Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55004
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ | - |
dc.contributor.author | กันต์ เจริญชลวานิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:22:48Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:22:48Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55004 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้พิจารณาการแก้ไขปัญหาการบริหารคลังและจัดเส้นทางการเดินรถ (Inventory Routing Problem) ที่มีรูปแบบการกระจายสินค้า 3 ลำดับขั้น (3 – Tier Inventory Routing Problem, 3 – Tier IRP) และผนวกรวมเข้ากับปัญหาที่สามารถแบ่งการขนส่งได้ (Split Delivery) ภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด (Time Window) ทั้งนี้งานวิจัยฉบับนี้แก้ปัญหาการบริหารคลังและจัดเส้นทางการเดินรถด้วยการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Time – Expanded Network Optimization Model ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักการหาคำตอบที่ดีที่สุด (Optimization Method) อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาการบริหารคลังและจัดเส้นทางการเดินรถนั้น จัดเป็นปัญหาประเภท NP – Hard กล่าวคือ เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดได้ ภายในระยะเวลาที่เป็นฟังค์ชั่นพหุนาม ดังนั้น ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นจึงใช้เวลาในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อขนาดของปัญหามีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นการสร้างแนวทางเพื่อลดเวลาในการหาคำตอบของตัวแบบทางคณิตศาสตร์นี้ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้ดำเนินงานวิจัยเสนอแนวทางการลดเวลาในการหาคำตอบจำนวน 3 แนวทางที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย แนวทางการลดจำนวนจุดในตัวแบบ, แนวทางการตัดเส้นทางที่ไม่จำเป็น และแนวทางการสร้างกรอบเวลาในการจัดส่ง ทั้งนี้การทดสอบประสิทธิภาพของแนวทางการลดเวลาในการหาคำตอบ เกิดจากการเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการหาคำตอบและคุณภาพของคำตอบของตัวแบบทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังปรับปรุงในปัญหาที่มีจำนวนผู้ประกอบการ 9, 10, 11 และ 12 จุด โดยตัวแบบที่เพิ่มแนวทางการลดเวลาในการหาคำตอบ สามารถลดเวลาที่ใช้ในการหาคำตอบลงได้ 91% โดยเฉลี่ย แลกเปลี่ยนกับคุณภาพของคำตอบที่ลดลง 2% อีกทั้งผู้ดำเนินงานวิจัยได้ใช้ตัวแบบที่เพิ่มแนวทางการลดเวลาในการหาคำตอบ ในการหาคำตอบของปัญหา 3 – Tier IRP ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อทบสอบความไว (Sensitivity Analysis) ของตัวแบบ โดยทดสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงขนาดของกรอบเวลาที่ใช้ในการจัดส่ง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการผนวกปัญหาที่แบ่งการขนส่งได้ โดยหากปัญหาที่เกิดขึ้นมีปริมาณความต้องการที่เกินรถบรรทุกหนึ่งคันจัดส่งและมีกรอบเวลาที่ใช้ในการจัดส่งที่กว้าง ปัญหาดังกล่าวจะใช้เวลาในการหาคำตอบนานที่สุด นอกจากนี้ผู้ดำเนินงานวิจัยนำตัวแบบ Time – Expanded Network ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางมะตอย โดยตัวแบบดังกล่าวสามารถลดต้นทุนจากการดำเนินงานลงได้ 32.2% และเพิ่มปริมาณยางมะตอยที่ขนส่งได้ต่อระยะทางที่ขนส่งได้อีก 47.5% เมื่อเทียบกับแนวทางการขนส่งยางมะตอยแบบเดิม | - |
dc.description.abstractalternative | This research proposes an application of the Time – Expanded Network Optimization Model for solving the Three – Tier Inventory Routing Problem with Split Delivery and Time Window, or 3 – Tier IRPSDTW. This Time – Expanded Network Optimization Model could be considered one exact method that solves such a problem to optimality. However, since the Inventory Routing Problem is long known to be one of NP – Hard problems — there is no such an algorithm capable of solving this problem to optimality in polynomial time — as a result, the computational time, spent by the model, dramatically increases when we increase the size of instances. Therefore, three computational time reduction mechanisms are tested and proposed, that is, (i) node reduction, (ii) arc reduction, and (iii) time window restriction. Our proposed mechanisms show significantly improvement in terms of computational time for networks with nine, 10, 11, and 12 locations, where we could reduce the time spent by the model by 91% on average at an average price of 2% on operational costs. A sensitivity analysis, focusing on the effects of time window and split delivery demands, on the computational time is also conducted. Based on our results, it is evident that the computational time increases when the problem has wide time window range and/or too many split delivery demands. Lastly, we use the Time – Expanded Network Optimization Model for solving a real world Three – Tier Inventory Routing Problem with split delivery encountered by a case study company within the asphalt industry. The numerical results indicate considerable improvement on both total operational costs and delivery quantity per travelled distance, a wildly used performance index in fluid transportation industries; approximately 32.2% and 47.5%, respectively. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1073 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ตัวแบบเครือข่ายสำหรับปัญหาการบริหารคลังและจัดเส้นทางเดินรถภายใต้รูปแบบการกระจายสินค้า 3 ลำดับขั้น | - |
dc.title.alternative | A network based model for 3 – Tier Inventory Routing Problem | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | pisit.ja@chula.ac.th,pisit.ja@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1073 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770116721.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.