Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53563
Title: การแปลความหมายทางธรณีโครงสร้างและการลำดับชั้นหินจากคลื่นไหวสะเทือน บริเวณแอ่งทารานากิ ประเทศนิวซีแลนด์
Other Titles: Structural and seismic stratigraphy interpretation in Taranaki basin, New Zealand
Authors: นพณัฐ บางนิ่มน้อย
Advisors: ปิยพงษ์ เชนร้าย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: piyaphong_c@hotmail.com
Subjects: ธรณีวิทยาโครงสร้าง
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- นิวซีแลนด์
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- นิวซีแลนด์ -- ทารานากิ
การลำดับชั้นหิน (ธรณีวิทยา)
คลื่นไหวสะเทือน
Geology, Structural
Geology, Structural -- New Zealand
Geology, Structural -- New Zealand -- Taranaki
Geology, Stratigraphic
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แอ่งสะสมตะกอนทารานากิตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของเกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ ครอบคลุมพื้นที่นอกชายฝั่งทั้งหมดประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีชั้นหินสะสมตัวหนาสูงสุดถึง 8 กิโลเมตร และมีธรณีโครงสร้างภายในแอ่งที่มีความซับซ้อน โดยการศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน และข้อมูลหลุมเจาะ เพื่อทำการวิเคราะห์และจำแนกลักษณะธรณีโครงสร้างที่แตกต่างกัน และการลำดับชั้นหินในช่วงอายุต่างๆ ซึ่งในการศึกษานี้พบว่าสามารถจำแนกบริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือของแอ่ง ทารานากิ ที่มีลักษณะทางธรณีโครงสร้างที่แตกต่างกันได้เป็น 4 บริเวณ คือ Western Stable Zone โดยเป็นบริเวณทางทิศตะวันตกสุดของพื้นที่ศึกษาที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากธรณีแปรสัณฐานทำให้ไม่พบความหลายหลายของธรณีโครงสร้าง และ Cape Egmont Fault Zone ทางตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มของรอยเลื่อนหลักที่มีแนวในการเอียงเทไปทางทิศตะวันออกโดยมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย planar normal fault, listric normal fault, normal fault related fold และ horst and graben และถัดมาคือ Turi Fault Zone บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีทั้งธรณีโครงสร้างชนิดขยายตัวและบีบตัวอยู่ด้วยกัน ซึ่งมี planar normal fault เป็นรอยเลื่อนหลักที่เอียงเทไปในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับพวก rollover structure และบริเวณสุดท้ายคือ Northern Rotational Fault Zone ที่มีการกระจายตัวของโครงสร้างชนิด domino style fault เป็นหลัก โดยมีการลำดับชั้นหินในพื้นที่ ทั้งหมด 5 ช่วงอายุ คือช่วงครีเทเชียสตอนปลาย ที่มีการสะสมตัวของหินทรายและถ่านหินเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นในช่วง พาลีโอซีนถึงอีโอซีน พบว่ามีการสะสมตัวของหินโคลน เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับมีการลดลงของหินทราย หลังจากนั้นในสมัยโอลิโกซีน พบว่ามีการสะสมตัวของหินปูน ร่วมกับหินโคลน ที่มีองค์ประกอบเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ต่อมาในสมัยไมโอซีนพบว่ามีการสะสมตัวของ ชั้นหินทรายแทรกสลับกับชั้นหินโคลน ในลักษณะของ Turbidite sequence พร้อมกับมีการสะสมตัวของหินจำพวกหินตะกอนภูเขาไฟ จำพวกหินเถ้าภูเขาไฟ ในสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงตอนปลายด้วย และในช่วงสุดท้ายของการสะสมตัวของตะกอนพบว่ามีการสะสมตัวของหินจำพวกหินโคลน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยไพลโอซีนจนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: Taranaki basin is located in the western offshore area of northern island New Zealand. The basin area covers 100,000 square kilometers with maximum depth of sedimentary rocks of 8 kilometers. The basin has complex structural geology because of deformation in tectonic activity. This study used seismic and well log data to analyze and classify the difference of structural geology and stratigraphy. This study area can be divided into 4 different structural zones which consist of Western Stable Zone, Cape Egmont Fault Zone, Turi Fault Zone and Northern Rotational Fault Zone. Western Stable Zone is located in the western part of study area that has little to no tectonic activity and no complex structural geology. Cape Egmont Fault Zone is the area in the center of study area that is composed of group of main faults that have dip direction in the east. This zone has planar normal fault, listric normal fault, normal fault related fold and horst and graben. Turi Fault Zone is in the east-west area of north Taranaki basin and has rollover structures and main planar normal faults that dip into north-west direction. The last zone is Northern Rotational Fault Zone dominated with domino style normal faults. The stratigraphy of North Taranaki Basin consists of 4 depositional ages. There are mostly sandstone and coal deposit in late Cretaceous. And mudstone is increased and sandstone is decreased in deposition from Paleocene to Eocene, and then, there are limestone and calcareous mudstone dominated in Oligocene. During Miocene, there is sandstone interbedded with mudstone within the turbidite sequence and volcanic clastic rocks such as tuff. The last phrase of deposition, there is mudstone deposited continually from Pliocene to present.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53563
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppanut Bangnimnoi.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.