Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5411
Title: การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส
Other Titles: Economic analysis on improvement of pepper varieties for virus resistance
Authors: กุลภรณ์ อันนานนท์
Advisors: ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Siripen.S@chula.ac.th
Subjects: พริก
พริก -- การปรับปรุงพันธุ์
พริก -- โรคและศัตรู
พืช -- ความต้านทานไวรัส
โรคพืช
อุตสาหกรรมพริก
พริก -- แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปอุตสาหกรรมพริกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมพริกแห้งและพริกป่น อุตสาหกรรมซอสพริก และอุตสาหกรรมน้ำพริก และศึกษาถึงผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสทางด้านการผลิตและการบริโภคภายใต้กรอบแนวคิดและข้อสมมติ การศึกษาสภาพทั่วไปอุตสาหกรรมพริกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ทำการวิเคราะห์สมการอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ซึ่งพบว่าความต้องการพริกในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากความต้องการบริโภคโดยตรงและความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาผลกระทบจากการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสทางด้านการผลิต พบว่า การปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสจะทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของเกษตรลดลง ขณะที่ผลิตภาพซึ่งได้จากการวิเคราะห์สมการการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบทางด้านการบริโภคหรือการใช้พริกได้จำแนกการศึกษาเป็น 2 แนวทาง คือ กรณีที่ไม่มีกระแสการต่อต้านสินค้าดัดแปลงหรือตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกี่ยวกับกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs ผลการศึกษาในแนวทางแรกพบว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะมีต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งอุตสาหกรรมพริกแห้งจะได้รับประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถลดปริมาณการนำเข้าพริกแห้งได้บางส่วน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังตลาดบางแห่งได้ อาทิเช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์สำหรับพริกสด สหรัฐอเมริกาสำหรับซอสพริก โดยใช้กลยุทธ์ทางราคา และการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสเป็นทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่ความต้องการในอนาคต ส่วนผลการศึกษาในแนวทางที่ 2 ที่ทำการพิจารณาความต้องการบริโภคสินค้า GMOs ของผู้บริโภคในประเทศและประเทศคู่ค้าที่สำคัญในแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า สินค้าที่ใช้พริกที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยไม่ใช้เทคนิคการถ่ายยีน (non-GMOs) จะไม่ได้รับการคัดค้าน ขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้าที่ใช้พริกที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคนิคการถ่ายยีน (GMOs) ของผู้บริโภคในประเทศยังไม่ชัดเจน ส่วนผู้บริโภคในต่างประเทศนั้น ไทยจะหมดโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ การศึกษานี้มิได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค นอกจากนั้นผลการศึกษานี้อยู่บนพื้นฐานของการประมาณการ และใช้ข้อมูลจากพริกพันธุ์เก่าภายใต้ข้อสมมติจำนวนมาก ฉะนั้นหากจะนำผลการศึกษานี้ไปปรับใช้จึงต้องพิจารณาปรับใช้อย่างเหมาะสมและใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
Other Abstract: The objectives of this study are to give the overview of pepper industry and related industries; dried and powder chilli, chilli sauce, and instant curry, and to analyze the economic effect on improvement of pepper varieties for virus resistance both in production and consumption under some conceptual framework and assumptions. Both qualitative and quantitative tools are brought to analyze the overview. While the quantitative is serviced for demand analysis in those products. It is found that pepper demand is on the rising trend from direct consumption and industrial purpose. In the section of effect on improvement of pepper varieties for virus resistance in production, the technology can help farmers to reduce the average cost while their productivity in production, from the production function, would be lifted. For the consumption side, the analysis is separated into 2 cases, the first case is no anti-GMOs group and the second one is the present case that there is anti-GMOs group. In the first case, the cost of related industries will be reduced and dried pepper industry is the user who gets most benefit. Moreover, Thailand will be able to reduce some imports of dried chilli and to increase exports to some markets such as Netherlands for fresh pepper and USA for chilli sauce by the price strategy. The improvement of pepper varieties for virus resistance is an alternative to increase for fulfilling the future demand. For the result of the second case which considered in demand for GMOs product both in domestic consumer and major trading partners, it is found that non-GMOs products will not be opposed. While domestic demand for GMOs products is not clear, but for abroad Thailand will lose Netherlands and England markets. This study does not cover some other effects such as environment, health and sanitary for consumer. Moreover, not only many assumptions but also some estimates from non-improved peper data are taken to use in study. It is valuable to note that careful consideration and appropriate use should be borne in mind before taking the results in use
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5411
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.390
ISBN: 9743469648
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.390
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kullaporn.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.