Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53275
Title: ระบบรอยแตกของหินคาร์บอเนตยุคเพอร์เมียนบริเวณภูซำผักหนาม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Fracture system of Permian carbonate rocks at Phu Sam Phak Nam area, Amphoe Khon San, Changwat Chaiyaphum
Authors: วิรินทร์ อินทุ่ง
Advisors: สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล
ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sukonmeth.j@chula.ac.th
thasineec@gmail.com
Subjects: หินคาร์บอเนต -- ไทย -- ชัยภูมิ
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- ชัยภูมิ
ธรณีวิทยากายภาพ -- ไทย -- ชัยภูมิ
Carbonate rocks -- Thailand -- Chaiyaphum
Geology, Structural -- Thailand -- Chaiyaphum
Physical geology -- Thailand -- Chaiyaphum
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภูซำผักหนาม เป็นภูเขาในเขตอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยหินปูนยุคเพอร์เมียน ที่เกิดจาก การสะสมตัวบนลานหินคาร์บอเนตผานกเค้า (Pha Nok Khao Platform) ในสภาพแวดล้อมแบบทะเลน้ำตื้น โดย การศึกษานี้ได้เน้นศึกษาลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างและจำแนกระบบรอยแตก เพื่อนำมาใช้อธิบายวิวัฒนาการ การเกิดรอยแตกของหินคาร์บอเนตในภูมิภาคนี้ เนื่องจากรอยแตกในหินคาร์บอเนตสามารถเพิ่มความเป็นหินกัก เก็บปิโตรเลียมที่ดีได้ โดยข้อมูลจากการศึกษาภาคสนามจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในหินคาร์บอเนตบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากการสำรวจภาคสนามและการวิเคราะห์โครงสร้างธรณีวิทยาทั้งระดับกลางและระดับจุลภาค สามารถ จำแนกรอยแตกได้ทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ (1) รอยแตกที่เป็นระบบ และ (2) รอยแตกที่ไม่เป็นระบบ รอยแตกที่เป็น ระบบนั้น มีการวางตัวหลัก 2 แนว คือ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้ และสามารถแบ่งตามลักษณะ ที่ปรากฏได้เป็นรอยแตกที่ตั้งฉากกับชั้นหิน รอยแตกในแนวดิ่ง และรอยแตกที่วางตัวเกือบแนวระดับ โดยรอยแตก เหล่านี้ประกอบด้วยรอยแตกแบบเปิดที่สายแร่แคลไซต์ และรอยแตกแบบปิด ซึ่งรอยแตกในแนวตะวันออก- ตะวันตกคาดว่าเกิดจากเหตุการณ์ที่มีแรงอัดในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก ช่วงรอยต่อระหว่างยุคเพอร์เมียนและ ไทรแอสซิกส่วนรอยแตกในแนวเหนือ-ใต้คาดว่าเกิดจากแรงที่ส่งผลมาจากเหตุการณ์การชนกันของแผ่นยูเรเซีย และอินเดียในช่วงมหายุคซีโนโซอิก อย่างไรก็ตามทิศทางการวางตัวของรอยแตกทั้งหมดมีความหลากหลาย ประกอบกับโครงสร้างทางธรณีวิทยาอื่นที่พบ ได้แก่ รอยเลื่อนปกติ รอยเลื่อนย้อน และรอยเลื่อนแนวระดับ บ่ง บอกถึงความซับซ้อนของวิวัฒนาการธรณีแปรสัณฐานได้ตั้งแต่ยุคเพอร์เมียนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถแสดงลำดับ วิวัฒนาการได้โดยใช้แบบจำลองการเกิดโครงสร้างทางธรณีวิทยาและระบบรอยแตกในบริเวณพื้นที่ศึกษา
Other Abstract: Phu Sam Phak Nam, a Permian limestone mountain, located in Amphoe Khon San, Changwat Chaiyaphum formed as part of the Pha Nok Khao platform within the region of shallow carbonate platform is the study area of the research. The study focuses on the geological features and fracture system of the area in order to describe the structural evolution of carbonate rocks in this province. A number of gas fields in North eastern Thailand have been produced from fractured carbonate reservoirs. Therefore, the well understanding of the carbonate heterogeneity and fracture distribution from field observations will gain better interpretation and hopefully to be further fruitful applied to be used for Petroleum exploration in the future. After field investigation and analyses of geological features on both micro and meso scale, fractures can be categorized into 2 groups: (1) systematic fractures (2) nonsystematic fractures. Systematic fractures have 2 main trends, which are east-west and north-south directions. They can be subdivided into bed-perpendicular fractures, vertical fractures and subhorizontal fractures. Opened fractures filled with calcite vein are common. The east-west fractures formed as a result of Indochina and Sibumasu micro-continent collision during Permo- Triassic. The north-south fractures are likely related to the Himalayan orogeny during Cenozoic Era. The complexity of geological features such as normal fault, reverse fault and strike-slip fault indicates that the area has undergone a complex deformation from Permian to present. A conceptual evolution model of Phu Sam Phak Nam is proposed in this study.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53275
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532738723.pdf110.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.