Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ อินทรานนท์-
dc.contributor.authorไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2008-01-07T12:40:15Z-
dc.date.available2008-01-07T12:40:15Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743327169-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5335-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractศึกษาหาผลกระทบของน้ำหนักของกระสอบข้าวสาร และความสูงในการนำกระสอบข้าวสารลงจากบ่า เปรียบเทียบผลที่ได้จากการคำนวณทางชีวกลศาสตร์ในภาวะสถิตกับภาวะพลวัต โดยมีวัตถุหลักคือ การหาแบบจำลองพยากรณ์น้ำหนักสูงสุด ที่ปลอดภัยสำหรับงานแบกกระสอบข้าวสาร ใช้เกณฑ์ทางชีวกลศาสตร์ภาวะพลวัตในรูปแบบ 2 มิติ ซึ่งจะศึกษาการทำงานในแนวระนาบหน้า-หลัง (Sagittal Plane) กับผู้ถูกทดลองเพศชายจำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาชีพแบกกระสอบข้าวสาร มีระดับปัจจัยที่ศึกษาคือ น้ำหนักของกระสอบข้าวสาร 25 กก. 55 กก. 100 กก. 125 กก. และความสูงในการนำกระสอบข้าวสารลงจากบ่า ที่ระดับหัวเข่าและระดับอกของผู้ถูกทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยน้ำหนักของกระสอบข้าวสารและปัจจัยระดับความสูงในการนำกระสอบข้าวสาร ลงจากบ่ามีผลกระทบต่อแรงกดอัดสูงสุดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการสร้างแบบจำลองการพยากรณ์น้ำหนักที่ปลอดภัยนั้น ถูกกำหนดโดยตัวแปร ความยาวเส้นรอบอก ความยาวรอบน่อง ค่าความแข็งแรงของร่างกาย และน้ำหนักของผู้ถูกทดสอบ โดยตัวแปรเส้นรอบอกและตัวแปรความยาวรอบน่อง มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าน้ำหนักของกระสอบข้าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าปัจจัยความแข็งแรงของร่างกายและตัวแปรน้ำหนักของผู้ถูกทดลอง มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ การเปรียบเทียบผลการหาค่าแรงกดอัด โดยใช้การคำนวณแบบภาวะสถิตกับใช้การคำนวณแบบภาวะพลวัต พบว่า การคำนวณแบบภาวะสถิตจะให้หาค่าแรงกดอัดสูงสุด มีค่าต่ำกว่าการคำนวณแบบภาวะพลวัติ ดังนั้นค่าแรงกดอัดสูงสุดที่คำนวณได้ในภาวะสถิต จึงไม่สมควรนำมาใช้แทนค่าแรงกดอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นได้ สำหรับงานแบกกระสอบข้าวสารเพราะให้ผลที่น้อยกว่าการคำนวณแบบพลวัต ผลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ นอกจากจะเป็นการพัฒนางานศึกษาทางการยศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านชีวกลศาสตร์แล้ว ยังเป็นแนวทางในการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงาน ของผู้ใช้แรงงานแบกหามเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถนำไปใช้คัดเลือกผู้ใช้แรงงานแบกหามกระสอบข้าวสาร รวมทั้งเป็นงานวิจัยนำร่องเพื่อนำไปพัฒนาแบบจำลอง ที่สามารถใช้ได้กับกลุ่มประชากรทั่วไป ซึ่งสามารถที่จะนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย หรือการออกกฎหมายแรงงานต่อไปen
dc.description.abstractalternativeTo construct a forecasting model of safe weight for rice-bag-carrying task by using Biomechanic Dynamic model. The 10 male rice-bag-carriers were tested in the sagittal plane. The tested factors are the weight of rice-bag at 25, 55, 100 and 125 kg. and the height of dropping rice-bags at shoulder-to-knee and shoulder-to-chest levels. The results show that the weight of rice-bags and the height of dropping rice-bags have a significant impact on the backbone. A predictive model was developed to determine safe carrying weight from the circumference of chest, the circumference of calf, the strength factor and the body weight. The first two factors are positively related to the weight of rice-bag while the latter two factors are negatively related. In comparing the compressive force on the backbone base on both the static and the dynamic calculations, it was found that the former gave lower maximum compressive force than the latter one. So the result from static calculation is not suitable for representing actual compressive force. This thesis is not only to develop ergonomic study especially in biomechanics, but also to be a guideline for designing the work environment for labourers in order to prevent accident. Moreover this is a pilot research. To be further developed in order for the model to be used with the general population. The result may be used for the authorities to establish policies or to enact labour lawen
dc.format.extent6572900 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อen
dc.subjectชีวกลศาสตร์en
dc.titleแบบจำลองทางชีวกลศาสตร์เพื่อทำนายน้ำหนักที่ปลอดภัย ในการแบกกระสอบข้าวสารen
dc.title.alternativeA biomechanical model to predict safe weight for rice-bag-carrying tasken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phairoat.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.