Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53325
Title: The effect of Angelica Dahurica extracts on platelet aggregation
Other Titles: ผลของสารสกัดโกฐสอที่มีต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
Authors: Prinyaporn Pradmetheekul
Advisors: Rataya Luechapudiporn
Ponlapat Rojnuckarin
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: rataya.l@pharm.chula.ac.th
porpiasod@hotmail.com
Subjects: Thromboembolism
Blood platelets
Plant extracts
Angelica Dahurica
Medicinal plants
ภาวะอุดตันของหลอดเลือดจากลิ่มเลือด
เกล็ดเลือด
สารสกัดจากพืช
โกฐสอ
พืชสมุนไพร
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Platelet aggregation is one of the important mechanisms in hemostasis. Improper platelet function may lead to bleeding or atherothrombosis. Angelica dahurica (AD) has been used in the mixture of Ya-Hom, a Thai herbal formulation, which is used for treatment of circulatory disorder. Imperatorin is one of the major chemical compounds in AD. The aims of this study were to investigate the effects of AD extracts (ADE) and imperatorin on arachidonic acid (AA)-, adenosine diphosphate (ADP)-, and collagen-induced platelet aggregation and their mode of action on platelet aggregation. 0.1 – 1 mg/ml of ADE and 10 – 300 µM of imperatorin were preincubated in platelet rich plasma (PRP) for 3 min before adding agonists. The results demonstrated that 1 mg/ml of ADE inhibited ADP- and collagen- induced platelet aggregation significantly by 62.82% (p=0.000) and 66.28% (p=0.002), while 300 µM of imperatorin inhibited ADP-induced platelet aggregation by 33.96% (p=0.012) compared with vehicle control but not inhibited collagen-induced platelet aggregation. Both ADE and imperatorin inhibited secondary phase of ADP-induced aggregation. ADE increased lag phase in collagen-induced platelet aggregation compared with vehicle control (367.78 vs. 116.35 sec, p=0.008). Both ADE and imperatorin could not inhibit AA-induced platelet aggregation but they could delay platelet aggregation. When induced platelet aggregation by ADP, ADE significantly increased cAMP levels (p=0.027), but did not affect on thromboxane B2 level. In conclusion, the antiplatelet property of ADE and imperatorin at least take part in adenylate cyclase – cAMP pathway.
Other Abstract: การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการห้ามเลือด ในสภาวะที่เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติอาจนำไปสู่ภาวะเลือดไหลหรือภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดง โกฐสอถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยาหอมซึ่งเป็นตำรับยาไทยที่ใช้ในการรักษาความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด อิมเพอราโทรินเป็นองค์ประกอบทางเคมีหลักตัวหนึ่งในโกฐสอ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดโกฐสอและอิมเพอราโทรินที่มีต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยอะดีโนซีนไดฟอสเฟต กรดอะราชิโดนิก และคอลลาเจน และกลไกการออกฤทธิ์ที่มีต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เมื่อบ่มสารสกัดโกฐสอที่ความเข้มข้น 0.1 - 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรและอิมเพอราโทรินที่ความเข้มข้น 10 - 300 ไมโครโมลาร์ในพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดสูงเป็นเวลา 3 นาทีก่อนใส่ตัวกระตุ้น พบว่าโกฐสอที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยอะดีโนซีนไดฟอสเฟตและคอลลาเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้ง 62.82% (p=0.000) และ 66.28% (p=0.002) ตามลำดับ อิมเพอราโทรินที่ความเข้มข้น 300 ไมโครโมลาร์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยอะดีโนซีนไดฟอสเฟต มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้ง 33.96% (P=0.012) เปรียบเทียบกับตัวทำละลายควบคุม แต่ไม่ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยคอลลาเจน ทั้งโกฐสอและอิมเพอราโทรินมีฤทธิ์ยับยั้งในช่วง secondary phase โกฐสอเพิ่ม lag phase เมื่อกระตุ้นเกล็ดเลือดด้วยคอลลาเจนเปรียบเทียบกับตัวทำละลายควบคุม (367.78 vs. 116.35 วินาที, p=0.008) ทั้งโกฐสอและอิมเพอราโทรินไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยกรดอะราชิโดนิกแต่สามารถชะลอการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ เมื่อกระตุ้นเกล็ดเลือดด้วยอะดีโนซีนไดฟอสเฟต โกฐสอสามารถเพิ่มระดับไซคลิกอะดีโนซีนโมโนฟอสเฟต (cAMP) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.027) แต่ไม่มีผลต่อระดับทรอมโบเซนบีสอง (TxB2) โดยสรุปฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสารสกัดโกฐสอและอิมเพอราโทรินอย่างน้อยที่สุดน่าจะเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณผ่านวิถีอะดีนิเลต ไซเคลส – ไซคลิกอะดีโนซีนโมโนฟอสเฟต
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmacology (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53325
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.323
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.323
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prinyaporn Pradmetheekul.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.