Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52736
Title: ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Other Titles: Predicting factors of chest pain self-care agency among coronary heart disease patients, northeast region
Authors: เกษรา โคตรภักดี
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Coronary heart disease -- Patients -- Thailand, Northeastern
Heart -- Diseases -- Patients -- Thailand, Northeastern
Self-care, Health
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มุ่งศึกษาความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง ความสัมพันธ์และอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเข้มแข็งอดทน ความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม กับความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 110 คน เลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก แผนกอายุกรรมของแต่ละโรงพยาบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลอุดรธานี โรงพยาบาลเลย และโรงพยาบาลสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความเข้มแข็งอดทน แบบสอบถามความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75, 0.81, 0.7, 0.7, และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 11.55, SD = 3.17) 2. ความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งอดทน มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .741 , .253 และ r = .202 ตามลำดับ) 3. การรับรู้ภาวะสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.35) 4. การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเข้มแข็งอดทน ความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 55.9
Other Abstract: The purposes of this predictive correlational research were to study chest pain self-care agency coronary heart disease patients, northeast region, and to predict between perceived health status, hardiness , knowledge of chest pain self-care, social support, and chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. One hundred and ten out-patients with coronary heart disease were recruited from a multi-stage random sample, who were recruited in the medicine clinic at Khonkhean Hospital, Udonthanee Hospital, Loei Hospital, and Sakhonnakorn Hospital. The instruments used for data collection were demographic information, questionnaire of perceived health status, questionnaire of hardiness, questionnaire of knowledge of chest pain self-care, questionnaire of social support, and questionnaire of chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were 0.75, 0.81, 0.70, 0.70, and 0.82, respectively. Descriptive statistics (Percentage, mean, and standard deviation), and Hierarchical multiple regression were used to analyze data. The major findings were as follows: 1.Mean score of chest pain self-care agency among coronary heart disease patients was at a moderate level ([Mean] = 11.55, SD = 3.17). 2.There were positively significant relationships between knowledge of chest pain self-care were positively related to chest pain self-care agency among coronary heart disease patients at the level .01 (r =.746). Social support and hardiness were positively related to chest pain self-care agency among coronary heart disease patients at the level of 05 (r = .253, and r = .202, respectively). 3.There were no significant relationships between perceived health status and chest pain self-care agency among coronary heart disease patients (r = -.35). 4. Perceived health status, hardiness , knowledge of chest pain self-care and social support were prediction for chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. Variable accounted for 55.9 % of total variance chest pain self-care agency among coronary heart disease patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52736
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1781
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1781
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kessara_kh.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.