Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53203
Title: ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย
Other Titles: Effects of research-based instruction in agricultural work on the learning achievement, quality of research, ability to communicate and the use of information technology of Grade 6 students
Authors: เพียงตา กิจหิรัญวงศ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: เกษตรศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2559
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทดลองใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานในวิชางานเกษตรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพโครงงาน ความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชางานเกษตรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานและการจัดการเรียนการสอนปกติ ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังจากการทดลองใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณภาพโครงงานของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีผลคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียน สูงกว่าผลคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียน 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) , นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการสื่อสารหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) ,นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยคุณภาพโครงงานหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000)
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study and conduct an experiment on teaching and learning using a research-based methodology; 2) compare the results of teaching and learning using the research-based methodology in consideration of three aspects: learning achievement, quality of research, ability to communicate and the use of technology of Grade 6 students. The sample were Grade 6 students who had registered to study agricultural subjects at Satit Chulalongkorn University at elementary level. The school designated that they register in the first semester in the year 2011 in 2 groups: each consists of 50 students. The research findings were as follows: 1) After the students studied with research-based methodology, the learning achievement, quality of research, ability to communicate and the use of technology were higher than before the students studied with research-based methodology. 2) There was a significant at .05 level on the learning achievement, quality of research, ability to communicate and the use of technology of Grade 6 students.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53203
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phiengta_Ki_Res_2016.pdf9.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.