Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52920
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพในการตกตะกอนของสลัดจ์ในระบบเอเอสด้วยวัสดุช่วยตกตะกอน
Other Titles: Enhancement of sludge sedimentation efficiency in activated sludge process by ballasting agent
Authors: เอกลักษณ์ ไชยพันธุ์
Advisors: ชัยพร ภู่ประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การตกตะกอน
กากตะกอนน้ำเสีย
การตกตะกอน (เคมี)
Sewage -- Purification -- Activated sludge process
Sewage -- Purification -- Precipitation
Sewage sludge
Precipitation (Chemistry)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของการตกตะกอนของสลัดจ์ในระบบเอเอส โดยการเติมวัสดุช่วยตกตะกอน ด้วยวัสดุที่ต่างกัน 2 ชนิด คือ ทาล และถ่านกัมมันต์ชนิดผง เติมผสมลงไปในถังปฏิกิริยาของระบบเอเอสแบบธรรมดาซึ่งทำการเดินระบบแบบต่อเนื่องโดยแปรเปลี่ยนปริมาณของวัสดุช่วยตกตะกอนใน 4 ถังปฏิกิริยา ด้วยปริมาณดังนี้คือ 0%, 20%, 50%, และ 80% น้ำหนักของวัสดุช่วยตกตะกอนต่อน้ำหนักของแบคทีเรีย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุช่วยตกตะกอนแต่ละชนิดและควมเข้มข้นที่มีผลต่อความเร็วในการตกตะกอนด้วยการวัดค่าความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอน (Initial Settling Velocity) และศึกษาลักษณะของการเกาะตัวระหว่างวัสดุช่วยตกตะกอนทั้ง 2 ชนิดกับฟล็อกจุลชีพด้วยกล้องจุลทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ตลอดจนศึกษาถึงความเข้ากันได้ของวัสดุช่วยตกตะกอนกับจุลชีพด้วยการตรวจวัดค่า ซีโอดี, เอ็มแอลเอสเอส, เอ็มแอลวีเอสเอส, พีเอช, เอสวี30, และ เอสวีไอ เปรียบเทียบกับการเลี้ยงตะกอนจุลชีพแบบที่ไม่มีการเติมวัสดุช่วยตกตะกอน โดยนำข้อมูลจากการศึกษาไปใช้ในการปรับปรุงและออกแบบถังตกตะกอนที่ใช้ในระบบเอเอสที่เติมวัสดุช่วยตกตะกอน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเติมวัสดุช่วยตกตะกอนทั้ง 2 ชนิดสามารถช่วยเพิ่มความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนให้สูงขึ้นได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสลัดจ์ที่ไม่ทำการเติมวัสดุช่วยตกตะกอน โดยค่าความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนในถังปฏิกิริยาที่มีการเติมทาลจะสูงกว่าถังที่มีการเติมถ่านกัมมันต์ชนิดผงในทุกๆ ความเข้มข้น ซึ่งการเติมวัสดุช่วยตกตะกอนที่ความเข้มข้น 80% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ทำให้ค่าความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนมีค่าสูงที่สุดคือ 17.7ม./ชม. โดยเมื่อพิจารณาค่าความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนของสลัดจ์ที่ไม่เติมวัสดุช่วยตกตะกอนมีค่าต่ำสุดเพียง 4.0 ม./ชม. จากการทดลองวัสดุช่วยตกตะกอนและจุลชีพสามารถเข้ากันได้ดี โดยศึกษาได้จากค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ตลอดทั้งการทดลอง ซึ่งพบว่ามีปริมาณค่าพารามิเตอร์ในทุกถังปฏิกิริยาใกล้เคียงกันกับถังปฏิกิริยาที่ไม่มีการเติมวัสดุช่วยตกตะกอน และลักษณะของจุลชีพที่อาศัยอยู่ในระบบจากศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็เป็นชนิดเดียวกันในทุกๆ ถังปฏิกิริยา ซึ่งล้วนเป็นจุลชีพในกลุ่มที่สำคัญต่อระบบเอเอส จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบการเกาะตัวของสลัดจ์กับวัสดุช่วยตกตะกอนในลักษณะที่ฟล็อกจะห่อหุ้ม และเคลือบผิววัสดุช่วยตกตะกอน และจากการศึกษาออกแบบถังตกตะกอนด้วยผลจากค่าความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนในการทดลองได้ผลคือ ที่ปริมาณวัสดุช่วยตกตะกอนเหมาะสม เช่น 20% (W/W) สามารถคำนวณออกแบบขนาดของถังตกตะกอนให้มีขนาดลดลงได้ ด้วยการคำนวณจากวิธีโซลิตฟลักซ์
Other Abstract: This study was intended to enhance efficiency of sludge settling in activated sludge with two types of ballasting agent, purified fine talc and powder activated carbon (PAC). The settling efficiency was demonstrated by initial settling velocity. This experiment was performed in 4 reactors of conventional activated sludge (CAS). In each reactor, concentrations of ballasting agent are varied, i.e. 0%, 20%, 50%, and 80% (W/W). The affect of several parameters such as COD, MLSS, MLVSS, pH, SV30, and SVI were studied. Moreover, the floc formation between sludge and ballasting agent were studied by microscope and electron microscope. In addition, the ISV from this experiment can be use as a new way to design sedimentation tanks. The results showed that both ballasting agent could improve settling efficiency, which indicated from high ISV, 17.7 m/h from the condition of 80% (W/W) talc concentration. However, talc was a better ballasting agent rather than PAC on overy conditions. Also, this study illustrated the floc formation between sludge and the ballasting agents from electron microscope that ballasting agent was covered and enameled by sludge. Furthermore from the study with microscope and other parameters, Talc and PAC shown no interfere with bacterial activities. As a result, the ISV from this experiment can be used design sedimentation tank with decreased surface area on the appropriate condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52920
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1370
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1370
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akeluk_ch_front.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_ch1.pdf592.05 kBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_ch2.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_ch3.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_ch4.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_ch5.pdf516.66 kBAdobe PDFView/Open
akeluk_ch_back.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.