Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53434
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorทศพร กรกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-07T12:24:36Z-
dc.date.available2017-10-07T12:24:36Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53434-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของการสร้างความน่าสะพรึงกลัวในหนังผีอเมริกัน เกาหลี และไทย โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตัวบท จากแผ่นวีดีทัศน์ของหนังผีทั้งสิ้น 50 เรื่อง ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไทยในช่วงปี 2542 – 2551 แบ่งออกเป็น หนังผีอเมริกันจำนวน 20 เรื่อง หนังผีเกาหลีจำนวน 10 เรื่อง และหนังผีไทยจำนวน 20 เรื่อง รวมถึงรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ผลิตหนังผี ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความน่าสะพรึงกลัวในหนังผีอเมริกัน เกาหลี และไทยนั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ตัวละครผี ตัวละครผีอเมริกันมักเป็นผีที่เชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องการต่อต้านพระคริสต์ ส่วนตัวละครผีเกาหลีมักเป็นผีหญิงสาวที่ได้รับอิทธิพลจากผีญี่ปุ่น และตัวละครผีไทยมีทั้งแบบที่เป็นผีไทยดั้งเดิมแต่ถูกรื้อถอนความหมายและตีความใหม่กับผีที่รับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่นเข้ามาผสมผสาน 2) รหัส แบ่งออกเป็น รหัสทั่วไป และรหัสทางวัฒนธรรม ซึ่งมักเป็นรหัสที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม มุมมอง ตลอดจนวิถีชีวิต และ 3) ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง ซึ่งตัวละครผีและรหัสนั้นมีความแตกต่างกันในหนังผีทั้ง 3 สัญชาติ แต่ความสัมพันธ์ของภาพและเสียงไม่มีข้อจำกัดทางวัฒนธรรมมากนัก เนื่องจากภาพและเสียงจัดเป็นภาษาสากล นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าการสร้างความน่าสะพรึงกลัวในหนังผีอเมริกัน เกาหลี และไทยนั้น มีเทคนิควิธีการที่คล้ายคลึงกัน 3 วิธี ได้แก่ 1) การปกปิด โดยการใช้โครงเรื่องแบบสืบสวนสอบสวนเพื่อปกปิดความลับหรือข้อเท็จจริงเอาไว้ไม่ให้คนดูทราบ จากนั้นจึงค่อยคลี่คลายหรือเฉลยในภายหลัง 2) การลวง คือการทำให้ผู้ชมเกิดความสับสนหรือคาดไม่ถึง แบ่งออกเป็นการลวงให้เข้าใจตัวละครผิดพลาด และลวงให้เข้าใจเหตุการณ์ผิดพลาด และ 3) การทำให้สมจริง เป็นการปลุกเร้าประสาทสัมผัสของคนดูเพื่อให้มีความรู้สึกร่วมไปกับหนัง โดยการใช้มุมมองการเล่าเรื่องทั้ง 3 แบบ ได้แก่ มุมมองแบบบุรุษพจน์ที่ 1 มุมมองแบบบุรุษพจน์ที่ 3 และมุมมองแบบรู้รอบด้านen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims at analyzing and comparing the horrification in American, Korean and Thai Ghost Films. Qualitative research methods and textual analysis techniques are employed. Data comprises 50 ghost film DVDs or VCDs projected in Thai cinema between 1999 and 2008. In-depth interviewing techniques are also used to collect data from film makers. Results show three main components of the horrification process: 1) ghost characters; 2) codes; 3) image and sound. American ghost characters usually relate to counter-Christian belief, and Korean ghost characters are influenced by the Japanese genre. While, the portrayal of Thai ghosts possesses two clusters of character: 1) the conventional which is deconstructed and reinterpreted in terms of ghost meaning; and 2) the intercultural. Codes are divided into two groups: 1) the general and; 2) the cultural; relating to religion, beliefs, values, outlooks and lifestyles. Ghost characters and codes are differentiate by the nationality. However image and sound are likely to be resembling and cultural unbinding. Moreover, research result also reveals the common horrification techniques including 1) concealing, using investigative plot to conceal some facts or truths to the audiences then disclose at the end; 2) deceiving, alluring audiences to make frightening emotion; 3) realistic simulation, arousing audience's sensory perception.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.857-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาพยนตร์สยองขวัญ -- ไทยen_US
dc.subjectภาพยนตร์สยองขวัญ -- เกาหลีen_US
dc.subjectภาพยนตร์สยองขวัญ -- สหรัฐอเมริกาen_US
dc.subjectHorror films -- Thailanden_US
dc.subjectHorror films -- Koreaen_US
dc.subjectHorror films -- Unites Statesen_US
dc.titleการสร้างความน่าสะพรึงกลัวใน "หนังผี" อเมริกัน เกาหลี และไทยen_US
dc.title.alternativeHorrification in American, Korean and Thai ghost filmsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKitti.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.857-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
todsaporn_go_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch1.pdf884.97 kBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch2.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch4.pdf16.81 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch5.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch6.pdf17.84 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch7.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_ch8.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
todsaporn_go_back.pdf574.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.