Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52865
Title: แนวทางการประชาสัมพันธ์การตลาดหนังผีไทยเพื่อให้เกิดกระแสนิยมและความเหมาะสมเชิงจรรยาบรรณวิชาชีพ
Other Titles: Marketing public relations to promote Thai ghost films and professional ethic
Authors: ระวิวรรณ นุชนาคา
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Phnom.K@Chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์ -- การตลาด
ภาพยนตร์ไทย
ภาพยนตร์สยองขวัญ
Motion pictures -- Marketing
Motion pictures, Thai
Horror films
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์การตลาดของหนังผีไทย เพื่อให้เกิดกระแสนิยม และ ความเหมาะสมเชิงจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลสองส่วนด้วยกัน คือเก็บข้อมูลจากกรณีศึกษา หนังผีไทย 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1 THREE อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต เรื่องที่ 2 ชัดเตอร์ กดติดวิญญาณ และ เรื่องที่ 3 เดอะเลตเตอร์ เขียนเป็นส่งตาย วิเคราะห์แนวทางการประชาสัมพันธ์การตลาดของหนังผีไทยเพื่อให้เกิดกระแสนิยม และ วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมเชิงจรรยาบรรณ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนักประชาสัมพันธ์การตลาดของหนังผีไทย ทั้ง 3 เรื่อง ผู้ชมภาพยนตร์ สื่อมวลชน นักวิจารณ์ภาพยนตร นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการ และ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวม 26 คน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการประชาสัมพันธ์การตลาดของหนังผีไทยทั้ง 3 เรื่องเริ่มจากการทำให้เกิดกระแสความนิยม ด้วยการสร้างประเด็นกระตุ้นความน่าสะพรึงกลัวผ่านหนังสือพิมพ์เว็บไซต์ และ รายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยม ต่อจากนั้นมีการสร้างสถานการณ์ในที่สาธารณะเพื่อสร้างกระแสให้สังคมเกิดความตื่นกลัวรวมถึง การดำเนินงานการส่งเสริมการตลาด ในด้านศึกษาความเหมาะสมเชิงจรรยาบรรณวิชาชีพ พบว่า การประชาสัมพันธ์การตลาดหนังผีควรคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนและสังคมไทย ควรยึดหลัก การทำงานด้วยความจริงใจต่อหน้าที่ มีความพอดี ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อเป็นการยกระดับวิชาชีพนักประชาสัมพันธ์
Other Abstract: The research aims at studying marketing public relations used to promote Thai ghost films and it’s considering professional ethic. The research uses qualitative methodologies which are case study of 3 Thai ghost films; Three, Shutter and The Letter and in-dept interview of 26 key informants consist of audience, pressmen, film critics, public relation practitioners, film critics, academicians and executives of the office of consumer protection board. The research finds that the direction of marketing public relations in promoting Thai ghost films are; setting horror-stricken issue among audience by using best-seller newspaper, websites, popular television programs, then, arranging public event together with sales promotion tactics. For the professional ethic appropriateness, the research finds that the public relations marketing used for ghost film should be considered on effect on audience and social. Public relations practitioners should be honest in communication, avoid self-interest and not to interfere pressmen duty.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52865
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.146
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rawiwan_nu_front.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch1.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch2.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch4.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch5.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_ch6.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_nu_back.pdf677.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.