Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53123
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริจุฑารัตน์ โควาวิสารัช-
dc.contributor.authorอมราพร รัตนมาลากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-24T10:23:14Z-
dc.date.available2017-06-24T10:23:14Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53123-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยางไนไตร์ล บิวตะไดอีน (Nitrile Butadiene Rubber, NBR) อนุภาคขนาดนาโนในปริมาณต่างๆ ต่อสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของผ้าเบรกรถยนต์เปรียบเทียบกับการใช้ยาง NBR อนุภาคขนาดไมโครที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ งานวิจัยเน้นการศึกษาผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR นาโนปริมาณ 1.2, 1.4, 1.6, 1.8, 2.0, 2.2% โดยน้ำหนักเทียบกับผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR ไมโครในปริมาณเดียวกัน ผลงานวิจัยพบว่า ผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR นาโน มีสมบัติภายใต้แรงดัดโค้งดีขึ้น ส่วนการทนต่อแรงกระแทก ระดับความพรุน ระดับแรงเสียดทาน ดีขึ้นเล็กน้อย อีกทั้งมีการทนต่อความร้อนดีกว่า การกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอของยาง NBR นาโนในเนื้อผ้าเบรก ทำให้ผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR นาโน นิ่มกว่า แต่สึกเร็วกว่าและมากกว่าผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR ไมโคร และระดับการต้านแรงเฉือนลดลง การวิเคราะห์อิทธิพลของปริมาณยาง NBR ทั้งขนาดไมโครและนาโนที่ใส่ในผ้าเบรกพบว่าปริมาณยางมีผลต่อค่าความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ การต้านทานแรงเฉือน ระดับความพรุน และการทนต่อแรงกระแทกของผ้าเบรกยาง NBR เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การเพิ่มปริมาณยาง NBR ในผ้าเบรก ทำให้ผ้าเบรกนิ่มขึ้น ส่งผลให้ผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR ไมโครและนาโนมีอัตราการสึกเร็วขึ้นและมีการสึกมากขึ้น ผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR ไมโคร 1.4%, 1.6% และ 1.8% มีสัมประสิทธิ์ความเสียดทานเสถียรที่ในช่วงอุณหภูมิ 250-350℃ ปริมาณการสึกน้อยและมีอัตราการสึกต่ำ โดยเฉพาะผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR ไมโคร 1.6% เกิดการสึกน้อยที่สุด ผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR นาโน 2.0% มีระดับสัมประสิทธิ์ความเสียดทานเสถียรที่อุณหภูมิสูง พร้อมทั้งมีอัตราการสึกและปริมาณการสึกน้อยที่สุด พิจารณาโดยรวมผ้าเบรกที่ใส่ยาง NBR นาโน 2.0% มีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด และมีต้นทุนของวัตถุดิบถูกกว่าผ้าเบรกยางไมโคร 2.2% ที่ผลิตอยู่ราว 8.4%en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to compare the effects of nano-scaled and micro-scaled nitrile butadiene rubber (NBR) on the mechanical and physical properties of automotive brake pads. The concentration of both type of NBR were varied at 1.2, 1.4, 1.6, 1.8, 2.0 and 2.2%. The flexural properties of the brake pads with nano NBR were clearly improved while the impact strength, porosity, coefficient of friction and resistance to thermal degradation were also improved but only slightly. Microscopic observation revealed better dispersion of nano NBR in the phenolic binder. The brake pads with nano NBR were softer, easier to shear than those with micro NBR, making them more susceptible to ware. This was evident in both the ware rate, the amount of ware and lower shear strength found in the brake pads with nano NBR. The variation in the amount of both types of NBR over the ranges studied changed the hardness, specific gravity, shear strength, porosity and the impact strength only minutely. However, an increase in the ware rate was apparent when the concentration of micro and nano NBR was raised. The brake pads with 1.4 to 1.8% micro NBR possessed greater coefficient of friction at high temperature range of 250 to 350 ℃ and rather low ware rate. Minimum ware was found in the brake pads with 1.6% micro NBR. Among the nano NBR brake pads, the 2.0% NBR exhibited minimum ware with best overall mechanical and physical properties. Cost analysis revealed the 2.0% nano NBR brake pads to have less raw material cost than the 2.2% micro NBR formulation generally found in commercial brake pad by 8.4%en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2187-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรถยนต์ -- เบรกen_US
dc.subjectอนุภาคนาโนen_US
dc.subjectยางไนไตร์ลบิวตะไดอีนen_US
dc.subjectAutomobiles -- Brakesen_US
dc.subjectNanoparticlesen_US
dc.subjectNitrile butadiene rubberen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้ผงยางนาโนในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์en_US
dc.title.alternativeApplication of nanorubber particles in the production of automotive brake padsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirijutaratana.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2187-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amaraporn_ra_front.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_ch1.pdf730.13 kBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_ch2.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_ch3.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_ch4.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_ch5.pdf387.01 kBAdobe PDFView/Open
amaraporn_ra_back.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.