Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5403
Title: การลดสีรีแอกทีฟโดยกระบวนการเอสบีบีอาร์แบบแอนแอโรบิก-แอโรบิก
Other Titles: Decolorization of reactive dye by anaerobic-aerobic SBBR process
Authors: วรญา ประทุมแก้ว
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chavalit@anoxic.env.chula.edu, fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
สีย้อมและการย้อมสี
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้เป็นการทดลองลดสีรีแอกทีฟโครงสร้างโมโนเอโซด้วยกระบวนการแอนแอโรบิก-แอโรบิกเอสบีบีอาร์ โดยมีระยะเวลา 1 รอบการทำงาน 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกการทดลอง (ระยะเวลาในการเติมน้ำและถ่ายน้ำเท่ากับ 1 ชั่วโมง) เวลากักน้ำ 1.1 วัน ระยะเอสบีบีอาร์มีการทำงานเหมือนระบบเอสบีอาร์ แต่มีการเติมวัสดุตัวกลางลงไป โดยได้เติมวัสดุตัวกลางที่เป็นพลาสติกชนิดโพลิโพรไพลีนที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลวงลงไป 1.5 ลิตร น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ ปริมาตร 4.5 ลิตร โดยใช้น้ำตาลเป็นสารอาหารปฐมภูมิ (เป็นแหล่งพลังงานและคาร์บอน) ที่เป็นอัตราส่วนกับสีที่อัตราส่วนต่างๆ ในหน่วย มก./ล.ซีโอดี ประกอบด้วยทั้งหมด 3 การทดลอง รวม 9 ชุดการทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของระยะเวลากักแอนแอโรบิก ที่ 10, 14 และ 18 ชั่วโมง (ระยะเวลากักแอโรบิกเป็น 13, 9 และ 5 ชั่วโมง ตามลำดับ) ที่เวลากักแอนแอโรบิกมากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการลดสีมากขึ้นเท่ากับ 49.90%, 58.55% และ 68.65% ในหน่วยเอสยู และเท่ากับ 55.03%, 65.26% และ 78.45% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 94.60%, 94.46% และ 94.28% และประสิทธิภาพในการกำจัดทีเคเอ็นเท่ากับ 92.38%, 86.51% และ 71.06% ตามลำดับ โดยที่เวลากักแอโรบิกที่มากกว่าประสิทธิภาพการกำจัดทีเคเอ็นก็จะมากขึ้น ในการทดลองที่ 2 ศึกาษผลของอัตราส่วนสีต่อน้ำตาลที่อัตราส่วน 1:0, 1:10, 1:15, 1:20 และ 1:30 ประสิทธิภาพการลดสีจะมากขึ้นเมื่อมีการเติมน้ำตาลมากขึ้น คือเท่ากับ 0.44%, 37.51%, 60.14%, 68.65% และ 74.29% ในหน่วยเอสยูและเท่ากับ 0.82%, 42.46%, 65.32%, 78.45% และ 84.92๔ ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 1.66%, 90.90%, 92.76%, 94.28% และ 94.80% ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดทีเคเอ็นเท่ากับ 3.55%, 83.05%, 79.65%, 71.06% และ 67.98% ตามลำดับ ในการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของจำนวนเท่าการหมุนเวียนน้ำเพื่อการผสมที่ 60, 100 และ 140 เท่า พบว่าประสิทธิภาพการลดสี ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี และทีเคเอ็นไม่แตกต่างกันมากนัก คือประสิทธิภาพการลดสีเท่ากับ 73.09%, 74.66% และ 74.29% ในหน่วยเอสยู และ 82.44%, 84.92% และ 86.97% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีและทีเคเอ็นเท่ากับ 94.76%, 94.80% และ 94.82% และ 68.43%, 67.98% และ 68.23% ตามลำดับ ในการทดลองหาโพรไฟล์การลดสีพบว่าสีจะลดลงอย่างรวดเร็วที่ 2 ชั่วโมงแรกและเมื่อน้ำตาลซึ่งเป็นสารอาหารปฐมภูมิย่อยหมดการลดลงของสีเป็นไปได้ช้า และจากการหาอัตราการลดสีและอัตราการลดสีจำเพาะที่อันดับปฏิกิริยาครึ่งอันดับของช่วงเริ่มต้นที่ 2 ชั่วโมงแรก พบว่ามีแนวโน้มเดียวกับประสิทธิภาพการลดสี และจากการหาเอ็มแอลเอสเอส และเอ็มแอลวีเอสเอสที่แขวนลอยในน้ำเหนือวัสดุตัวกลางมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลแบคทีเรียที่เกาะที่วัสดุตัวกลาง และเมื่อมวลที่เกาะที่วัสดุตัวกลางจะมีมากขึ้นเมื่อมีการเติมน้ำตาลมากขึ้น
Other Abstract: This research for decolorization of monoazo dye by an anaerobic-aerobic SBBR. The cycle time was 24 hrs. in every part. (fill time and draw time were 1 hrs.) Hydraulic retention time was 1.1 day. The process of SBBR process is the same SBR process but in the SBBR process was filled with media in the reactor. In this study used hollow pellet poly propyrene media, used 1.5L per one reactor, and was fed with synthetic wastewater which was composed monoazo reactive dre and sugar. This research had 3 reactors and 3 experiments. The first experiment, to study effects of anaerobic retention time was 10, 14 and 18 hrs. (aerobic retention time were 13, 9 and 5 hrs.) The longer anaerobic retention time had the higher decolorization efficiency. The decolorization efficiencies were 49.90%, 58.55% and 68.65% in SU unit and 55.03%, 65.26% and 78.45% in ADMI unit. The COD removal efficiencies were 94.60%, 94.46% and 94.28% and the TKN removal efficiencies were 92.38%, 86.51% and 71.06%. The longer aerobic retention time than the high TKN removal efficiency. The second experiment, to study the effects of dye and sugar ratio were 1:0, 1:10, 1:15, 1:20 and 1:30. The higher quantity of sugar used had the higer decolorization efficiency. The decolorization effiencies were 0.44%, 37.51%, 60.14%, 68.65% and 74.29% in SU unit and 0.82%, 42.46%, 65.32%, 78.45% and 84.92% in ADMI unit. The COD removal efficiencies were 1.66%, 90.90%, 92.76%, 94.28% and 94.80% respectively. The TKN removal efficiencies were 3.55%, 83.05%, 79.65%, 71.06% and 67.98% respectively. Studying the effects of recirculation rate in the third experiment were 60, 100 and 140 time. The efficiencies of COD removal ; TKN removal and the efficiencies of the decolorization were the same value. The decolorization efficiencies were 73.09%, 74.66% and 74.29% in SU unit and 82.44%, 84.29% and 86.97% in ADMI unit. The COD removal and TKN removal efficiencies were 94.76%, 94.80% and 94.82 and 68.43%, 67.98% and 68.23%. In the profile study, appeared fastest decolotization rate in the initial 2 hours and when the sugar was out of in the process then it appeared slow decolorization rate. In calculation of decolorization rate and specific decolorization rate in half order it had the same trend of the efficiencies of decolorization. MLSS and MLVSS in the water above the media had less than the mass of bacteria which attached at the madia. The mass of bacteria which attached at media got more when more sugar was used.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5403
ISBN: 9743470654
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woraya.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.