Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5466
Title: การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยใช้กระบวนการกรองที่มีเศษคอนกรีตเป็นสารกรอง
Other Titles: Improvement of effluent from domestic wastewater treatment plant using filtration concrete rubbish media
Authors: พูนศิริ สินธุรัตน์
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง
เศษคอนกรีต
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการกรองที่ใช้เศษคอนกรีตมาใช้เป็นสารกรองเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งชุมชนที่ผ่านการบำบัดขั้นที่ 2 มาแล้วจากอาคารวิทยกิตติ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ถังกรองบรรจุเศษคอนกรีตเพื่อป้อนน้ำเสียแบบไหลลงซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ 0.044 ม. ความสูงของคอลัมน์ 2.5 ม. โดยกำหนดตัวแปร ได้แก่ ขนาดของเศษคอนกรีต (0.4-0.6 มม., 0.7-1.2 มม. และ 1.6-2.0 มม.) อัตราการไหลของน้ำ (1, 5 และ 10 ลบ.ม./ตร.ม.-ชม.) และระดับความลึกของชั้นสารกรอง (0.5, 1.0 และ 1.5 ม.) ประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) พิจารณาจากค่าดัชนีคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงในรูปของสภาพความเป็นกรดด่าง ของแข็งแขวนลอย ซีโอดี แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนโตรเจนทั้งหมด ไนเตรต-ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสทั้งหมด จากผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) ที่เหมาะสมที่สุด โดยทำการทดสอบทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อใช้เศษคอนกรีตขนาด 1.6-2.0 มม. อัตราการไหลของน้ำ 5 ลบ.ม./ตร.ม.-ชม. และระดับความลึกของชั้นเศษคอนกรีต 1.5 ม. ปริมาตรน้ำที่กรองได้ 46.8 ลิตร ที่เวลาเดินระบบ 6 ชั่วโมง โดยความเป็นกรดด่างของน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการกรองเท่ากับ 8.4 และสามารถลดค่าของแข็งแขวนลอย ซีโอดี แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนโตรเจนทั้งหมด ไนเตรต-ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสทั้งหมดได้เฉลี่ยร้อยละ 89.3, 46.8, 24.2, 22.7, 49.4 และ 53.6 ตามลำดับ ดังนั้น เศษคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้และหาได้ง่ายในท้องถิ่นสามารถใช้กำจัดสารอินทรีย์และสารอาหารในน้ำทิ้งชุมชนมีความเป็นไปได้สูงสำหรับนำมากำจัดไนเตรต-ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมด
Other Abstract: Concrete rubbish was used as a media filter in order to treat the efficient of domestic wastewater from Vittayakit Building of Chulalongkorn University. The column test was used in this study by using column of 0.044m. diameter and 2.5 m.height. Three important parameters were the size of concrete rubbish (0.4-0.6 mm., 0.7-1.2 mm. and 1.6-2.0 mm.), the flow rate of influent (1, 5 and 10 m3/m2-hr.) and the depth of concrete filter (0.5, 1.0 and 1.5 m.) respectively. The treatment efficiency of domestic wastewater was determined by the percent removal in terms of pH, Suspended Solid (SS), Chemical Oxygen Demand (COD), Ammonia-Nitrogen (NH3-N), Total Nitrogen (TN), Nitrate-Nitrogen (NO3-N) and Total Phosphorus (TP). The results showed that efficiency removal significant at p>0.05 was size of 1.6-2.0 mm., flow rate 5 m3/m2-hr., depth 1.50 m. and filtrate volume 46.8 l. at 6 hrs.. The pH of effluent was 8.4 and the other parameters as; SS, COD, NH3-N, TN, NO3-N and TP were reduced at the average of 89.3, 46.8, 24.2, 22.7, 49.4 and 53.6 respectively. This study indicated that concrete rubbish can use as filtration media for the effluent of domestic wastewater treatment especially for NO3-N and TP removal.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5466
ISBN: 9743465847
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonsiri.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.