Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52684
Title: การพัฒนาแถบตรวจโรคแบบแลทเทอรัลโฟลว์จากอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรเพื่อตรวจคัดกรองโรคสครับทัยฟัส
Other Titles: Development of gold nanoparticle-based lateral flow strip test for scrub typhus screening
Authors: นารีธร อุดมทองสุข
Advisors: พิชญ์ ศุภผล
อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์
จริยาณาฏ เกวี
Advisor's Email: Pitt.S@Chula.ac.th
amornpun.s@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไข้ไรหนู
ไข้รากสาด
การตรวจคัดโรค -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Tsutsugamushi disease
Typhoid fever
Medical screening -- Equipment and supplies
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคสครับทัยฟัสหรือโรคไข้รากสาดใหญ่จัดเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่ระบาดของโรค ผู้ป่วยมักไม่ได้รับการวินิจฉัยเนื่องจากไม่มีอาการทางคลินิกที่เด่นชัดและการตรวจวินิจฉัยที่ใช้ในปัจจุบันยังมีข้อด้อย ในงานวิจัยครั้งนี้จึงได้นำอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรร่วมกับวิธีทางอณูชีววิทยามาใช้ในการพัฒนาแถบตรวจคัดกรองโรคที่สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ตรวจได้ง่าย รวดเร็ว แม่นยำ และไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญหรือเครื่องมืออื่นๆ มาช่วยในการแปลผล การพัฒนาแถบตรวจคัดกรองโรคแบบแลทเทอรัลโฟลว์จากอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรที่ถูกตรึงด้วยสายดีเอนเอที่มีความจำเพาะต่อยีน 47 kDa, 56 kDa และ 60 kDa antigen ซึ่งถูกนำมาใช้ร่วมกันในการตรวจจับเพื่อเพิ่มความไวในการตรวจหาเชื้อ Orientia tsutsugamushi อันเป็นเชื้อก่อโรค สามารถใช้ตรวจจับเป้าหมายสังเคราะห์ได้ปริมาณต่ำสุด 0.125 fmol และตรวจหาพลาสมิดที่สอดแทรกด้วยยีน 56 kDa antigen ที่ผ่านการเพิ่มปริมาณยีนเป้าหมายด้วยวิธี Multiplex PCR ได้ต่ำสุด 1.72 copies และจากการทดสอบกับตัวอย่างเลือดทางคลินิกจำนวน 55 ตัวอย่าง พบว่ามีความไวร้อยละ 92 และความจำเพาะร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี Duplex nested PCR นอกจากนี้ยังไม่พบการเกิด Cross-hybridization กับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ และหนูซึ่งเป็น Host ชนิดหนึ่งของโรคอีกด้วย จากผลการทดลองพบว่า Stringency ของ Hybridization buffer และ Sodium dodecyl sulfate มีผลต่อความไวและความจำเพาะของชุดตรวจ จึงสรุปได้ว่าแถบตรวจคัดกรองโรคแบบแลทเทอรัลโฟลว์ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้ตรวจคัดกรองโรคสครับทัยฟัสในทางคลินิกได้ และยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุดตรวจคัดกรองอื่นๆ ต่อไป
Other Abstract: In Thailand, there has been high incidence of patients suffering from scrub typhus. The decisive diagnosis is difficult because clinical symptoms are very broad and common. Traditional diagnosis methods have many disadvantages. Hence, the applications of gold nanoparticles (AuNPs) and molecular biology principles were used to develop AuNP-based nucleic acid lateral flow (NALF) strip test as a promising tool to provide a sensitive, specific, cheap and simple screening method. AuNPs immobilized with thiolated-probes were used for multiplex detection NALF strip test development. Three types of the thiolated-probes were designed to be specific with 47 kDa, 56 kDa and 60 kDa antigen gene regions of pathogenic Orientia tsutsugamushi and were combined for signal amplification. Our platform could, by naked eye, detect mixed synthetic targets as low as 0.125 fmol and 1.72 copies for plasmid with 56 kDa antigen gene insertion after amplification with multiplex PCR. Fifty-five clinical samples were also used for evaluation of NALF efficiency. The sensitivity and specificity were 92% and 93% respectively, compared with duplex nested PCR. No cross hybridization with other types of bacteria as well as rat which is a possible host of the disease was observed. Our developed NALF provided satisfactory efficiency for clinical scrub typhus screening. The obtained knowledge can also be applied for strip test development of other diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52684
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2175
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2175
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nareethorn_ud.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.