Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53614
Title: ลักษณะทางกายภาพการสะสมตัวตะกอนจากพายุบริเวณ อ่าวพนังตัก จังหวัดชุมพร
Other Titles: Physical characteristics of storm deposits at Panangtak bay, Changwat Chumphorn
Authors: ดวงเดือน กองศรี
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
Subjects: ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย -- ชุมพร
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- ชุมพร
Geomorphology -- Thailand -- Chumphorn
Sediments (Geology) -- Thailand -- Chumphorn
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริเวณอ่าวพนังตัก จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่หนึ่งที่เคยได้รับผลกระทบจากพายุซัดท่วมฝั่งหลายครั้งด้วยกัน เป็นที่มาของสมมติฐานของโครงการที่ว่า การท่วมขึ้นมาของน้ำทะเลจากพายุนั้นอาจจะทิ้งร่อยรอยทางตะกอนวิทยาเอาไว้บนฝั่ง โดยในการศึกษานี้ได้วิเคราะห์ลักษณะของตะกอนทรายที่เกิดจากการสะสมตัวในบริเวณที่โล่งและลุ่มต่ำหลังแนวสันทราย โดยใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศวิเคราะห์สภาพธรณีสัณฐานในการเลือกพื้นที่ที่น่าจะเหมาะสมในการรักษาสภาพชั้นตะกอนทรายที่เกิดจากพายุพัดพามาสะสมตัว เพื่อวิเคราะห์ว่าชั้นตะกอนทรายที่สะสมตัวผิดปกติมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากพายุในอดีต โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของชั้นการสะสมตัวของตะกอนที่ผิดปกติและศึกษาลักษณะของสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการรักษาสภาพของชั้นตะกอนที่เกิดจากพายุ โดยการเก็บตัวอย่างในภาคสนามนั้นใช้เครื่องเจาะแบบมือหมุน (hand auger) เจาะสำรวจชั้นตะกอนตามแนวสำรวจ จำนวน 6 หลุม ความลึกเฉลี่ยหลุมละประมาณ 2 เมตร ตัวอย่างตะกอนทรายได้นำมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ขนาดตะกอนและองค์ประกอบของตะกอน ผลการวิเคราะห์พบว่า ตะกอนทรายที่ได้มีขนาดตั้งแต่ทรายละเอียดมาก ถึงขนาดปานกลาง ชั้นตะกอนทรายมีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 26 ซม พบรอยต่อระหว่างชั้นโคลนกับชั้นทรายชัดเจน (sharp contact) ความหนาของชั้นการสะสมตัวทรายและขนาดตะกอนลดลงเมื่อไกลจากชายฝั่ง การคัดขนาดจากเล็กไปใหญ่จากบนลงล่าง (normal grading) พบซากชีวิตจาพวกหอยอยู่ในชั้นโคลนและชั้นทราย จากการลำดับชั้นตะกอนทั้ง 6 หลุมสำรวจพบว่า ในแต่ละหลุมสำรวจมีจำนวนชั้นของทราย 6 ถึง 7 ชั้น มีความหนาของแต่ละชั้นไม่เท่ากันและชั้นทรายที่หนาที่สุดอยู่ที่ความลึก 113 ถึง 139 ซม ทรายมีขนาดละเอียดถึงปานกลาง จากสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ที่เหมาะสมกับการรักษาสภาพตะกอนพายุซัดท่วมขึ้นฝั่งที่สามารถนำตะกอนทรายมาสะสมตัวแทรกสลับกับดินโคลนที่บ่งชี้สภาพแวดล้อมที่น้ำนิ่งและไม่มีคลื่นลมจากทะเลมารบกวน และผลวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของตะกอนทราย สามารถสรุปได้ว่า ชั้นตะกอนทรายที่มีการสะสมตัวผิดปกติดังกล่าว ณ บริเวณพื้นที่ศึกษานั้นมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากการสะสมตัวของพายุในอดีตหลายครั้งโดยรูปแบบการสะสมตัวอาจจะเป็นไปได้ทั้งในรูปชั้นทรายแผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ (Sand sheet)
Other Abstract: Panangtak bay, Changwat Chumphorn has been hit by several typhoons in the past decades. This area is located in storm pathways. This project is hypothesized based on geomorphology of the area that storm surges may be one significant transporting agent to bring sediment to deposit onshore. The objectives of this study were to analyze the characteristic of possible storm sand sheets deposited intervening muddy layers. The samples of sediment were collected by hand auger from 6 localities with average 2 meters depth from surface. Physical characteristics of sand sheets were analyzed including grain size distribution, sorting, composition and stratigraphy. As a result, the sand sheets contain very fine to medium grained sand. In average from 6 wells, 6 to 7 candidate layers of storm sand sheets with thickness ranging from 1 to 26 cm were recognized. The thickest sand sheet detected from each well was found at depth 113 to 139 cm and is mainly composed of fine to medium sand. The thickness and grain size of those sand sheets showed landward thinning and fining. Normal grading is common. Complete shells and fragments were also found in mud layers All those characteristics mentioned led to the preliminary conclusion that sand sheets found in this study area were possibly formed by several storm events. The majority of mud deposit in dry swale indicates long-term deposition of calm environment where sand sheets can be used to indicate unusual deposited possibly by high energy flow like storm.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53614
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangduan_full report.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.