Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสีรง ปรีชานนท์-
dc.contributor.authorทิฆัมพร แซ่โล้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:22:55Z-
dc.date.available2017-10-30T04:22:55Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55009-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractจากครอบครัวเกษตรกร ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ซึ่งมีลักษณะการค้าแบบขายมะพร้าวผลสดส่งโรงงาน งานวิจัยนี้จึงต้องการเพิ่มกำไรภายในธุรกิจมะพร้าวผ่านการขยายบทบาทห่วงโซ่อุปทานจากเกษตรกรสู่ผู้แปรรูป เราพบว่าการขายแบบส่งออกนั้นให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการค้าผลสดแบบปัจจุบัน แต่การส่งออกจะต้องใช้เวลาในการขนส่ง ซึ่งมะพร้าวเป็นสินค้าที่มีอายุการบริโภคสั้น หากต้องการส่งออกควรมีการแปรรูปมะพร้าวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา นอกจากนี้การส่งออกนั้นจะต้องทำสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้าแบบรายปี จากเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาในการจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการ โดยการประเมินสถานการณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จก่อนการดำเนินงานจริง เพื่อเตรียมพร้อมและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ภายในแผนธุรกิจนี้จะประกอบไปด้วย บทสรุปผู้บริหารซึ่งจะแสดงภาพรวมธุรกิจที่ต้องการทำ สถานการณ์กิจการปัจจุบัน แนวโน้มโอกาสที่จะสำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากแผนการตลาด แผนการขยายห่วงโซ่อุปทานและแผนการเงิน ในงานวิจัยนี้เลือกจัดทำแผนการตลาดเป็นสิ่งแรก เพื่อทราบกลุ่มลูกค้า สินค้าที่ต้องการนำส่ง และรูปแบบการส่งออก รวมไปถึงแผนการตลาดเพื่อการเติบโตอนาคต หลังจากทราบกลุ่มลูกค้าและสินค้าที่ต้องการนำส่งแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการผลิต ที่มาจากการขยายบทบาทจากเกษตรกรสู่ผู้แปรรูป ส่วนนี้ผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจจำนวนมะพร้าวที่ต้องการทำสัญญา และหลังจากการทำสัญญาผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาการรับจำนวนวัตถุดิบแต่ละช่องทาง จำนวนแรงงานเก็บเกี่ยวและแปรรูป โดยงานวิจัยนี้ได้นำแบบจำลองคณิตศาสตร์มาเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัจจัยข้างต้น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ผ่านOpensolver ด้วยExcel Program เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบค่าที่เหมาะสม ความเป็นไปได้ในการผลิตที่สามารถทำได้ ภายใต้ข้อจำกัด และในส่วนท้ายคือแผนการเงิน ในส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดทางการเงินอนาคต ประกอบไปด้วยเงินลงทุน รายได้และรายจ่าย เพื่อพิจารณาให้เห็นถึงผลกำไรในอนาคต ว่ามีความคุ้มค่าที่จะดำเนินงานหรือไม่ อีกทั้งเพื่อช่วยประเมินความสามารถด้านการลงทุนแต่ละส่วน นอกจากนี้ในส่วนแผนการเงินยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ธุรกิจ หากมีการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ แสดงโอกาสและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้เป็นช่องทางเลือกให้ผู้ประกอบการตัดสินใจใช้ในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeA coconut grower family who used to sell their produce to processing plant is considering transforming their business by expanding their role in the coconut supply chain from coconut farmer into agriproduct processing because it can prolong consumption age which make to exporting. The farmers’ revenues and profits can be increased if they consider expanding their role in the supply chain by being responsible for the trimming and transporting the trimmed coconuts to the exporters. Thus, we need business plan for support exportation in the future. Firstly, we evaluate current situation in plantation through assessing the strengths, weaknesses and opportunities for businesses to succeed before the actual operation for avoid potential risks. The business plan consist of an Executive Summary. It’s provides an overview of business. Then, marketing planning consist of target group and goods. Furthermore, we plan for business growth. Next, manufacturing planning, we need to decide how many coconuts desired contract with customer for exportation. This research has led to a mathematical model to support the above factors. The objective of the model is to maximize the profit more than current situation. We considered all the important practical constraints. We had known the volume trimmed coconut for commit in the export contract. In addition to we receive guideline the framework of business planning and decision making on the cost management such as the contract for harvest areas each month, the number harvest and process workers. Finally, financial planning this section shown investments cost , revenue and expenditure. Thus, we consider that the profits in the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1087-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวน้ำหอม-
dc.subjectการวางแผนธุรกิจ-
dc.subjectBusiness planning-
dc.titleการวางแผนธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวน้ำหอม-
dc.title.alternativeBUSINESS PLANNING FOR AROMATIC COCONUT PROCESSING INDUSTRY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSeeronk.P@Chula.ac.th,seeronk@gmail.com,seeronk@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1087-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770186621.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.