Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53290
Title: Perlites and volcanic associations at Khao falamee, Amphoe Srabot, Changwat Lopburi
Other Titles: หินเพอร์ไลต์และความสัมพันธ์กับภูเขาไฟบริเวณเขาฝาละมี อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
Authors: Jittikan Narapan
Advisors: Chakkaphan Sutthirat
Somchai Nakapadungrat
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: c.sutthirat@gmail.com
No information provided
Subjects: Perlite -- Thailand -- Lopburi
Geochemistry -- Thailand -- Lopburi
เพอร์ไลท์ -- ไทย -- ลพบุรี
ธรณีเคมี -- ไทย -- ลพบุรี
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Khao Falamee volcanics is situated in the central part of Lam Narai volcanic field which has been categorized as Late Tertiary alkali-calc-alkali volcanic. Perlites occur within a volcanic succession consisting of perlites, pumiceous perlites, pyroclastics, fine-grained perlites and devitrified perlites, respectively. Petrographic investigation shows that perlites are composed mainly of more than 70% silica-glass groundmass with microcrystalline lath-shaped feldspars and alkaline feldspar phenocrysts, biotite and iron oxides. Perlitic cracks are clearly observed in these rocks. Geochemical analyses show that majority of the studied perlites including pumiceous perlites, fine-grained perlites and devitrified perlites, similarly comprise major and minor oxides which contain about 70-79% SiO2, 0.2% TiO2, 10-13% Al2O3, 0.5-0.8% CaO, 0.2-0.6% MgO, 0.4-1 wt% FeOtotal, 4-6% K2O, 0.2-4% Na2O and 0.01-0.04% MnO. Consequently, Falamee perlites are mostly named as rhyolitic perlites. In addition, based on geochemical analyses, pyroclastic rocks associated with these perlites are also composed of rhyolitic components with a wider range which can be classified as dacitic and andesitic pyroclastic rocks.
Other Abstract: หินภูเขาไฟเขาฝาละมีเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณศูนย์กลางแหล่งหินภูเขาไฟลำนารายณ์ซึ่งจัดเป็นหินภูเขาไฟชนิดอัลคาไลน์-แคลอัลคาไลน์ที่มีอายุอยู่ในช่วงยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย หินเพอร์ไลต์ที่พบในบริเวณเขาฝาละมีนั้น พบอยู่ในลำดับชั้นหินภูเขาไฟโดยเรียงลำดับจากล่างขึ้นบนดังนี้ หินเพอร์ไลต์ส่วนล่าง หินพัมมิเชียสเพอร์ไลต์ หินเถ้าภูเขาไฟ หินเพอร์ไชต์ส่วนบน และหินเพอร์ไลต์แปรสภาพ จากการศึกษาทางด้านศิลาวรรณา หินเพอร์ไลต์ประกอบด้วยเนื้อพื้นที่มีลักษณะเป็นเนื้อแก้วประมาณร้อยละ 70 พบผลึกขนาดเล็กของแร่เฟลด์สปาร์และผลึกดอกของแร่เฟลด์สปาร์ แร่ไบโอไทต์ และเหล็กออกไซด์ได้ทั่วไป นอกจากนี้หินเพอร์ไลต์ดังกล่าวแสดงลักษณะการแตกแบบหัวหอม (Perlitic texture) จากการศึกษาธรณีเคมี หินเพอร์ไลต์ในบริเวณพื้นที่ศึกษาซึ่งประกอบไปด้วย หินเพอร์ไลต์ส่วนล่าง หินพัมมิเชียสเพอร์ไลต์ หินเพอร์ไลต์ส่วนบน และหินเพอร์ไลต์แปรสภาพ มีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน โดยประกอบด้วยซิลิกาออกไซด์ร้อยละ 70-79 ไทเทเนียมออกไซด์ร้อยละ 0.2 อลูมิเนียมออกไซด์ร้อยละ 10-13 แคลเซียมออกไซด์ร้อยละ 0.5-0.8 แมกนีเซียมออกไซด์ร้อยละ 0.2-0.6 เหล็กออกไซด์ร้อยละ 0.4-1 โพแทสเซียมร้อยละ 4-6 โซเดียมออกไซด์ร้อยละ 0.2-4 และแมงกานีสออกไซด์ร้อยละ 0.01-0.04 จากสัดส่วนขององค์ประกอบทางเคมีที่พบ สามารถสรุปได้ว่าหินเพอร์ไลต์บริเวณเขาฝาละมีเป็นหินไรโอลิติกเพอร์ไลต์ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ทางธรณีเคมี หินเถ้าภูเขาไฟที่พบร่วมกับหินเพอร์ไลต์บริเวณเขาฝาละมีนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับหินเพอร์ไลต์ แต่มีช่วงองค์ประกอบที่หลากหลายมากกว่า โดยพบหินเถ้าภูเขาไฟที่มีองค์ประกอบทั้งแบบเดซิติกและแอนดิซิติก
Description: A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science Department of Geology Faculty of Science Chulalongkorn University Academic Year 2011
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53290
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Report_Jittikan Narapan.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.