Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53317
Title: การปรับปรุงคุณภาพพลอยทับทิม แหล่งมอนเตปวยซ์ ประเทศโมแซมบิค
Other Titles: Heat treament of ruby from Montepuez, Mozambique
Authors: ตามตะวัน พันธ์เตี้ย
Advisors: จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: c.sutthirat@gmail.com
Subjects: ทับทิม -- โมแซมบิค
Rubies -- Mozambique
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พลอยทับทิมแหล่งมอนเตปวยซ์ ทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิค จัดเป็นแหล่งพลอยทับทิมแหล่งใหม่ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ แต่ภายในเนื้อพลอยเหล่านี้มักพบรอยแตกค่อนข้างมาก จากการศึกษาพลอยทับทิมจำนวน 74 ตัวอย่างจากแหล่งนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พลอยคุณภาพปานกลาง- สูง มี รอยแตกน้อย-รอยแตกปานกลางได้ถูกนำไปปรับปรุงคุณภาพด้วยการเติมสารประกอบบอแรกซ์ และพลอยกลุ่มคุณภาพต่ำมีรอยแตกในเนื้อพลอยมากถูกนำไปปรับปรุงคุณภาพโดย การเติมแก้วตะกั่ว โดยส่วนใหญ่มักพบมลทินเส้นเข็ม มลทินผลึกแร่ แอคทิโนไลต์ แร่แคลไซด์ และแร่ฟุกไซต์ ตามลำดับ อีกทั้งพบมลทินรอยนิ้วมือ มลทินรูปท่อ และ มลทินสีขาวขุ่น หลังการปรับปรุงคุณภาพพบว่าพลอยกลุ่มคุณภาพปานกลาง-สูง มีสมบัติทางกายภาพค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก แต่อาจมีน้ำหนักของพลอยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อีกทั้งพบว่าการดูดกลืนของ AlOOH ในสเปคตรัม FTIR ของบางตัวอย่างหายไปหลังการปรับปรุงคุณภาพ โดยภายในพลอยทับทิมมีการเชื่อมประสานกันของรอยแตกเล็กน้อย แต่กลับมีมลทินตกค้างเพิ่มมากขึ้น พลอยจึงมีความใสขึ้นไม่มากนัก เป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่พลอยใสขึ้น พบธาตุองค์ประกอบมี Si เพิ่มขึ้น สำหรับพลอยกลุ่มคุณภาพต่ำ หลังการปรับปรุงคุณภาพ พบสมบัติทางกายภาพค่อนข้างคงที่เช่นเดียวกัน แต่น้ำหนักของพลอยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดูดกลืนของ AlOOH ในสเปกตรัม FTIR น้อยลงแต่มีการดูดกลืนของแก้วตะกั่วเพิ่มเข้ามา ภายในพลอยพบแก้วตะกั่วเข้าไปอุดตามรอยแตกและมีบางส่วนเคลือบผิว พบลักษณะวาบแสงสีน้ำเงิน และฟองก๊าซในบางตัวอย่าง รอยแตกในเนื้อพลอยมองเห็นได้น้อย พลอยมีความโปร่งใสเพิ่มขึ้น องค์ประกอบธาตุ Pb และ Si มีปริมาณสูงขึ้นชัดเจน โดยพลอยทั้ง 2 กลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เห็นสีแดงเข้มขึ้น โดยสรุปพลอยทับทิมแหล่งมอนเตปวยซ์จัดว่าสามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพได้ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพเริ่มต้นของพลอย โดยส่วนมากทับทิมแหล่งมอนเตปวยซ์นี้จะเหมาะกับการปรับปรุงคุณภาพด้วยการเติมแก้วตะกั่วมากกว่า แต่พลอยคุณภาพสูงกว่าอาจจะปรับปรุงโดยบอแรกซ์ได้เช่นกัน
Other Abstract: Ruby deposits have been recently found in Montepuez, Northern Mozambique, Southeast Africa. Seventy four ruby samples from this deposit were collect and divided, based on their quality and fractures, into 2 groups. The first group is medium-high quality of transparency with some fractures and some inclusions. This group was enhanced thermally with borax glass. The other group is low quality of transparency with many fractures and many inclusions. Heat treatment with lead glass was then applied for this group. Mostly found mineral inclusions are actinolite, calcite and fuchsite. Fingerprint, tube and cloud inclusions are also observed in these rubies. After enhancement, the first group still shows consistency of physical properties with weight increasing, slightly. Their transparencies are slightly improved because some fractures are healed but many residual inclusions are developed. For the low quality rubies, they also show consistent physical properties but their weights were increased extremely. These rubies are changed to better transparency with blue flash and some cloud inclusions are clearly observed. Lead glass-filled fractures are recognized significantly and their surfaces are also partly covered by the lead glass. Absorptions of AlOOH, observed in FTIR spectra, are disappeared after treatment in both groups. Their colors appear to have intensified in red shade. Therefore, heat treatments using borax glass and lead glass can be used to enhance Montepeuz rubies; however, their initial qualities should be taken into consideration for both treatments. Heat treatment with lead glass may be more suitable of these stones although some higher quality rubies may also be improved by borax-assisted heat.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53317
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Tamtawan Phantia .pdf9.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.