum (0.29) and ilium (1.58), respectively at the day 28th and opposite results found in jejunum (2.86) and ilium (0.31) at the day 56th of experimental period. Proliferative marker index of jejunum in the pigs fed the 150 mg/kg COS both at the day 28th and day 56th of experimental period showed significant increase compared to that in control and COS at 75 mg/kg. However, it did not differ among antibiotic additive and COS at 225 mg/kg. In conclusion, this present study indicated that dietary additive of COS at 150 mg/kg of diet can be applied in substitute to the antibiotic to get benefit as the growth performance was better than both control and other two COS additives but the same as antibiotic additive by increasing apparent important nutrient digestibility, improving and optimum physiological changes of small intestinal morphology and PepT1 gene expression in the pigs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารสัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52017
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.13
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.13
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sureerat_su.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.