Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52992
Title: ภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง "โทะโมะเอะ โกะเส็น" ในนิยายสงครามและบทละครญี่ปุ่น
Other Titles: Images of the female character "Tomoe Gozen" in Japanese war tales and drama
Authors: กณภัทร รื่นภิรมย์
Advisors: อรรถยา สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: attaya_s@hotmail.com
Subjects: ตัวละครในนวนิยาย -- ญี่ปุ่น
ตัวละครและลักษณะนิสัย
บทละครญี่ปุ่น
Fictitious characters -- Japan
Characters and characteristics
Japanese drama
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง “โทะโมะเอะ โกะเส็น” โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบจากนิยายสงคราม 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง “เฮะอิเกะโมะโนะงะตะริ” และเรื่อง “เก็มเปะอิเซะอิซุอิกิ” ในสมัยคะมะกุระ กับบทละครญี่ปุ่น 2 เรื่อง ได้แก่ บทละครโนเรื่อง “โทะโมะเอะ” ในสมัยมุโระมะชิ และบทละครโจรุริเรื่อง “ฮิระงะนะเซะอิซุอิกิ” ในสมัยเอโดะ รวมทั้งได้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง “โทะโมะเอะ โกะเส็น” กับปัจจัยในเชิงสังคมตามสถานภาพสตรีในชนชั้นนักรบ จากผลการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง “โทะโมะเอะ โกะเส็น” มีลักษณะที่เป็นจุดร่วมดังนี้ 1. รูปลักษณ์ภายนอก : การแต่งกายชุดเกราะพร้อมทั้งอาวุธและพาหนะม้า 2. ความสามารถ : ฝีมือการรบเป็นเลิศ 3. สถานภาพ : นักรบสตรีผู้มีบทบาทปกป้องผู้เป็นนาย 4. ลักษณะนิสัย : ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวและจงรักภักดี ด้านความแตกต่างพบว่าภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง “โทะโมะเอะ โกะเส็น” แตกต่างไปตามรูปแบบของงานวรรณกรรมและสมัยของงานวรรณกรรมดังจะสรุปได้ดังนี้ รูปแบบของนิยายสงครามจะเน้นการบรรยายรูปลักษณ์ภายนอก ในขณะที่บทละครจะเน้นการบรรยายความรู้สึกภายในจิตใจของตัวละคร นอกจากนี้รูปแบบเฉพาะของบทละครแต่ละเรื่องยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของโทะโมะเอะในด้านลักษณะนิสัย บทบาทตามสถานภาพนักรบ การใช้วิธีการต่อสู้ รูปแบบสังคมแบบปิตุลาธิปไตยตั้งแต่สมัยคะมะกุระตอนปลายถึงสมัยเอโดะได้ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ของภรรยาและมารดาเพิ่มเติมขึ้นมา เป็นต้น ภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง “โทะโมะเอะ โกะเส็น” สะท้อนให้เห็นถึงมโนทัศน์ของคนญี่ปุ่นที่มีต่อสตรีในอุดมคติในสมัยสงครามที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถทางการรบพร้อมทั้งบทบาทในฐานะภรรยาและมารดาที่ดี อีกทั้งยังมีจิตใจที่เข้มแข็งสามารถยืนหยัดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างสง่างาม
Other Abstract: Tomoe Gozen is a notable image of female warrior in Kamakura period. The era of war motivate her to become a brave female warrior. The purpose of this thesis is to study the images of the female character “Tomoe Gozen” by analysis and comparison from two war tales in Kamakura period, namely, “Heikemonogatari” and “Gempeiseisuiki”, and two dramas, namely, Tomoe Noh Drama in Muromachi period and Hiraganaseisuiki Joururi Drama in Edo period. In addition, analyze image of “Tomoe Gozen” compared with women status in term of society in warrior class. The main findings of image of Tomoe Gozen are : 1. Appearance : Wearing armour, holding arms and riding horse 2. Ability : Able to fight as men warrior in the battle 3. Status : Female warrior fight with enemies to protect master 4. Character : Brave and loyalty However, there are differences in character depending on pattern of literature and period of literature. War Tales focus on the explanation of appearance, on the other hand, drama focus on the explanation of feeling. Moreover, each drama has particular style which leads to changing in character, role of warrior and way of battle. In addition to the character of warrior, patriarchal ideology which was from late Kamakura period to Edo period, caused Tomoe’s image was changed to be wife and mother. The study reveals that image of Tomoe Gozen reflected the expectation of people toward ideal female in the period of war that women had to fight the enemies as well as playing the role of a good wife and a good mother. Tomoe Gozen represented vigorous mind make her elegantly stand among the social change in Japan.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52992
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.715
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.715
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanapat_ru_front.pdf981.35 kBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_ch1.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_ch2.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_ch3.pdf9.16 MBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_ch4.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_ch5.pdf479.53 kBAdobe PDFView/Open
kanapat_ru_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.