Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52478
Title: Development of Anti-wrinkle lotion containing Artocarpus Lakoocha heartwood extract
Other Titles: การพัฒนาโลชันชะลอริ้วรอยที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากแก่นมะหาด
Authors: Manatchaya Wanawatanakun
Advisors: Parkpoom Tengamnuay
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Parkpoom.T@Chula.ac.th
Subjects: Skin -- Wrinkles
Plant extracts
Barrier creams
Artocarpus Lakoocha
Anti-wrinkle
Artocarpus Lakoocha
ผิวหนัง -- รอยย่น
สารสกัดจากพืช
ครีมถนอมผิว
มะหาด
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn
Abstract: The aims of this study were to assess the physicochemical stability of Artocarpus lakoocha heartwood extract (Puag-Haad) under various conditions and to evaluate its anti-wrinkle activity in female volunteers. Initial stability test revealed that citrate buffer pH 5.5 was able to maintain the original color and provided the highest content of oxyresveratrol of 91.77% in Puag- Haad solution. Addition of 0.02% butylated hydroxyanisole (BHA) alone could provide sufficient chemical stabilization at 45ºC for 12 weeks. Stability was further enhanced by a combination of 0.02% BHA and 0.02% sodium metabisulfite, which could stabilize both the color and content of oxyresveratrol in Puag-Haad solution kept at 30 ºC for 24 weeks. Eighty-six female volunteers subsequently participated in an 8-week parallel clinical trial with self-control to evaluate the antiwrinkle efficacy of solutions containing Puag-Haad (0.10 and 0.25%) in comparison with 0.10% epigallocatechin gallate (EGCG) and 0.10% vitamin C. It was found that 0.10% Puag-Haad solution was the most effective, with the roughness values as measured by Visioscan® becoming significantly with 95% confidence interval lower than its self-control after only 2 weeks of application and remained significant until the end of the study. This was followed by 0.25% Puag-Haad and 0.10% EGCG solutions, which demonstrated similar anti-wrinkling efficacy, whereas 0.10% vitamin C was the least effective. Thus, 0.10% Puag-Haad and 0.10% EGCG were formulated into lotion for further clinical study using similar protocol. The skin elasticity, capacitance (hydration) and whitening extent were also measured. It was found that 0.10% Puag- Haad lotion gave faster anti-wrinkle efficacy than 0.10% EGCG lotion, with the roughness values becoming significantly lower than its self-control after 6 weeks as compared to 8 weeks for EGCG. The extent of wrinkle improvement by Puag-Haad lotion was 5.78 - 5.93%. Both the Puag-Haad and EGCG lotions did not improve the skin elasticity but Puag-Haad lotion had an added benefit of skin whitening activity. Skin hydration also improved in both lotions due to the moisturizing effect of the lotion base. Considering its multi-functional activities, the inexpensive and easily available A. lakoocha extract or Puag-Haad has a very promising potential for use as a safe and effective anti-wrinkle/skin whitening ingredient in cosmetic preparations.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคงตัวทางกายภาพและเคมีของของสารสกัดจากแก่นมะหาด (ปวกหาด) ภายใต้สภาวะต่างๆและเพื่อประเมินประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยในอาสาสมัครเพศหญิง จาก การศึกษาความคงตัวเบื้องต้น พบว่าซิเตรทบัฟเฟอร์ พีเอช 5.5 สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนสีของสารละลายปวก หาดได้ อีกทั้งยังมีปริมาณสารออกซีเรสเวอราทรอลคงเหลือในปริมาณสูงที่สุด คือ 91.77 % และได้ทำการ การศึกษาความคงตัวที่ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าการเติมบิวทีเลเตตไฮดรอกซีอะนิโซล (บีเอช เอ) ความเข้มข้น 0.02% เดี่ยวๆให้ความคงตัวทางเคมีที่ดี และ การศึกษาความคงตัวที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 สัปดาห์พบว่าการเติมบีเอชเอความเข้มข้น 0.02%ร่วมกับโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น 0.02% สามารถ ชะลอการเปลี่ยนสีของสารละลายปวกหาดอีกทั้งยังมีออกซีเรสเวอราทรอลคงเหลือในปริมาณที่สูงเช่นกัน การศึกษา ประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยในผิวหนังของอาสาสมัครเพศหญิงโดยการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบคู่ขนานโดยมี กลุ่มควบคุมในตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยให้อาสาสมัครจำนวน 86 คน ทาสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10%, 0.25%, สารละลายอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10% และสารละลายวิตามินซีความเข้มข้น 0.10% ที่แก้มข้างขวา ส่วนแก้มข้างซ้ายทาสารละลายควบคุม คือ 20% โพรไพลีนไกลคอลในน้ำ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10% มีผลชะลอริ้วรอยดีที่สุด โดยให้ผลจากการวัดความหยาบของผิวโดย เครื่อง Visioscan®เร็วที่สุดภายใน 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและคงอยู่จนสิ้นสุดการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 รองลงมาคือสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.25% ซึ่งมีค่า เท่ากับสารละลายอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10% ส่วนสารละลายวิตามินซีความเข้มข้น 0.10% ให้ผลในการชะลอริ้วรอยน้อยที่สุด จึงเลือกสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10%และสารละลายอิพิแกลโลแคทิ ชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10%มาเตรียมเป็นโลชันเพื่อศึกษาผลในอาสาสมัครโดยใช้กระบวนการเดียวกัน โดยได้ ทำการวัดความยืดหยุ่น, ความสามารถในการนำไฟฟ้า (ความชุ่มชื้น) และความขาวของผิวไปพร้อมกันด้วย พบว่า โลชันปวกหาดความเข้มข้น 0.10% มีประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยเร็วกว่าโลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความ เข้มข้น 0.10% โดยเริ่มเห็นผลที่สัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไป ในขณะที่โลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตเริ่มเห็นผลใน สัปดาห์ที่ 8 ร้อยละของการชะลอริ้วรอยของโลชันปวกหาดอยู่ในช่วง 5.78 – 5.93% และพบว่าโลชันทั้งสองชนิดไม่ มีผลเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของผิว แต่ประสิทธิผลในการทำให้ผิวขาวพบว่าโลชันปวดหาดมีผลทำให้ผิวขาวขึ้น มากกว่าโลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลต และในส่วนความชุ่มชื้นของผิวพบว่าเพิ่มขึ้นในโลชันทั้งสองชนิด เนื่องจาก ผลของเนื้อโลชัน เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของปวกหาดซึ่งมีหลากหลายดังที่กล่าวมาแล้วร่วมกับปวกหาดมีราคา ไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นำสารสกัดจากแก่นมะหาดหรือปวกหาดมาใช้เป็นสารต้าน ออกซิเดชันและทำให้ผิวขาวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในด้านเครื่องสำอางต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคงตัวทางกายภาพและเคมีของของสารสกัดจากแก่นมะหาด (ปวกหาด) ภายใต้สภาวะต่างๆและเพื่อประเมินประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยในอาสาสมัครเพศหญิง จาก การศึกษาความคงตัวเบื้องต้น พบว่าซิเตรทบัฟเฟอร์ พีเอช 5.5 สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนสีของสารละลายปวก หาดได้ อีกทั้งยังมีปริมาณสารออกซีเรสเวอราทรอลคงเหลือในปริมาณสูงที่สุด คือ 91.77 % และได้ทำการ การศึกษาความคงตัวที่ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าการเติมบิวทีเลเตตไฮดรอกซีอะนิโซล (บีเอช เอ) ความเข้มข้น 0.02% เดี่ยวๆให้ความคงตัวทางเคมีที่ดี และ การศึกษาความคงตัวที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 สัปดาห์พบว่าการเติมบีเอชเอความเข้มข้น 0.02%ร่วมกับโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น 0.02% สามารถ ชะลอการเปลี่ยนสีของสารละลายปวกหาดอีกทั้งยังมีออกซีเรสเวอราทรอลคงเหลือในปริมาณที่สูงเช่นกัน การศึกษา ประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยในผิวหนังของอาสาสมัครเพศหญิงโดยการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบคู่ขนานโดยมี กลุ่มควบคุมในตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยให้อาสาสมัครจำนวน 86 คน ทาสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10%, 0.25%, สารละลายอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10% และสารละลายวิตามินซีความเข้มข้น 0.10% ที่แก้มข้างขวา ส่วนแก้มข้างซ้ายทาสารละลายควบคุม คือ 20% โพรไพลีนไกลคอลในน้ำ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10% มีผลชะลอริ้วรอยดีที่สุด โดยให้ผลจากการวัดความหยาบของผิวโดย เครื่อง Visioscan®เร็วที่สุดภายใน 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและคงอยู่จนสิ้นสุดการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 รองลงมาคือสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.25% ซึ่งมีค่า เท่ากับสารละลายอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10% ส่วนสารละลายวิตามินซีความเข้มข้น 0.10% ให้ผลในการชะลอริ้วรอยน้อยที่สุด จึงเลือกสารละลายปวกหาดความเข้มข้น 0.10%และสารละลายอิพิแกลโลแคทิ ชินแกลเลตความเข้มข้น 0.10%มาเตรียมเป็นโลชันเพื่อศึกษาผลในอาสาสมัครโดยใช้กระบวนการเดียวกัน โดยได้ ทำการวัดความยืดหยุ่น, ความสามารถในการนำไฟฟ้า (ความชุ่มชื้น) และความขาวของผิวไปพร้อมกันด้วย พบว่า โลชันปวกหาดความเข้มข้น 0.10% มีประสิทธิผลในการชะลอริ้วรอยเร็วกว่าโลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตความ เข้มข้น 0.10% โดยเริ่มเห็นผลที่สัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไป ในขณะที่โลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลตเริ่มเห็นผลใน สัปดาห์ที่ 8 ร้อยละของการชะลอริ้วรอยของโลชันปวกหาดอยู่ในช่วง 5.78 – 5.93% และพบว่าโลชันทั้งสองชนิดไม่ มีผลเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของผิว แต่ประสิทธิผลในการทำให้ผิวขาวพบว่าโลชันปวดหาดมีผลทำให้ผิวขาวขึ้น มากกว่าโลชันอิพิแกลโลแคทิชินแกลเลต และในส่วนความชุ่มชื้นของผิวพบว่าเพิ่มขึ้นในโลชันทั้งสองชนิด เนื่องจาก ผลของเนื้อโลชัน เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของปวกหาดซึ่งมีหลากหลายดังที่กล่าวมาแล้วร่วมกับปวกหาดมีราคา ไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นำสารสกัดจากแก่นมะหาดหรือปวกหาดมาใช้เป็นสารต้าน ออกซิเดชันและทำให้ผิวขาวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในด้านเครื่องสำอางต่อไป
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmaceutical Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52478
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1636
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1636
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manatchaya_wa_front.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_ch1.pdf372.47 kBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_ch2.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_ch3.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_ch4.pdf12.44 MBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_ch5.pdf729.04 kBAdobe PDFView/Open
manatchaya_wa_back.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.