Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53150
Title: ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน : การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุนวัฒนธรรมตามแนวปิแอร์ บูร์ดิเออ
Other Titles: Elites in contemporary Thai politics : a study of Pierre Bourdieu's approach of reproduction of cultural capitalism
Authors: รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Supang.C@Chula.ac.th
Subjects: ชนชั้นนำ -- ไทย
ทุน (เศรษฐศาสตร์)
Elite (Social sciences) -- Thailand
Capital
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากระบวนการสร้างและผลิตซ้ำทุนวัฒนธรรมของชนชั้นนำไทยปัจจุบัน และความสัมพันธ์ระหว่างทุนวัฒนธรรมกับทุนทางสังคมและทุนเศรษฐกิจตามแนวคิดของปีแอร์ บูร์ดิเออ (Prerre Bourdieu) ด้วยการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับชนชั้นนำในสังคมไทยและการสัมภาษณ์กรณีศึกษาหกคนซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นชนชั้นนำ ผลการศึกษาพบว่าครอบครัวและสถานศึกษามีบทบาทหลักในการสร้างและผลิตซ้ำทุนของชนชั้นนำให้กับบุตรหลาน ได้แก่ ทุนเศรษฐกิจ ทุนวัฒนธรม ทุนทางสังคม และทุนสัญลักษณ์ ทุนเศรษฐกิจคือทุนที่บ่งชี้ความมั่นคงของชนชั้นนำ แสดงออกด้วยการประกอบธุรกิจ การมีบ้านพักใจกลางเมือง การมีบ้านพักตากอากาศ สิ่งของสะสม ทุนวัฒนธรรมแบ่งออกได้เป็นสามชนิด คือทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคลหรือที่เรียกว่าฮาบิตุส แสดงออกด้วยกิริยา ท่าทาง มารยาท การพูด น้ำเสียง ความสามารถทางภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ความคิด อุดมการณ์ รสนิยม ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ การให้ความสำคัญกับกีฬาและการให้ความสำคัญกับครอบครัว และความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ ทุนวัฒนธรรมในรูปสถาบันคือการจบการศึกษาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง ชนชั้นนำที่มีทุนเศรษฐกิจมากจะเข้ารับการศึกษาจากสถานศึกษาที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงจากต่างประเทศตั้งแต่ระดับประมัธยมจนกระทั่งระดับปริญญา สำหรับชนชั้นนำที่มีทุนเศรษฐกิจไม่มากจะเข้ารับการศึกษาจากสถานศึกษาที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงในประเทศ นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาชั้นสูง คือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรซึ่งมีความสำคัญเพราะทำหน้าที่สร้างและผลิตซ้ำชนทางการเมืองด้วย ทุนวัฒนธรรมชนิดที่สามคือทุนในรูปวัตถุแสดงออกด้วยการเป็นเจ้าของ เช่น วัง สิ่งของสะสม รางวัล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ธุรกิจ สินค้า หรือผ่านงานเขียนเช่น หนังสือ บทความ ฯลฯ ทุนทางสังคม คือ การมีเครือข่ายความสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ เครือญาติของตนเองและครอบครัว การแต่งงาน การศึกษา และการทำงานในอาชีพ การแต่งงานได้แก่การแต่งงานกับคนที่มีทุนและตำแหน่งในสังคมใกล้เคียงกันและการแต่งงานกับลูกหลานราชสกุล การศึกษาในสถานศึกษาชั้นนำที่มีกฎระเบียบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาทำให้เพื่อนร่วมห้องร่วมโรงเรียนมีทุนใกล้เคียงกัน การศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรที่ช่วยสร้างทุนทางสังคมในหมู่ผู้เรียน และการทำงานในอาชีพ เช่น การประกอบธุรกิจ การรับราชการ การทำกิจกรรมทางสังคม ฯลฯ หรือการร่วมกลุ่มทำงาน ทุนสัญลักษณ์ แสดงออกด้วยชื่อนามสกุลหรือ คำนำหน้าชื่อที่แสดงถึงการมีตำแหน่งในสังคม หากเกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์จะเป็นทุนสัญลักษณ์ที่มีคุณค่าและได้รับการยอมรับอย่างมาก ตำแหน่งในทางธุรกิจ การเมือง สังคมทั้งของตนเองบิดาและคู่สมรสของตน การเป็นศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง การแต่งงานกับลูกหลานราชสกุล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ ในบรรดาทุนทั้งสี่ชนิด ทุนเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการเป็นชนชั้นนำไทยน้อยกว่าทุนประเภทอื่น ทุนวัฒนธรรม ทุนทางสังคมและทุนสัญลักษณ์เป็นทุนที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ เพราะต้องใช้เวลาในการสร้าง สั่งสม และทำให้เกิดการยอมรับในสังคม การเป็นชนชั้นนำในสังคมยังถูกแสดงออกด้วยการมีตำแหน่งในสนาม (field) ทางสังคมหลายๆ สนาม เพราะแสดงถึงการมีทุนปริมาณมากและหลากหลาย จากการสัมภาษณ์ สนามที่กรณีศึกษามีตำแหน่งมีถึงเก้าสนาม คือ สนามสถาบันกษัตริย์ สนามธุรกิจ สนามการเมือง สนามระบบราชการ สนามกิจกรรมทางสังคม สนามศิลปะดนตรีการแสดงและบันเทิง สนามการศึกษาความคิดความรู้และวรรณกรรม สนามการกีฬา และสนามศาสนา กรณีศึกษาชนชั้นนำทุกรายมีตำแหน่งในสนามห้าสนามเหมือนกันได้แก่ สนามสถาบันกษัตริย์ สนามการเมือง สนามระบบราชการ สนามศิลปะฯ และสนามการศึกษาฯ การที่ชนชั้นนำทุกคนมีตำแหน่งอยู่ในห้าสนามแสดงให้เห็นว่า สนามสถาบันกษัตริย์แสดงถึงมีทุนวัฒนธรรม ทุนสัญลักษณ์และทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพยกย่องของคนไทยและความจำเป็นต่อการเป็นชนชั้นนำไทย สนามการเมืองและสนามระบบราชการแสดงถึงการมีอำนาจทางการเมือง ตำแหน่ง และทุนการเมืองซึ่งเป็นทุนสัญลักษณ์ที่สนามอื่นๆ ไม่มี สนามศิลปะฯ แสดงถึงการมีทุนวัฒนธรรมในแบบชนชั้นนำที่คนทั่วไปไม่สามารถเลียนแบบได้เพราะต้องใช้เวลาในการสั่งสมและทำความเข้าใจ และสนามการศึกษา ความคิด ความรู้ และวรรณกรรม แสดงถึงการมีทุนวัฒนธรรม โดยกรณีศึกษาจะใช้การเขียนหนังสือและบทความเพื่อเผยแพร่ความคิดความรู้เพื่อแสดงการมีอิทธิพลเหนือคนอื่นๆ การมีทุนและตำแหน่งในสนามต่างๆ ของชนชั้นนำถูกสร้างและผลิตซ้ำจากยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ยุทธศาสตร์การศึกษา คือ การเข้ารับการศึกษาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง ยุทธศาสตร์การแต่งงาน คือ การเลือกโดยอาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะแต่งงานกันคนที่มีทุนใกล้เคียง และยุทธศาสตร์การลงทุนทางสังคม เช่น การนัดพบปะ กินเลี้ยง เลี้ยงรุ่น เพื่อให้ความสัมพันธ์ของกลุ่มแน่นแฟ้นและถูกระดมมาใช้ได้เมื่อต้องการ
Other Abstract: This research aims to study the process of Thai elites’ production and reproduction of their cultural capital, on the relation between cultural, social and economic capitals based on Pierre Bourdieu’s approach. The study used document about elites in the Thai society and the interview of six case studies who are widely accepted as elite. It was found that family and school played an important role in producing and reproducing elite’s capitals to their descendants. Capitals included economic, cultural, social and symbolic ones. Economic capital is illustrated in wealth such as business, residence in prime area, weekend house in the countryside and collection of art work. Cultural capital covers three types which are the embodied state or habitus expressed by gesture, manner, tone of voice, English language fluency, ideas, ideology, taste, loyalty to the royal institution, fond of sports, attachment to the family, esprit du corps and devotion to the nation; the second type of cultural capital is the institutionalized state which includes graduation from famous schools and universities from overseas while elites who have less economic capital graduated from local famous schools and universities. The National Defence College is Thailand’s highest educational institution or ‘grand ecole’ which produces and reproduces political elites. The third cultural capital, the objectified state, is expressed by the possession of valuable and precious objects such as palace, collections, awards, decoration, business, goods, or by personal writings such as memoire, books, articles etc. Social capital of the elites was reflected through their social networks created by their own relatives and spouse’s relatives, marriage, education and profession. Marriage created social capital by links with people of the same capital and position and the one with descendants of the royal families. Education created social capital through the exclusiveness of the famous schools attended and the National Defence College. Social capital was also reproduced in the profession including running a business, joining the civil service, creating social activities etc. Symbolic capital is expressed by the possession of the family names and titles that are recognized in the society, especially the one related to the royal institution; position in the business, politics, and society of both the elite, his or her father and his or her spouse, being an alumnus of famous education establishment, marriage to a descendent of the royal families and receipt of decorations. Among the four types of capital, economic capital is less significant for being a Thai elite while cultural, social and symbolic capitals are the most important. The emphasis is on the relationship to the monarchy institution because this capital needs time to create, to accumulate and to be recognized. Having position is the social fields is another aspect of being elite because it shows the volume and types of capitals possessed by elite. Nine social fields were identified, i.e, royal institution, business, politics, civil service, social activities, arts and entertainment, education and literary, sports and religion fields. Having positions in five fields namely royal institution, politics, civil service, arts and entertainment, and educational and literary fields are common to all case studies. In the royal field, cultural, symbolic and social capitals related to the monarchy were practised. In the political and civil service fields, political power, political position and political capital prevailed. Arts and entertainment field in where elites possess cultural capital that commoners could not compete due to the lengthy time spent in accumulating such capital. In the education and literary field, elites practise cultural capital in the form of book and article writing of which ideas could dominate others. Important strategies used to produce and reproduced all capitals are educational, matrimonial and sociodicy strategies. Educational strategy was practised by attending distinguished school, matrimonial strategy through the intentional or unintentional marriage with spouse whose capitals are equivalent to the elite, and sociodicy strategy could be found in the participation and organization of social events such as parties, alumni gathering and parties for friends who graduated in the same promotion. Such events could strengthen group relationship and social capital could be mobilized when needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53150
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1174
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1174
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungnapa_ya_front.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch1.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch2.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch3.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch4.pdf12.32 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch5.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch6.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_ch7.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open
rungnapa_ya_back.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.