Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52849
Title: | ผลของเหงือกปลาหมอดอกขาวต่อการเกิดหลอดเลือดใหม่ และต่อการเติบโตของ เซลล์มะเร็งปากมดลูก ที่ปลูกบนผิวหนังของหนูนู๊ดไมส์ : รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย |
Other Titles: | Effects of Acanthus ebracteatus Vahl. on tumor angiogenesis and on tumor growth in cervical cancer implanted nude mice |
Authors: | สุทธิลักษณ์ ปทุมราช ภาวพันธ์ ภัทรโกศล สัญญา หกพุดซา |
Email: | Suthiluk.P@Chula.ac.th Parvapan.B@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | สมุนไพร เหงือกปลาหมอดอกขาว ปากมดลูก -- มะเร็ง เซลล์มะเร็ง การเกิดหลอดเลือดใหม่ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสมุนไพรเหงือกปลาหมอดอกขาวที่สกัดด้วยน้ำต่อการเจริญเติบโตและการเกิดหลอดเลือดใหม่ของมะเร็งปากมดลูก โดยทำการศึกษาในหลอดทดลองเพื่อทดสอบผลการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และทำการศึกษาในหนูนูดไมซ์ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งปากมดลูกใต้ชั้นผิวหนัง โดยเซลล์มะเร็งปากมดลูกที่ใช้เป็นชนิดที่บรรจุสารชีวะพันธุกรรมของฮิวแมนปาปิลโลมาไวรัส ชนิด 16 (Human papillomavirus type 16, (HPV)-16 DNA) และศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพรเหงือกปลาหมอต่อชีวะโมเลกุลที่บ่งชี้การเกิดหลอดเลือดใหม่ของมะเร็ง และการตายของเซลล์มะเร็ง ได้แก่ VEGF และ P53 การศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพรเหงือกปลาหมอดอกขาวต่อการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งคือ เซลล์มะเร็งปากมดลูก CaSki (HPV-16 positive) เปรียบเทียบกับเซลล์ปกติคือเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ HDFs โดยวิธีที่ใช้ในการทดสอบคือ Trypan blue exclusion method และ MTT assay ผลการทดสอบในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดไม่มีพิษเฉียบพลันหรือทำลายเซลล์โดยตรงต่อเซลล์ทุกชนิดเมื่อให้สารสกัดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และมีฤทธิ์อย่างอ่อนในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด CaSki โดยใช้ความเข้มข้นในการทำให้เซลล์ตาย 50% น้อยกว่าการยับยั้งเซลล์ปกติ (p<0.05) การศึกษาในสัตว์ทดลองใช้หนูนูดไมซ์สายพันธุ์ BALB/c เพศเมีย น้ำหนัก 20-25 กรัม และอายุระหว่าง 5-6 สัปดาห์ โดยแบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งปากมดลูก (HPV group) โดยการฉีดเซลล์ CaSki จำนวน 1x10⁷ เซลล์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ 200 ไมโครลิตร เข้าใต้ผิวหนังบริเวณกลางหลัง ส่วนกลุ่มควบคุม (Con group) ใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากเซลล์มะเร็งฉีดเข้าที่ใต้ชั้นผิวหนังในปริมาณที่เท่ากัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์จะสามารถสังเกตเห็นตุ่มนูนขนาดเล็กของมะเร็งปรากฎขึ้นที่ชั้นใต้ผิวหนัง และสัตว์ทดลองจะถูกป้อนด้วยสารสกัดสมุนไพรเหงือกปลาหมอ (AE) ขนาด 300 และ 3,000 มก/นน. กก./วัน/0.2 มล. เป็นระยะเวลา 14 และ 28 วัน (กลุ่ม Con-AE และ HPV-AE) หนูกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่นในปริมาตร และระยะเวลา 14 และ 28 วัน (กลุ่ม Con-AE และ HPV-AE) หนูกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่นในปริมาตร และระยะเวลาเท่ากัน (กลุ่ม Con-Veh และ HPV-Veh) และเมื่อสิ้นสุดให้สารสกัดสมุนไพร ทำการศึกษาการเกิดหลอดเลือดใหม่ของมะเร็งภายใต้กล้อง confocal fluorescence microscope ด้วยใช้การฉีดสารเรืองแสงเข้าทางหลอดเลือดดำจูกูลาร์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองชิ้นเนื้อมะเร็งถูกเก็บเพื่อวัดขนาด และศึกษาพยาธิวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กโดยใช้เทคนิค Hematoxyline&Eosin (H&E) และตรวจอิมมูโนพยาธิวิทยาเพื่อศึกษาการแสดงออกของ VEGF และ p53 ในเนื้อเยื่อมะเร็ง ผลการทดสอบในหนูที่ได้รับการปลูกเซลล์มะเร็งปากมดลูก พบว่าผลการทดลองจากภาพส่องกราดสารเรืองแสง สังเกตพบโครงข่ายของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณรอบก้อนมะเร็งเป็นจำนวนมากภายหลังการปลูกเซลล์มะเร็งในวันที่ 21 และ 35 และเมื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของหลอดเลือด (CV) พบว่าในกลุ่ม HPV-Veh มีค่า %CV เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม Con-Veh (P<0.001) และเมื่อให้สารสกัดสมุนไพรในขนาดสูง (3,000 มก./นน.กก.) เป็นเวลา 14 และ 28 วัน พบว่าค่า %CV ที่เพิ่มขึ้นนั้นลดลง (P<0.001) อีกทั้งปริมาตรของก้อนมะเร็งมีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด (HPV-Veh) และพบการแสดงออกของ VEGF ในเนื้อเยื่อมะเร็งสูงกว่ากลุ่มควบคุม (Con) และพบว่าสารสกัดในขนาดสูงทำให้ระดับของ VEGF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) นอกจากนั้นสารสกัดยังทำให้เพิ่มการแสดงออกของโปรตีน p53 ในเนื้อเยื่อมะเร็ง (HPV-AE) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด (HPV-Veh) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) สรุปได้ว่าสารสกัดสมุนไพรเหงือกปลาหมอมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง และยับยั้งการเกิดหลอดเลือดใหม่ในมะเร็งปากมดลูกโดยกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการยับยั้งการแสดงออกของ VEGF และการเพิ่มขึ้นของ p53 |
Other Abstract: | The aim of this study was to examine the effects of aqueous crude extract of Acanthus ebracteatus Vahl. (AE) on tumor growth and tumor angiogenesis in human cervical cancer cells contained human papillomavirus (HPV)-16 DNA-implanted nude mice model. In vitro the growth inhibitory effect of AE was studied by using cell types including CaSki and Human dermal fibroblast cells, HDFs. The cell growth-inhibitory activity and IC₅₀ of AE were determined at different incubation time 24-, 48-, and 72-hours by using Trypan blue exclusion method and MTT assay. Under in vitro condition, AE exhibited weak anti-proliferative effect on CaSki, cell growth in a dose-dependent manner with exposure time at 48-hr. AE could inhibit the growth of CaSki cells, the only one cancer cell, while less inhibitory effect to normal cells, HDFs (p<0.05). In vivo study Female BALB/c nude mice (weighing 20-25 g, age 5-6 weeks) were used for establishment of HPV 16-positive cervical cancer mice model. CaSki cells, 1x10⁷ cells/MEM 200{u1D707}l were injected subcutaneously in the middle dorsum of each animal (HPV group). One week after, mice were fed orally with AE 300 or 3,000 mg/kg BW/day for 14 and 28 days (HPV-AE groups), distilled water were used as vehicle control. After 14- and 28- day of treatments, the tumor microvasculature and capillary vascularity (CV) were determined by using laser scanning confocal microscopic system. Tumor tissue sample of each mouse was collected for immunohistochemical examination of biomarkers, vascular endothelial growth factor (VEGF) and p53 proteins. In vivo study, the increasing in tumor volume were observed during day 14th – 28th, and high dose treatment of AE (3,000 mg/kg BW) could inhibit the increase of tumor volume (P<0.001). A large number of microvascular network around tumor area was observed in HPV-Veh groups on day 21st and 35th after cancer-cell inoculation. Tumor capillary vascularity (CV) in HPV-Veh groups was significantly increased when compared to Con-Veh group (P<0.001). High dose treatment of AE significantly attenuated the increase of tumor angiogenesis on both 14- and 28-days of treatment (P<0.001). Tumor VEGF expression with strong intensity was detected in HPV-Veh group, and %area of VEGF expression in HPV-3,000 AE both 14-and 28-days were significantly less than HPV-Veh and HPV-300 AE group (P<0.001). Tumor p53 expression in HPV-Veh group was detected with a very small number or almost none. The elevation of p53 expression in HPV-AE groups was observed in dose dependent manner (P<0.001). Our novel findings demonstrated that aqueous crude extract of Acanthus ebracteatus Vahl. Could inhibit tumor growth and tumor angiogenesis in cervical cancer mice model. Therefore, it provides the research evidence that Acanthus ebracteatus Vahl. Might be contribute to the development of new therapeutic management against cervical cancer in the near future. |
Discipline Code: | 0701 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52849 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suthiluk_p_2554.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.