Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52299
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล | en_US |
dc.contributor.author | วริษา ศิลาวงศ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:04:53Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:04:53Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52299 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | ปัญหาหนึ่งจากงานเข็นที่ต้องเข็นตลอดเวลา คืออาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งสามารถแก้ไข้ปัญหาได้โดยการลดน้ำหนักเข็นให้น้อยลง แต่วิธีนี้กลับกลายเป็นการเพิ่มความเหนื่อยล้าเพราะต้องเพิ่มจำนวนรอบในการเข็นเพื่อขนถ่ายสินค้าให้เสร็จ ดังนั้นเพื่อป้องกันผู้ทำงานให้ไม่ต้องรับภาระด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป งานวิจัยนี้ได้แก้ปัญหาโรงงานตัวอย่างที่พนักงานเข็นประสบปัญหาบาดเจ็บเรื้อรัง โดยการลดภาระงานเข็น จาก 2 แนวทาง คือ 1. การปรับปรุงรถเข็น และ 2. หาน้ำหนักบรรทุกสำหรับงานเข็น โดยการเทรดออฟระหว่างแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างและการใช้พลังงาน ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นพนักงานในโรงงานเพศหญิงจำนวนรวม 28 คน มีอายุระหว่าง 23-51 ปี ผลการปรับปรุงรถเข็นพบว่าขนาดล้อ 125 มม. และระดับมือจับ 82 ซม. ได้ส่งผลต่อค่าแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างน้อยที่สุด คือเฉลี่ยที่ 4,195 นิวตัน ลดลงจากก่อนปรับปรุงคือเฉลี่ยที่ 5,094 นิวตัน ทั้งนี้การปรับระดับมือจับให้อยู่ในระดับเอวส่งผลต่อการลดลงของแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกิจกรรมทางเลี้ยว ในขณะที่การเพิ่มขนาดล้อนั้นไม่ส่งผลต่อการลดลงของแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะเกิดจากพฤติกรรมการออกแรงผลักรถเข็นงานของพนักงานที่ได้กำหนดให้เป็นอิสระ และผลการหาน้ำหนักบรรทุกสำหรับงานเข็น ได้ใช้แนวคิดการหาน้ำหนักบรรทุกที่ได้ค่าต่ำสุดของผลรวมจากทั้ง 2 ตัวชี้วัด Load at minimize = Min (NormFc+ NormCal) ผลที่ได้คือน้ำหนักบรรทุกสำหรับงานเข็นที่มีแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างน้อยที่สุดที่ไม่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น น้ำหนักบรรทุกงานเข็นในโรงงานกรณีศึกษาได้ลดลงจากเดิมก่อนปรับปรุงที่ 135 กิโลกรัม เป็น 102 กิโลกรัม โดยส่งผลกระทบต่อแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างเฉลี่ย 3,021 นิวตัน และการใช้พลังงานเฉลี่ย 72 กิโลแคลอรีต่อขั่วโมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยทั้งต่อแรงที่มากระทำต่อร่างกายและความเหนื่อยล้า | en_US |
dc.description.abstractalternative | A problem of pushing task may cause the chronic injury which can treat by reducing the weight of pushing. However, this method returns the increasing of fatigue because of increasing the amount of transferring until the job is finished. Therefore, in order to prevent the worker does not receive overload only on one side. This research solved the problem of a factory case study which its workers faced the chronic injury problems in accordance with the reducing the load of pushing from two concepts, 1. modifying the platform cart and 2. setting the weight of pushing by trade-off between the compressive force on Lumbosacral Disc and the energy consumption. Twenty eight participants were the female worker from the factory case study aged 23 to 51 years. The results of the cart modifying showed that the wheel size of 125 mm. and the handle height at 82 cm. affected the less compressive force on lumbosacral disc., the average force was 4,195 N. which were reduced from the previous one, the average force was 5,094 N. Furthermore, the setting the weight of pushing which was discovered from the minimum point of the summation of two indicators, Load at minimize =Min (NormFc+ NormCal). The results was the weight of pushing task causing the minimum lumbosacral disc compressive force at which the energy consumption was not increased. The weight of pushing task of the factory case study was reduced from the previous one at 135 kg. to 102 kg which effected on the average compressive force on lumbosacral disc at 3,021 N. and the average energy consumption at 72 Kcal/hr. Therefore, the new weight of pushing task was safe in both views of the force on the body and the fatigue. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1090 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป | - |
dc.subject | อาชีวอนามัย | - |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | - |
dc.subject | หมอนรองกระดูกสันหลัง | - |
dc.subject | Overuse injuries | - |
dc.subject | Industrial hygiene | - |
dc.subject | Industrial safety | - |
dc.subject | Intervertebral disk | - |
dc.title | การลดภาระงานเข็นโดยการเทรดออฟระหว่างแรงกดอัดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างและการใช้พลังงาน | en_US |
dc.title.alternative | Reduction of Pushing Load by Trade-off between Compressive Force on Lumbosacral Disc and Energy Consumption | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Phairoat.L@Chula.ac.th,Phairoat@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1090 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770963921.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.