Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54867
Title: | การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ต้นข้าวแห่งอัมพวา |
Other Titles: | THE MUSIC OF RICE IN AMPHAWA |
Authors: | กฤษณพงศ์ ทัศนบรรจง |
Advisors: | พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornprapit.P@Chula.ac.th,rosita_rosalina@hotmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ต้นข้าวแห่งอัมพวา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงของจังหวัดสมุทรสงครามและ ภูมิปัญญาของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ต้นข้าวแห่งอัมพวา และเพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ ชุด “ต้นข้าวแห่งอัมพวา” โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลเอกสาร สังเกต ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางคศิลป์ไทย นักดนตรีไทยจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งชาวนาในอำเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานตามแบบแผน ดุริยางคศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงครามเล็กที่สุดในประเทศไทย แต่ธำรงไว้ซึ่งรากฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม อัมพวาเป็นแหล่งกำเนิดศิลปิน เป็นแหล่งเพาะปลูกผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทำนากุ้ง นาเกลือและนาข้าว อำเภออัมพวาเป็นเพียงอำเภอเดียวในสามอำเภอของจังหวัดที่ใช้พื้นที่ทำนาเท่านั้นคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ทั้งนี้พันธุ์ข้าวที่เพาะปลูกมีหลากหลาย ต้นข้าวที่ให้ผลผลิตได้ต้องเอาชนะอุปสรรคตามธรรมชาติในการเจริญเติบโต บทเพลงมี 3 ตอน บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็งทั้งหมด ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูลทางในเป็นหลัก ตอนที่ 1 บูชาพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพของเกษตรกรอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตอนที่ 2 บรรยายวัฒนธรรมข้าวของชาวนาในอำเภออัมพวา ตอนที่ 3 เฉลิมฉลองความสำเร็จและการร่วมแรงร่วมใจของเกษตรกร การเรียบเรียงหน้าทับตะโพนสำหรับเพลงบูชาในตอนที่ 1 หน้าทับกลองแขกปรบไก่ 6 ชั้น สำหรับบรรเลงในตอนที่ 2 และหน้าทับกลองแขกและโทนสำหรับการบรรเลงในตอนที่ 3 เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ไทยและภูมิปัญญาของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บทประพันธ์อาศัยเพลงต้นรากซึ่งประพันธ์โดยบรมครูของจังหวัดสมุทรสงคราม อีกทั้งได้ทำการรื้อฟื้นเพลงพวงมาลัยที่สูญหายไปจากอำเภออัมพวาแล้วนำลูกตกมาประพันธ์ทำนองเพื่อรักษาบทเพลงของท้องถิ่นไว้ในบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ |
Other Abstract: | The aim of the research "The Music of Rice in Amphawa" is to study contexts of rice culture and performing arts of Samut Songkhram province. It is also aimed to study the local wisdom of rice farming in Amphawa district, Samut Songkhram in order to compile an inspiration and information for a Thai music composition "The Music of Rice in Amphawa". By composing the piece entitled "Rice of Amphawa," this investigation is conducted on the basis of qualitative research method including documentation, observations, and interviews with musical experts, Thai musicians in Samut Songkhram, and rice farmers in Amphawa district of Samut Songkhram. The research findings revealed that Samut Songkhram, in terms of land size, is the smallest province in Thailand; however, it remains the center of Thai arts and cultural heritage. Amphawa is renowned for the source of artists, fruitful land, and also black tiger prawns and rice farming. Amphawa is the only one of three districts that has paddy farming area as 0.5 percent of all areas in the province. In addition, there are a lot of rice strains, which offer main supplies of food productivity to Bangkok. The composition in this study contains three sections and it is designed to be played by a Piphat ensemble in Thang Nai mode. The first section is intended to worship Mother Earth, Goddess of Water, and Goddess of Rice by farmers in Amphawa, Samut Songkhram province. The second section describes the farmers' tradition related to the rice. The third section celebrates success of rice produces and harmony of nature in Amphawa. Rhythmic patterns of Two-faced drums (Taphon) is selected for ritual music in the first part. Rhythmic patterns of double-headed drums (Klong-Khaek) in hok chan for the second part is newly composed. The rhythmic patterns of Klong-Khaek and drums (Tone) in the third part are the integration of Thai music knowledge and indigenous songs of farmers in Amphawa, Samut Songkhram province. The traditional principle of employing root melodies is employed. The root melodies orginated in the compositions by ancient music masters in Samut Songkhram as well as a revival of Paungmalai song which has already vanished from Amphawa. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54867 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1104 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1104 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486802035.pdf | 8.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.