Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55091
Title: การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยเชิงเหตุของความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: A META-ANALYSIS OF ANTECEDENT VARIABLES OF WORK HAPPINESS AS PERCEIVED BY PROFESSIONAL NURSES
Authors: แพรภรณ์ เกษมุล
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
ความสุข
สัมพันธภาพในงาน
Nurse -- Job satisfaction
Happiness
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าดัชนีมาตรฐาน 3) วิเคราะห์ค่าดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงเหตุของความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยใช้การวิเคราะห์อภิมาน กลุ่มตัวอย่างคือ ปริญญานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - 2558 จำนวน 25 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดเลือกงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยและผลการวิจัย ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ Glass, et al ได้ค่าดัชนีมาตรฐานจำนวน 41 ค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยตัวแบบอิทธิพลสุ่ม (Random-effects model) ผลการวิจัยพบว่า 1) งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่ผลิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาบริหารการพยาบาล (ร้อยละ 36) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุด ในช่วงปีพ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2555 (ร้อยละ 52) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการทั้งหมด ทฤษฎีที่ใช้ศึกษาความสุขในการทำงานมากที่สุด คือ ทฤษฎีของ Manion (2003) (ร้อยละ 60) เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์และพยากรณ์ (ร้อยละ 64) ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (ร้อยละ 52) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งหมด และงานวิจัยส่วนใหญ่มีคะแนนคุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก (ร้อยละ 96) 2) ค่าความเที่ยงเครื่องมือวัดตัวแปรความสุขในการทำงาน และวิธีหาค่าความตรง ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของค่าดัชนีมาตรฐานปัจจัยเชิงเหตุของความสุขในการทำงานของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยเชิงเหตุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านงานมีค่าดัชนีมาตรฐานสูงสุด (r=.664) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านองค์การ (r=.655) ปัจจัยด้านบุคคล (r=.588) และปัจจัยด้านการจัดการ (r=.541) ตามลำดับ
Other Abstract: This research synthesis aims to 1) study research characteristics; 2) compare the means of correlation coefficients and 3) analyze the effect size of the antecedent variables of nurses’ work happiness by using the meta-analysis technique. At total of 25 Thai studies conducted during 2003-2016 were selected for the research. In all 41 correlation coefficients were analyzed by using the meta-analysis method of Glass, et al. The statistics used in this study were a random- effects model. The major findings were as follows: 1) The majority of the studies were master’s degree thesis dissertations published by Chulalongkorn University in the field of nursing administration (36%) in 2008-2012 (52%). Most of the sample group was composed of registered nurses (100%), while most of the studies employed Manion’s Work Happiness Theory (Manion, 2003) (60%). The studies were based on correlation and predictive research designs (64%). The sample group was selected by multi-stage sampling (52%). Cronbach’s Alpha coefficient was the reliability test (100%). Most research quality was high to higher (96%). 2) Reliability of research instrument and method of validity were statistically and significantly affected in terms of the mean correlation coefficients of nurses’ work happiness at .05. 3) The findings of the meta-analysis showed the antecedent to be correlated with work happiness with statistical significance at .05. These findings can be divided into the following 4 groups in order of effect size as follows: working factors (.664) organization factors (.655), personal factors (.588) and management factors (.541) respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55091
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.662
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777182336.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.