Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา อุทิศวรรณกุล-
dc.contributor.advisorสุนันท์ เบญจเจริญวงศ์-
dc.contributor.authorมณี วชิรรัตนวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-26T10:13:57Z-
dc.date.available2017-06-26T10:13:57Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53145-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาการใช้แบบประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในการตรวจคัดกรองระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติสำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกสูงอายุที่โรงพยาบาลตำรวจ วิธีดำเนินการวิจัย:เป็นการศึกษาชนิดภาคตัดขวางในผู้สูงอายุ (> 60 ปี) ที่เป็นผู้ป่วยอายุรกรรมนอกที่โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 ถึงเดือนมกราคม 2551 ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการสัมภาษณ์ ทำแบบประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน และได้รับการตรวจวัดระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร ผลการวิจัย:ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 319 ราย เป็นเพศหญิง 167 ราย เพศชาย 152 ราย มีอายุเฉลี่ย 70.5 + 6.5 ปี ส่วนใหญ่มีโรคร่วมได้แก่โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 80.3) และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ (ร้อยละ 67.4) จากผลตรวจทางชีวเคมีพบว่ามีผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน 14 ราย (ร้อยละ 4.4) ผู้มีภาวะกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารผิดปกติ 137 ราย (ร้อยละ 42.9) และผู้มีระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารปกติ 168 ราย (ร้อยละ 52.7) เมื่อรวมผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้มีภาวะกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารผิดปกติเป็นผู้มีภาวะระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติ 151 ราย (ร้อยละ 47.3) พบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างระดับกลูโคสในพลาสมากับค่าคะแนนความเสี่ยง (r = 0.322, p = 0.000) ความยาวเส้นรอบเอว (r = 0.111, p = 0.024) ดัชนีมวลกาย (r = 0.163, p = 0.02) ประวัติโรคความดันโลหิตสูง (p = 0.000) และประวัติเบาหวานในพ่อแม่พี่น้อง (p = 0.001) ค่าคะแนนจุดตัดที่เหมาะสมเท่ากับ 10 คะแนน ซึ่งจะมีค่าความไวร้อยละ 78.6 และค่าความจำเพาะร้อยละ 49.8 สำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และมีค่าความไวร้อยละ 70.2 และค่าความจำเพาะร้อยละ 65.5 สำหรับการตรวจคัดกรองภาวะระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติ โดยผู้ที่ได้ค่าคะแนน > 10 คะแนน (ร้อยละ 33) จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติ นอกจากนี้ ในจำนวนผู้มีภาวะระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติ จะพบผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1 ทุก 14 คน สรุปผลการวิจัย:แบบประเมินความเสี่ยงอย่างง่ายนี้สามารถใช้ในการตรวจคัดกรองภาวะระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อค้นหาผู้มีความเสี่ยงสูงซึ่งควรได้รับการตรวจวัดระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารและปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To assess the of diabetes risk score as a dysglycemic screening test for the geriatric outpatients of Police General Hospital. Method: This cross-sectional study was conducted in the elderly patients aged > 60 years at the medicine department of Police general hospital between August 2007 to January 2008. Participants were recruited to be interviewed, did Diabetes Risk Score, and fasting plasma glucose test. Result: Among 319 participants, 167 were women and 152 were men with a mean age of 70.5 + 6.5 years. Their comorbidities were hypertension (80.3%) and dyslipidemia (67.4%) at baseline. From the result of fasting plasma glucose test, 14 (4.4%) were new - diagnosed diabetes, 137 (42.9%) had impaired fasting glucose, and 168 (52.7%) had normal fasting plasma glucose. When combining diabetic and impaired fasting glucose participants, 151 (47.3%) were dysglycemic. There were the correlation between fasting plasma glucose level and the risk score (r = 0.322, p = 0.000), waist circumference (r = 0.111, p = 0.024), and body mass index (r = 0.163, p = 0.02). There were also the association between fasting plasma glucose level and history of hypertension (p = 0.000), and family history of diabetes (p = 0.001) The optimal cut-off point was 10 points with sensitivity of 78.6% and specificity of 49.8% for diabetes screening, and with sensitivity of 70.2% and specificity of 65.5% for dysglycemia screening. Those who got > 10 points (33%) would be at high risk of dysglycemia. Furthermore, 1 of 14 in this dysglycemic group might be at higher risk of diabetes. Conclusion: This simple diabetes risk score can also be applied to the elderly as a dysglycemic screening test in order to identify the high risk individual who should have fasting plasma glucose test and change the life style to reduce diabetes risk factors.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.282-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพen_US
dc.subjectเบาหวาน -- ปัจจัยเสี่ยงen_US
dc.subjectการตรวจคัดโรคen_US
dc.subjectน้ำตาลในเลือดen_US
dc.subjectOlder people -- Health risk assessmenten_US
dc.subjectDiabetes -- Risk factoren_US
dc.subjectMedical screeningen_US
dc.subjectBlood sugaren_US
dc.titleความไวและความจำเพาะของคะแนนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในการตรวจคัดกรองระดับกลูโคสในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยนอกสูงอายุ ณ โรงพยาบาลตำรวจen_US
dc.title.alternativeSensitivity and specificity of a diabetes risk score as a screening test of dysglycemia in geriatric outpatients at Police General Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorachara.u@chula.ac.th-
dc.email.advisorNo information provided-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.282-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manee_va_front.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
manee_va_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
manee_va_ch2.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
manee_va_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
manee_va_ch4.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open
manee_va_ch5.pdf879.71 kBAdobe PDFView/Open
manee_va_back.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.