Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54907
Title: การประเมินผลกระทบด้านภาวะโหลดเกินของหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีการอัดประจุสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 1 เฟส
Other Titles: ASSESSMENT OF TRANSFORMER OVERLOADING IN LOW VOLTAGE DISTRIBUTION SYSTEM WITH SINGLE-PHASE ELECTRIC VEHICLE CHARGING
Authors: ศุภณัฐ สถาวร
Advisors: แนบบุญ หุนเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naebboon.H@Chula.ac.th,naebboon@gmail.com,naebboon@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่อยู่อาศัย อาจส่งผลให้เกิดภาวะโหลดเกินในหม้อแปลงจำหน่ายไฟฟ้า เนื่องจากพฤติกรรมการอัดประจุของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาผลกระทบของการอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านต่อการเกิดภาวะโหลดเกินในหม้อแปลงจำหน่ายไฟฟ้า โดยพิจารณาปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้งานรถยนต์ ปริมาณรถยนต์ไฟฟ้า และสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้า การศึกษาและประเมินผลกระทบได้ทดลองบนระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนจำนวน 57 ครัวเรือน ผลการศึกษาบอกได้ว่าเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในระบบทดสอบเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครัวเรือน จะส่งผลให้ดรรชนีด้านระยะเวลาเฉลี่ยที่หม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในภาวะโหลดเกิน มีค่าเกินกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่การไฟฟ้าหรือผู้ดูแลระบบไฟฟ้าจะยอมรับได้ และหากสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าลดลง ยังทำให้ดรรชนีด้านระยะเวลาเฉลี่ยที่หม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในภาวะโหลดเกินมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงถึงอัตราความสำเร็จในการอัดประจุ พบว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าที่อัดประจุไม่สำเร็จอยู่สูงสุดไม่เกินร้อยละ 7 ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าและพฤติกรรมการใช้งานรถยนต์ อย่างไรก็ตามการปรับพฤติกรรมการใช้รถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงที่มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดของระบบจำหน่าย จะส่งผลให้ดรรชนีด้านระยะเวลาเฉลี่ยที่หม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในภาวะโหลดเกินลดลงมาน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน จากผลการทดสอบทั้งหมดผู้ดูแลระบบไฟฟ้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและจัดการในกรณีที่รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเชื่อมต่อในระบบผ่านบ้านเรือน และเตรียมการสำหรับการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเวลาที่เหมาะสม
Other Abstract: The concentration of electric vehicles (EV) in a residential area can cause distribution transformer overloading because of their charging behavior and the resulting power demand. This thesis assesses the impact of EV home charging on transformer overloading considering three critical factors, which are driving behavior, EV penetration level and EV driving performance. Test scenarios are confined by a low-voltage distribution system with residential load profiles of 57 households. Test results show that the transformer overloading indexes are unacceptable when EV penetration level reaches 75 percent. The Transformer Overloading Average Duration Index (TOADI) is more than 4 hours per day, which is an acceptable criterion based on the practical standard of the utility, and will be greater when the EV driving performance is lower. Additionally, there is no more than 7 percent of unsuccessful charge event in all tested cases, depending on the driving behavior and driving performance. Test results also show that the change in driving behavior can reduce the TOADI to be acceptable. The assessment can provide guidelines for a power utility to devise necessary monitoring and control scheme to accommodate the EV penetration, and to plan for upsizing the distribution transformer in an appropriate time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54907
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.940
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.940
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670409521.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.